ผู้หญิงจีนเก่งไม่แพ้ผู้ชาย แต่ทำไมก้าวไม่ถึงตำแหน่งผู้นำระดับสูงๆ

10 มีนาคม 2566 - 09:51

why-china-has-so-few-female-leaders-no-women-on-politburo-SPACEBAR-Thumbnail
  • ที่ผ่านมามีผู้หญิงเพียง 6 คนเท่านั้นที่สามารถไต่เต้าขึ้นมาถึงตำแหน่งโปลิตบูโรนับตั้งแต่ปี 1948 แต่ยังไม่มีผู้หญิงคนใดขยับไปถึงตำแหน่งคณะกรรมการถาวรประจำกรมการเมือง

  • ก่อนหน้านี้มีเพียงผู้หญิง 3 คนเท่านั้นที่ได้อยู่ในคณะโปลิตบูโร และนั่นเกิดขึ้นในช่วงปฏิวัติวัฒนธรรม โดยผู้หญิงทั้ง 3 คนที่ว่าล้วนเป็นภรรยาของผู้นำระดับสูงของจีน แก่ เจียงชิง หนึ่งในภรรยาของเหมาเจ๋อตง, เติ้งอิ่งเชา ภรรยาของอดีตนายกรัฐมนตรีโจวเอินไหล และเยว่ฉิน ภรรยาของนายพลหลินเปียว

ปีนี้การประชุมสองสภาของจีนคือ สภาที่ปรึกษาทางการเมืองแห่งชาติ  (CPPCC) และประชุมสภาประชาชนแห่งชาติ (NPC) ซึ่งเป็นหนึ่งในอีเวนต์ที่สำคัญที่สุดในปฏิทินการเมืองของจีน เกิดขึ้นไล่เลี่ยกับวันสตรีสากลซึ่งตรงกับวันที่ 8 มีนาคมที่ผ่านมา ทำให้มีการตั้งคำถาม (อีกครั้ง) ว่า ทำไมไม่ค่อยเห็นผู้หญิงในตำแหน่งระดับสูงทางการเมือง  

ที่ผ่านมามีผู้หญิงเพียง 6 คนเท่านั้นที่สามารถไต่เต้าขึ้นมาถึงตำแหน่งโปลิตบูโรนับตั้งแต่ปี 1948 แต่ยังไม่มีผู้หญิงคนใดขยับไปถึงตำแหน่งคณะกรรมการถาวรประจำกรมการเมือง ซึ่งชุดล่าสุดที่แต่งตั้งเมื่อเดือนตุลาคมปีที่แล้วมี 7 คน  

ก่อนหน้านี้มีเพียงผู้หญิง 3 คนเท่านั้นที่ได้อยู่ในคณะโปลิตบูโร และนั่นเกิดขึ้นในช่วงปฏิวัติวัฒนธรรม โดยผู้หญิงทั้ง  3 คนที่ว่าล้วนเป็นภรรยาของผู้นำระดับสูงของจีน แก่ เจียงชิง หนึ่งในภรรยาของเหมาเจ๋อตง, เติ้งอิ่งเชา ภรรยาของอดีตนายกรัฐมนตรีโจวเอินไหล และเยว่ฉิน ภรรยาของนายพลหลินเปียว  

สมาชิกสภาประชาชนแห่งชาติจีน (NPC) ที่เป็นผู้หญิงก็มีน้อยเช่นกัน รายงานของสหภาพรัฐสภา (IPU) ซึ่งสำรวจจำนวนผู้แทนหญิงในสภาเมื่อปี 2014 จัดให้จีนอยู่ในอันดับ 62 จาก 189 ประเทศ โดยขณะนั้นมีผู้หญิงนั่งในสภาประชาชนแห่งชาติจีนราว 23.4% ส่วนปี 2017 อันดับของจีนร่วงลงมาอยู่ที่ 73 แม้ว่าเปอร์เซ็นต์จะเพิ่มขึ้นมาเป็น  24.2 ขณะที่การจัดอันดับล่าสุดของปีนี้จีนอยู่อันดับ 95 มีสัดส่วนสมาชิกสภาหญิงอยู่ที่ 24.9% หรือ 742 ที่นั่ง จากทั้งหมด 2,975 ที่นั่ง 
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/14B4WAsmcpnYcINZ2XGtnZ/ea0b1c2aebb4d28c93123e0e8f66e0f4/why-china-has-so-few-female-leaders-no-women-on-politburo-SPACEBAR-Photo01
Photo: จางซิน ผู้หญิงที่คร่ำหวอดในวงการอสังหาริมทรัพย์ (Wikipedia/AsAuSo)
ตัวเลขเหล่านี้เป็นหลักฐานได้อย่างดีและชัดเจนว่า การทลายกำแพงทางการมืองของผู้หญิงจีนไม่ใช่เรื่องง่าย แม้ว่าที่ผ่านมารัฐบาลจะประกาศความมุ่งมั่นในการสร้างความเท่าเทียมทางเพศ และแม้ว่าผู้หญิงจีนหลายๆ คนจะประสบความสำเร็จในวงการธุรกิจและการศึกษา อย่างจางซิน ที่คร่ำหวอดในวงการอสังหาริมทรัพย์ และหูเหวยเหว่ย 

อันที่จริงสิทธิที่เท่าเทียมกันของผู้หญิงในการเข้าร่วมทางการเมืองนั้นได้รับการรับรองตามรัฐธรรมนูญในจีนมาตั้งแต่ปี 1982 แต่มีเพียงไม่กี่คนเท่านั้นที่ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองที่ทรงอิทธิพล มีเพียง 1 คนเท่านั้นที่ได้นั่งเก้าอี้โปลิตบูโร นั่นคือ ซุนชุนหลัน รองนายกรัฐมนตรีที่เกษียณอายุไปแล้ว  

และไม่มีการแต่งตั้งผู้หญิงคนอื่นให้นั่งเก้าอี้ตัวนี้อีกเลย 

แล้วอะไรเป็นตัวฉุดผู้หญิงเหล่านี้? 

บรรดาผู้หญิงมักจะเข้าร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์ตั้งแต่เรียนมหาวิทยาลัย หรือช่วงเข้าทำงานเพื่อป็นหนทางสู่ความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน ถึงอย่างนั้นการเลื่อนขั้นเกินจากระดับเขตถือเป็นเรื่องยากมาก 

ลิเนตต์ เอช. อ่อง ศาสตราจารย์ด้านรัฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัยโตรอนโตเผยว่า “ความเชื่อที่ฝังหัวมายาวนานว่าที่ของผู้หญิงคือที่บ้านและในครัวหมายความว่าพวกผู้หญิงต้องไม่ทะเยอทะยาน บทบาทหน้าที่ของพวกเธอคือดูแลสามารถ ลูก และหลาน แม้ว่าครั้งหนึ่งเหมาเจ๋อตงจะเคยพูดว่า ‘ผู้หญิงแบกฟ้าอยู่ครึ่งหนึ่ง’ แต่หนทางการต่อสู้เพื่ความเท่าเทียมของผู้หญิงก็ยังเป็นเรื่องยาวไกล” 

ส่วนหลี่เฉิง ผู้เชี่ยวชาญของสถาบันบรูคกิงส์ในวอชิงตันบอกว่า “คำพูดของท่านประธานเหมาเป็นแค่บทกลอนเท่านั้น ไม่ใช่นโยบายจริงๆ” 

วาลารี ตัน นักวิเคราะห์ด้านการเมืองจีนของสถาบันจีนศึกษาเมอร์เคนเตอร์ในกรุงเบอร์ลินของเยอรมนีเผยว่า “มีคนบอกว่ามันเป็นข้อตกลงมากกว่าเป็นกฎที่จะแต่งตั้งผู้หญิงเข้าสภา การยอมรับสิทธิสตรีเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาสังคมของจีน...(แต่) คุณมีผู้หญิงในการเมืองจีนไม่มากนัก ซึ่งหมายความว่าสิทธิสตรีเป็นเรื่องยากมากที่จะผลักดันให้เป็นวาระทางการเมือง” 

เฉินหมิงลู่ อาจารย์ประจำศูนย์จีนศึกษาของมหาวิทยาลัยซิดนีย์เผยว่า อีกหนึ่งอุปสรรคคือ นักการเมืองหญิงเสี่ยงถูกตัดสินว่าผิดศีลธรรมหากไปปะปนกับผู้ชาย “การเหมารวมทางเพศตามธรรมเนียมดั้งเดิมทำให้ผู้หญิงไม่สามารถสร้างเครือข่ายทางสังคมที่พวกเธอจะพึ่งพาได้เพื่อก้าวไปข้างหน้า...ผู้หญิงกลัวว่าจะตกเป็นเป้าการพูดหมิ่นประมาท” เฉินยกตัวอย่างของ อู๋อี๋ อดีตสมาชิกโปลิตบูโรที่ถูกขนานนามว่า ‘หญิงเหล็กของจีน’ ที่ต้องเผชิญกับคำถามที่ไม่น่าถามว่า ทำไมถึงโสด ซึ่งคำถามนี้นักการเมืองชายไม่เคยถูกถามเลย 

นอกจากนี้ อายุเกษียณที่ไม่เท่ากันระหว่างหญิงชายก็เป็นอีกหนึ่งอุปสรรค ผู้ชายเกษียณในวัย 60 แต่ผู้หญิงจีนต้องเกษียณในวัย 50 หรือ 55 ขณะที่ ทำให้กรอบของผู้หญิงในการไต้เต้าขึ้นไปสู่ตำแหน่งระดับสูงของพรรคคอมมิวนิสต์แคบลง 

ผู้เชี่ยวชาญบางคนมองว่า ช่องว่างระหว่างวัยนี้ทำให้การรับรู้ว่าผู้หญิงไม่สามารถทำงานได้นานเท่าผู้ชาย และทำให้นายจ้างไม่อยากจ้างผู้หญิงทำงานในตำแหน่งที่ต้องทำในระยะยาว ทั้งยังทำให้ผู้หญิงมีโอกาศน้อยกว่าในการแสวงหาความก้าวหน้าในวงการการเมืองจีน ซึ่งเจ้าหน้าที่พรรคคอมมิวนิสต์จะไต่เต้าขึ้นไปสู่ตำแหน่งสูงๆ ได้ก็ต่อเมื่ออายุเข้าเลข 6 ไปแล้วเท่านั้น 

เมื่อปี 2001 พรรคคอมมิวนิสต์นำระบบโควตาเข้ามาใช้ โดยกำหนดให้ต้องมีผู้หญิงอย่างน้อย 1 คนอยู่ในตำแหน่งส่วนใหญ่ในระดับรัฐบาลและกลุ่มต่างๆ ของพรรค แต่นักวิเคราะห์หลายคนเผยว่า กฎนี้ไม่ได้ช่วยสร้างความแตกต่าง เพราะเมื่อหน่วยงานต่างๆ หรือกระทรวงที่เกี่ยวข้องกับนโยบายแต่งตั้งผู้หญิงครบตามโควตาแล้ว ก็จะหยุดอยู่เพียงแค่นั้น  

วัฒนธรรมไป๋จิ่ว หรือการดื่มเหล้าขาว 

อุปสรรคของผู้หญิงที่จะนั่งตำแหน่งระดับกำหนดนโยบายยังมีอีกปัจจัยหนึ่ง นั่นคือ วัฒนธรรมการดื่มไป๋จิ่ว หรือเหล้าขาวของจีน การจะเอาตัวรอดในระบอบการเมืองที่ผู้ชายเป็นใหญ่หมายความว่าผู้หญิงจะต้องเล่นตามกฎของผู้ชาย เช่น การดื่มไป๋จิ่วปริมาณมากๆ เมื่อเข้าร่วมงานเลี้ยงหรือการประชุม 

สิ่งนี้ทำให้ผู้หญิงอยู่ในภาวะกลืนไม่เข้าคลายไม่ออก หากพวกเธอร่วมดื่มด้วยก็อาจถูกมองถูกตัดสินว่าใช้ชีวิตสุดโต่งเกินไป แต่หากพวกเธอปฏิเสธก็จะถูกกีดกันจากการคบค้าสมาคม และพลาดโอกาสในการสร้างสายสัมพันธ์และเพาะสร้างอิทธิพล 

ต่อต้านสตรีนิยม 

ในฝั่งตะวันตก การเคลื่อนไหวเพื่อเปิดพื้นที่ให้ผู้หญิงมากขึ้นและเพิ่มโอกาสการเป็นตัวแทนต่างๆ ได้รับแรงผลักดันจากนักเคลื่อนไหวและนักการเมืองสตรีนิยม แต่ในจีนน้นการแสดงท่าทีสนับสนุนแนวคิดสตรีนิยมอาจกลายเป็นเรื่องใหญ่  

เมื่อปี 2016 สำนักข่าวซินหัวซึ่งเป็นสื่อของรัฐตีพิมพ์บทความแสดงความคิดเห็นของหวังเว่ยซิง เจ้าหน้าที่ของหน่วยงานที่รับผิดชอบด้านความสัมพันธ์กับไต้หวันที่วิพากษ์วิจารณ์ประธานาธิบดี ไช่อิงเหวิน ของไต้หวันว่ามีสไตล์สุดโต่งเพราะเธอไม่ได้แต่งงาน 

“ในฐานะนักการเมืองหญิงที่ยังโสด เธอไม่มีภาระทางอารมณ์เกี่ยวกับความรัก 'ครอบครัว' หรือลูกๆ ดังนั้นสไตล์และกลยุทธ์ทางการเมืองของเธอมักจะใช้อารมณ์ ถูกทำให้เป็นเรื่องสวนตัว และสุดโต่ง” หวังเว่ยซิงระบุ 

บทความดังกล่าวถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักในโลกออนไลน์จนสุดท้ายต้องถอดออก แต่ครั้งนั้นไม่ใช่ครั้งแรกที่นักการเมืองจีนตามไล่ล่าผู้หญิงที่กล้าลุกขึ้นมาส่งสียงของตัวเอง อาทิ เมื่อปี 2015 นักเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิสตรีของจีน 5 คนถูกจับกุมในข้อหาทะเลาะวิวาทและสร้างปัญหา หลังจากทั้ง 5 คนพยายามจัดแคมเปญรณรงค์เกี่ยวกับการล่วงละเมิดทางเพศบนรถสาธารณะ 

แม้ว่าในท้ายที่สุดแล้วทั้ง 5 คนจะได้รับการประกันตัวออกมา แต่พนักงานอัยการขู่จะตั้งข้อหาที่มีโทษจำคุกสูง และ 1 ใน 5 ยังถูกห้ามไม่ให้เดินทางออกนอกประเทศระยะหนึ่งด้วย 
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/63Ub5xPC1nqhXOG4diQDux/c0b8017122d73c777e1cad1c59030214/why-china-has-so-few-female-leaders-no-women-on-politburo-SPACEBAR-Photo02
Photo: บูเช็กเทียน (Wikipedia)

ไม่เหมาะจะปกครอง 

การขาดความไว้วางใจในสตรีที่มีอำนาจนั้นยากที่จะถอนรากถอนโคนในประเทศจีน เนื่องจากประชาชนทั่วไปมักอ้างถึงตัวอย่างที่ไม่ดีของสตรีผู้ทรงอิทธิพลที่สุดสามคนในประวัติศาสตร์จีน เช่น บูเช็กเทียน ซูสีไทเฮา 

สวีเฉินนี สมาชิกเครือข่ายสตรีปักกิ่งเผยว่า “พวกเขาจะชี้ไปที่ 3 คนนั้นแล้วบอกว่า ‘เห็นสิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อผู้หญิงขึ้นสู่อำนาจมั้ย พวกเธอฉุดประเทศให้จมดิ่งไปกับพวกเธอ’ และผู้คนคิดว่าจีนมีการเปลี่ยนแปลงในเรื่องความเท่าเทียมเพียงเพราะผู้หญิงอยู่ในกลุ่มแรงงาน แต่จริงๆ แล้วมันไม่เท่าเทียมกันอย่างมาก” 

ไม่ใช่แค่ที่จีน 

การเปรียบเทียบงานที่ผู้หญิงทำในสภาประชาชนแห่งชาติจีนกับงานของผู้หญิงในสภาอังกฤษและสภาครองเกรสของสหรัฐฯ ก็เหมือนกับการเปรียบเทียบแอปเปิลกับแพร์ ซึ่งไม่สามารถเปรียบเทียบกันได้ แต่สิ่งหนึ่งที่ชัดเจนคือ มีผู้หญิงส่วนน้อยเท่านั้นที่อยู่ในองค์กรที่มีหน้าที่ตัดสินใจทางการเมืองทั่วโลก ไม่เฉพาะที่จีนเท่านั้น 

ในสภาล่างของอังกฤษมีผู้หญิงเพียง 32% ส่วนในโลกสภาของอินเดียมีเพียง 11% สภาผู้แทนราษฎรของญี่ปุ่นมี 9% แต่ก็มีบางประเทศที่มีผู้หญิงค่อนข้างมากเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ อาทิ สภาผู้แทนราษฎรของรวันดามีผู้หญิง 61% และในคิวบาซึ่งเป็นคอมมิวนิสต์มี 49%

เรื่องเด่นประจำสัปดาห์