เพราะอะไรทำไม ‘เบลารุส’ ต้องรับวากเนอร์เข้ามาและสนับสนุนรัสเซีย

27 มิ.ย. 2566 - 07:47

  • บุญคุณต้องทดแทน! เปิดเหตุผลทำไม ‘ผู้นำเบลารุส’ ต้องยอมรัสเซีย ไม่ว่าจะเป็นทั้งทางผ่านให้รัสเซียไปสู่ยูเครน ทั้งยังเป็นสมรภูมิติดตั้งอาวุธนิวเคลียร์ และล่าสุดกับข้อตกลงรับกลุ่มวากเนอร์เข้ามา…

why_belarus_admitting_wagner_leader_backing_russia_against_ukraine_SPACEBAR_Hero_5a97490760.jpeg
why_belarus_admitting_wagner_leader_backing_russia_against_ukraine_SPACEBAR_Photo02_bd8ef0f82b.jpeg
หลังจากที่กลุ่มวากเนอร์ (Wagner) ทำการก่อกบฏต่อรัสเซียในช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา และลือหนาหูว่าประธานาธิบดีรัสเซียวลาดิเมียร์ ปูติน โกรธจัดมากเลยทีเดียว ทั้งยืนยันอีกด้วยว่าจะลงโทษพวก ‘ทรยศ’ ที่กลายเป็นภัยความมั่นคงของประเทศ  
 
อ่านเพิ่มเติม   ทว่าก็มีข้อตกลงร่วมกันในภายหลังระหว่างเคลมลินและกลุ่มวากเนอร์ โดยที่ เยฟกินี ปริโกชิน ผู้นำวากเนอร์ตกลงที่จะย้ายไปเบลารุส นอกจากนี้ ปูตินยังกล่าวด้วยว่า นักรบวากเนอร์คนอื่นๆ ก็สามารถย้ายไปอยู่ที่นั่นได้หากพวกเขาต้องการจะไป 
 
ขณะที่เบลารุสซึ่งเป็นทั้งเพื่อนบ้านและพันธมิตรที่อยู่เคียงข้างรัสเซียก็ยังอนุญาตให้กองทหารรัสเซียรุกรานยูเครนข้ามพรมแดนและอนุญาตให้ติดตั้งอาวุธนิวเคลียร์ของรัสเซียในดินแดนของตนด้วย 

เพราะครั้งหนึ่ง ‘รัสเซีย’ มีบุญคุณต่อ ‘เบลารุส’? 

‘เบลารุส’ ประเทศที่ประกาศเอกราชจากอดีตสหภาพโซเวียตในปี 1991 โดยเป็นดินแดนแถบยุโรปตะวันออกซึ่งไม่มีทางออกสู่ทะเลมีพรมแดนติดกับรัสเซียและยูเครน  
 
ในอดีตเบลารุสได้ชื่อว่าเป็น ‘บ้านหลังสุดท้ายของเผด็จการ’ (last dictatorship) ในยุโรป ถึงขนาดที่รัฐบาลถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักว่าระงับทั้งสิทธิเสรีภาพและจำกัดสื่อ 
 
อย่างไรก็ดี ประธานาธิบดีเบลารุส อเล็กซานเดอร์ ลูกาแชนกา ที่ดำรงตำแหน่งมาตั้งแต่ปี 1994 (ประธานาธิบดียุโรปที่อยู่ในตำแหน่งนานสุด) ไม่ได้รับการยอมรับจากรัฐบาลสหราชอาณาจักร สหภาพยุโรป (EU) และสหรัฐฯ เนื่องจากพวกเขาเชื่อว่าการเลือกตั้งนั้นไม่ชอบธรรม 
 
ทว่าการเลือกตั้งประธานาธิบดีครั้งล่าสุดในปี 2020 นั้นก่อให้เกิดการประท้วงยาวนานหลายเดือนจนเกิดเหตุปราบปรามอย่างไร้ความปราณีโดยกองกำลังความมั่นคง และเป็นรัสเซียเองที่สนับสนุนกองกำลังรักษาความปลอดภัยของลูกาแชนกา ทั้งยังให้เงินกู้ฉุกเฉิน 1.5 พันล้านดอลลาร์ด้วย (ราว 5.27 หมื่นล้านบาท) 
 
“สิ่งนี้ทำให้เขาต้องพึ่งพารัสเซียมากขึ้น” ดร.ไนเจล โกลด์-เดวีส์ อดีตเอกอัครราชทูตสหราชอาณาจักรประจำเบลารุส ซึ่งปัจจุบันเป็นสมาชิกของสถาบันวิจัยยุทธศาสตร์ระหว่างประเทศ (International Institute for Strategic Studies) กล่าว 
 
นั่นอาจเป็นเหตุผลที่เบลารุสต้องเป็นทางผ่านให้รัสเซียไปสู่ยูเครน ทั้งยังเป็นสมรภูมิติดตั้งอาวุธนิวเคลียร์ และล่าสุดกับข้อตกลงรับกลุ่มวากเนอร์เข้ามา… 

‘ตัวกลาง’ เจรจา รัสเซีย VS วากเนอร์

why_belarus_admitting_wagner_leader_backing_russia_against_ukraine_SPACEBAR_Photo03_466d723085.jpeg
แม้ว่าประธานาธิบดีลูกาแชนกาจะได้รับเครดิตจากการทำหน้าที่เป็นคนกลางในการเจรจาระหว่างปริโกชินและปูติน ซึ่งตามรายงานของเครมลินระบุว่า “กลุ่มวากเนอร์ของปริโกชินยอมและเขาตกลงที่จะย้ายไปเบลารุสหลังจากเจรจาโดยตรงกับลูกาเชนกา” 
 
อย่างไรก็ตาม ชเวียตลานา ชีคาโนว์สกายา ผู้นำฝ่ายค้านชาวเบลารุสที่ถูกเนรเทศกล่าวว่า “การอนุญาตให้ปริโกชินย้ายถิ่นฐานไปยังเบลารุสนั้นเป็นการเพิ่มความไม่มั่นคงอีกประการหนึ่งในประเทศ ซึ่งไม่ต้องการอาชญากรและโจรมากขึ้น” 
 
คุณอาจจะถามผมว่า ทำไมต้องเป็นลูกาแชนกา…ความจริงก็คือ ลูกาแชนการู้จักกับปริโกชินเป็นการส่วนตัวมาเป็นเวลานานประมาณ 20 ปี และเป็นข้อเสนอส่วนตัวของเขาซึ่งตกลงกับประธานาธิบดีปูติน เรารู้สึกขอบคุณประธานาธิบดีเบลารุสสำหรับความพยายามเหล่านี้”  
 
“ความพยายามเหล่านั้นสามารถแก้ไขสถานการณ์นี้ได้โดยไม่มีการสูญเสียเพิ่มเติม และไม่เพิ่มระดับความตึงเครียด” ดมีตรี เปสคอฟ โฆษกเครมลินกล่าว 
 
แต่ถึงกระนั้น การกระทำดังกล่าวของลูกาแชนกากลับทำให้เกิดคำถามมากกว่าคำตอบซะงั้น…???
 
เห็นได้ชัดว่าลูกาแชนกาเป็นหุ้นส่วนรุ่นน้องในความสัมพันธ์กับปูติน และเบลารุสต้องพึ่งพารัสเซียทั้งในช่วงที่ ลูกาแชนกาต้องเผชิญหน้ากับผู้ประท้วงอย่างถึงที่สุด ซึ่งได้ปูตินที่ยื่นมือเข้ามาช่วยเหลือเรื่องเงินสนับสนุนหลายพันล้านดอลลาร์ และเบลารุสกลายเป็นประเทศเดียวในช่วงแรกๆ ของสมครามรัสเซีย-ยูเครนที่ประกาศยืนหยัดข้างรัสเซีย และนั่นยิ่งทำให้ลูกาแชนกาแยกตัวออกจากตะวันตกมากขึ้นส่งผลให้เกิดการคว่ำบาตรครั้งใหม่ต่อเศรษฐกิจของประเทศอีกครั้ง 
 
แล้วจะได้อะไรจากลูกาแชนกา? ดูเหมือนจะเป็นเรื่องยากที่จะจินตนาการว่าปริโกชินกำลังเก็บเกี่ยวผลประโยชน์อย่างมีความสุขร่วมกับผู้นำชาวเบลารุส และเหตุใดปูติน ซึ่งเป็นผู้ชี้ขาดข้อพิพาทของกลุ่มอีลีทในรัสเซียที่เชื่อถือได้จนถึงสุดสัปดาห์นี้ จึงไม่สามารถยุติข้อตกลงดังกล่าวได้ด้วยตัวเอง? 
 
ทว่าการมอบอำนาจให้ลูกาแชนกาในการแก้ปัญหาวิกฤตครั้งนี้อาจยิ่งสร้างความเสียหายต่อภาพลักษณ์ของปูตินในฐานะผู้นำที่ชี้ขาดในการกระทำก็เป็นได้ 
 
ท่ามกลางคำถามมากมายที่ตามมาว่า แล้วจะเกิดอะไรขึ้นกับทหารรับจ้างวากเนอร์ของปริโกชิน? กลุ่มวากเนอร์จะยอมทำตามกองทัพรัสเซียต่อไปหรือไม่? พวกเขาจะยังจงรักภักดีต่อรัสเซียอยู่ไหม? แล้วกองกำลังวากเนอร์ที่ปฏิบัติการที่อื่นในโลกตั้งแต่แอฟริกาไปจนถึงตะวันออกกลางล่ะ? 
 
หากว่าปริโกชินปรากฏตัวออกมาเมื่อไหร่ อาจได้เบาะแสเพิ่มเติมเพื่อมาอธิบายคำถามเหล่านี้ก็เป็นได้ 

อ่านเพิ่มเติม  

เรื่องเด่นประจำสัปดาห์