นักวิทย์เฉลยแล้ว ‘เจ้าหมาลาบราดอร์’ อ้วนพลุ้ยไม่ได้เพราะกินอย่างเดียวแต่เป็นที่ ‘ยีน’

11 มีนาคม 2567 - 08:03

why-fat-labradors-can-blame-their-genes-SPACEBAR-Hero.jpg
  • การกลายพันธุ์ในยีนนี้มักพบ 1 ใน 4 ของสุนัขพันธุ์ลาบราดอร์ และ 2 ใน 3 ของสุนัขพันธุ์แฟลทโค้ทรีทรีฟเวอร์

  • หากเกิดภาวะนี้ขึ้น เจ้าของสุนัขต้องให้ความสนใจเป็นพิเศษกับการดูแลน้องหมาเลี้ยงให้ผอมเพรียว

  • “สุนัขก็เหมือนกับมนุษย์ มียีนที่มีอิทธิพลต่อทั้งความสนใจในอาหารและอัตราการเผาผลาญ ถ้าเราได้รับสารทางพันธุกรรมที่ทำให้เรารู้สึกหิวหรืออยากกินอยู่เสมอ มันจึงต้องใช้ความพยายามมากขึ้นในการที่จะมีรูปร่างผอมเพรียว”

นักวิทยาศาสตร์พบว่า “การกลายพันธุ์ทางพันธุกรรมมีส่วนทำให้สุนัขพันธุ์ลาบราดอร์และพันธุ์แฟลทโค้ทรีทรีฟเวอร์ ‘หิวตลอดเวลา’ ขณะเดียวกันการเผาผลาญแคลอรี่ก็น้อยลงด้วย” 

จริงๆ แล้ว “มันเป็นเพราะ ‘ยีน’ นะนุด”

หากเกิดภาวะนี้ขึ้น เจ้าของสุนัขต้องให้ความสนใจเป็นพิเศษกับการดูแลน้องหมาเลี้ยงให้ผอมเพรียว ซึ่งการกลายพันธุ์นี้มักพบ 1 ใน 4 ของสุนัขพันธุ์ลาบราดอร์ และ 2 ใน 3 ของสุนัขพันธุ์แฟลทโค้ทรีทรีฟเวอร์ 

ดร.เอลีนอร์ ราฟฟาน จากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์กล่าวว่า “สุนัขก็เหมือนกับมนุษย์ มียีนที่มีอิทธิพลต่อทั้งความสนใจในอาหารและอัตราการเผาผลาญ ถ้าเราได้รับสารทางพันธุกรรมที่ทำให้เรารู้สึกหิวหรืออยากกินอยู่เสมอ มันจึงต้องใช้ความพยายามมากขึ้นในการที่จะมีรูปร่างผอมเพรียว”  

การศึกษานี้เป็นการต่อยอดจากการวิจัยก่อนหน้านี้เกี่ยวกับการกลายพันธุ์ของยีนที่เรียกว่า ‘POMC’ ซึ่งควบคุมระบบตอบสนองต่อความเครียด โดยมีผลกระทบที่คล้ายคลึงกันในสุนัขและมนุษย์

สุนัขที่กลายพันธุ์ไม่เพียงแต่จะหิวมากขึ้นระหว่างมื้ออาหารเท่านั้น แต่พวกมันยังเผาผลาญช่วงเวลาพักผ่อนน้อยลงประมาณ 25% ซึ่งหมายความว่าพวกมันไม่จำเป็นต้องกินอาหารที่แคลอรี่เยอะมากนัก 

“สุนัขที่มีการกลายพันธุ์ทางพันธุกรรมต้องเผชิญกับภาวะอ้วน เพราะพวกมันไม่เพียงแต่อยากกินมากขึ้นเท่านั้น แต่ยังต้องการแคลอรี่น้อยลง เพราะการเผาผลาญของพวกมันก็ไม่ได้เร็วนัก” ดร.ราฟฟานกล่าว 

ในการวิจัยครั้งนี้มีการนำสุนัขพันธุ์ลาบราดอร์มากกว่า 80 ตัวเข้าทำการทดสอบต่างๆ รวมถึงการทดสอบ ‘ไส้กรอกในกล่อง’ ที่ซ่อนอยู่ซึ่งหลอกล่อน้องหมาด้วยการเห็นและได้กลิ่น โดยพบว่า สุนัขที่มีการกลายพันธุ์ของยีน ‘POMC’ จะพยายามคุ้ยเพื่อให้ได้กินไส้กรอก มากกว่าสุนัขที่ไม่มียีน ซึ่งบ่งบอกถึงความหิวที่มีมากกว่า 

นอกจากนี้สุนัขพันธุ์แฟลทโค้ทรีทรีฟเวอร์ยังถูกทดสอบให้ไปนอนในห้องทดลองพิเศษเพื่อตรวจวัดก๊าซที่พวกมันหายใจออกมา และผลลัพธ์เผยให้เห็นว่า “สุนัขตัวที่มีการกลายพันธุ์ของยีน ‘POMC’ จะเผาผลาญแคลอรี่น้อยกว่าสุนัขที่ไม่มียีนตัวนี้ประมาณ 25%” 

อย่างไรก็ดี ปัจจุบันพบว่า สุนัขมากถึง 2 ใน 3 (34-59%) ในประเทศร่ำรวยมีน้ำหนักเกิน โดยพันธุ์ลาบราดอร์มีระดับโรคอ้วนสูงสุด และหมกมุ่นอยู่กับอาหารมากกว่าสุนัขสายพันธุ์อื่นๆ

เรื่องเด่นประจำสัปดาห์