หากพูดถึงดินแดนแห่งสิทธิเสรีภาพของประชาชน หลายคนอาจจะนึกถึง ‘ฝรั่งเศส’ เป็นอันดับแรกๆ เพราะถ้าย้อนกลับไปตั้งแต่การปฏิวัติฝรั่งเศสช่วงศตวรรษที่ 18 เราจะเห็นว่าประชาชนต่างก็พร้อมเพรียงที่จะออกมาเรียกร้องสิทธิของตนเองตั้งแต่สมัยนั้นแล้ว ดังคำขวัญของประเทศที่ว่า ‘เสรีภาพ เสมอภาพ ภราดรภาพ’(Liberté, Égalité, Fraternité)
บ่อยครั้งที่พักหลังๆ เราจะเห็นชาวฝรั่งเศสออกมาประท้วงกันบ่อยครั้งไม่ว่าจะเป็น ‘วิกฤตขาดแคลนพลังงาน’ เมื่อปลายปี 2022 ‘ประท้วงปฏิรูประบบบำนาญยืดแผนอายุเกษียณ’ ช่วงต้นปี 2023 และล่าสุดกับเหตุ ‘ประท้วงทวงความยุติธรรมให้วัยรุ่นวัย 17 ปีที่ถูกตำรวจยิงจนเสียชีวิต’ ที่ลุกลามรุนแรงติดต่อกันเป็นเวลาเกือบ 1 สัปดาห์แล้ว ทั้งยังลามไปถึงสวิตเซอร์แลนด์และเบลเยียมด้วย
คำถามก็คือ ‘ทำไมดินแดนเสรีภาพแห่งนี้ถึงประท้วงกันบ่อยจัง’ [ตัวเล็ก]
บ่อยครั้งที่พักหลังๆ เราจะเห็นชาวฝรั่งเศสออกมาประท้วงกันบ่อยครั้งไม่ว่าจะเป็น ‘วิกฤตขาดแคลนพลังงาน’ เมื่อปลายปี 2022 ‘ประท้วงปฏิรูประบบบำนาญยืดแผนอายุเกษียณ’ ช่วงต้นปี 2023 และล่าสุดกับเหตุ ‘ประท้วงทวงความยุติธรรมให้วัยรุ่นวัย 17 ปีที่ถูกตำรวจยิงจนเสียชีวิต’ ที่ลุกลามรุนแรงติดต่อกันเป็นเวลาเกือบ 1 สัปดาห์แล้ว ทั้งยังลามไปถึงสวิตเซอร์แลนด์และเบลเยียมด้วย
คำถามก็คือ ‘ทำไมดินแดนเสรีภาพแห่งนี้ถึงประท้วงกันบ่อยจัง’ [ตัวเล็ก]
ประเพณี ‘การประท้วง’ ที่หยั่งรากลึกในวัฒนธรรมฝรั่งเศส

ย้อนกลับไปในยุคกลางและยุคสมัยใหม่ตอนต้นในช่วงทศวรรษที่ 1780 ก่อนการปฏิวัติในปี 1789 ชาวยุโรปจะเข้าร่วมพิธีกรรมพื้นบ้านที่เรียกว่า ‘ชาคีวาคี (charivari)’ ซึ่งเป็นประเพณีเก่าแก่ที่จัดขึ้นเพื่อสร้างความอับอายแก่สมาชิกในชุมชนที่ทำผิดศีลธรรมด้วยการ ‘ส่งเสียงดัง’ ‘ร้องเพลงเยาะเย้ย’ ‘ตีหม้อหรือกะทะ’ เพื่อเรียกร้องให้ผู้ถูกกล่าวหาถูก ‘ลงโทษ’ ไม่ว่าจะเป็นการไล่ออกจากเมืองหรือบังคับให้พวกเขาจ่ายเงินให้กับฝูงชนที่รวมตัวกันประท้วง
การประท้วงดังกล่าวจะเกิดขึ้นตามท้องถนน โดยส่วนใหญ่แล้วผู้ที่ถูกกล่าวว่าทำผิดศีลธรรมมักเป็นกลุ่มชายหนุ่มที่ไปมีเพศสัมพันธ์นอกสมรส เป็นต้น
เมื่อการประท้วงเริ่มมี ‘การเมือง’ เข้ามาเกี่ยวข้อง…
ตามคำกล่าวของนักสังคมวิทยาชื่อดัง ชาร์ลส์ ทิลลี่ ระบุว่า เมื่อเวลาผ่านไป มีบางสิ่งที่น่าสนใจเกิดขึ้นกับ ‘charivari’ ซึ่งเริ่มมีเรื่องทางการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้องในช่วงกลางศตวรรษที่ 19 โดยที่การชุมนุมเริ่มมีเป้าหมายทางการเมืองมากขึ้น เช่น การทุจริตของเจ้าหน้าที่หรือคนเก็บภาษี ซึ่งชุมชนอาจใช้การประท้วงเพื่อแสดงความโกรธไม่ใช่แค่ต่อเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นคนนั้น แต่รวมถึงนโยบายระดับชาติที่เขาเป็นตัวแทนด้วย
อย่างไรก็ดี วิวัฒนาการของประเพณีดังกล่าวดำเนินไปอย่างค่อยเป็นค่อยไปจากท้องถิ่นสู่การเดินขบวนทางการเมืองของมวลชน
โยฮันเนส ลินด์วัลล์ นักวิทยาศาสตร์การเมืองแห่งมหาวิทยาลัยลุนด์ของสวีเดน เคยตั้งคำถามไว้ว่า “การประท้วงกลายเป็นเรื่องปกติของชีวิตสาธารณะในฝรั่งเศสได้อย่างไร…”
ทั้งนี้ ทิลลี่มองว่านี่เป็นการตอบสนองต่อการเติบโตของรัฐฝรั่งเศสและระบบทุนนิยม ในขณะที่การเมืองฝรั่งเศสเริ่มถูกครอบงำมากขึ้นโดยรัฐส่วนกลางและชนชั้นนำทุนนิยม ประกอบกับคนธรรมดาสามัญได้พัฒนาจิตสำนึกทางการเมืองระดับชาติซึ่งก็ส่งผลให้กลยุทธ์การประท้วงของพวกเขาเปลี่ยนแปลงไปตามด้วย
ในฝรั่งเศสนั้นพบว่าประเพณี ‘charivari’ เติบโตทางการเมืองมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะบ้านของนักการเมืองและเจ้าหน้าที่ที่ไม่เป็นที่นิยมมักจะตกเป็นเป้าหมาย ตั้งแต่นั้นมา การประท้วงก็ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตสาธารณะของชาวฝรั่งเศส
การประท้วงดังกล่าวจะเกิดขึ้นตามท้องถนน โดยส่วนใหญ่แล้วผู้ที่ถูกกล่าวว่าทำผิดศีลธรรมมักเป็นกลุ่มชายหนุ่มที่ไปมีเพศสัมพันธ์นอกสมรส เป็นต้น
เมื่อการประท้วงเริ่มมี ‘การเมือง’ เข้ามาเกี่ยวข้อง…
ตามคำกล่าวของนักสังคมวิทยาชื่อดัง ชาร์ลส์ ทิลลี่ ระบุว่า เมื่อเวลาผ่านไป มีบางสิ่งที่น่าสนใจเกิดขึ้นกับ ‘charivari’ ซึ่งเริ่มมีเรื่องทางการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้องในช่วงกลางศตวรรษที่ 19 โดยที่การชุมนุมเริ่มมีเป้าหมายทางการเมืองมากขึ้น เช่น การทุจริตของเจ้าหน้าที่หรือคนเก็บภาษี ซึ่งชุมชนอาจใช้การประท้วงเพื่อแสดงความโกรธไม่ใช่แค่ต่อเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นคนนั้น แต่รวมถึงนโยบายระดับชาติที่เขาเป็นตัวแทนด้วย
อย่างไรก็ดี วิวัฒนาการของประเพณีดังกล่าวดำเนินไปอย่างค่อยเป็นค่อยไปจากท้องถิ่นสู่การเดินขบวนทางการเมืองของมวลชน
โยฮันเนส ลินด์วัลล์ นักวิทยาศาสตร์การเมืองแห่งมหาวิทยาลัยลุนด์ของสวีเดน เคยตั้งคำถามไว้ว่า “การประท้วงกลายเป็นเรื่องปกติของชีวิตสาธารณะในฝรั่งเศสได้อย่างไร…”
ทั้งนี้ ทิลลี่มองว่านี่เป็นการตอบสนองต่อการเติบโตของรัฐฝรั่งเศสและระบบทุนนิยม ในขณะที่การเมืองฝรั่งเศสเริ่มถูกครอบงำมากขึ้นโดยรัฐส่วนกลางและชนชั้นนำทุนนิยม ประกอบกับคนธรรมดาสามัญได้พัฒนาจิตสำนึกทางการเมืองระดับชาติซึ่งก็ส่งผลให้กลยุทธ์การประท้วงของพวกเขาเปลี่ยนแปลงไปตามด้วย
ในฝรั่งเศสนั้นพบว่าประเพณี ‘charivari’ เติบโตทางการเมืองมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะบ้านของนักการเมืองและเจ้าหน้าที่ที่ไม่เป็นที่นิยมมักจะตกเป็นเป้าหมาย ตั้งแต่นั้นมา การประท้วงก็ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตสาธารณะของชาวฝรั่งเศส
เมื่อการประท้วงกลายเป็นส่วนหนึ่งของ ‘กิจกรรมพลเมือง’ ไปแล้ว

ตั้งแต่นั้นมา การประท้วงยังคงเป็นส่วนสำคัญของชีวิตชาวฝรั่งเศส ซึ่งในบางครั้งการประท้วงในฝรั่งเศสอาจเป็นกิจกรรมทางวัฒนธรรมพอๆ กับเป็นกลวิธีทางการเมืองก็เป็นได้ “การประท้วงและการเดินขบวนในฝรั่งเศสอาจเป็นการกระทำที่มีส่วนร่วมทางการเมืองน้อยกว่าพิธีกรรมทางการเมือง ซึ่งมีความหมายเหมือนกับการที่ชาวอเมริกันให้คำมั่นว่าจะจงรักภักดีต่อชาติ” แฟรงก์ แอล วิลสัน แห่งมหาวิทยาลัยเพอร์ดูกล่าว
อเล็กซิส โปยาร์ด นักเคลื่อนไหวเยาวชนชาวฝรั่งเศสกล่าวว่า “ในฝรั่งเศส เราประท้วงทุกครั้งที่เราเศร้าหรือเมื่อเราโกรธ”
“พวกอนุรักษนิยมเชื่อว่าการเคลื่อนไหวทางสังคมและการประท้วงทำให้เราแตกแยกกัน แต่จริงๆ แล้ว มันตรงกันข้าม อย่างน้อยก็สำหรับการเดินขบวนของประชาชน ตัวอย่างเช่น การประท้วงของเสื้อกั๊กเหลือง (gilets jaunes) 2018 ที่ต้องการสร้างความเชื่อมโยงทางสังคมระหว่างผู้คน…ประชาธิปไตยของฝรั่งเศสถูกสร้างขึ้นบนรูปแบบที่การลงคะแนนเสียงไม่ใช่วิธีเดียวในการแสดงออกของประชาชน แต่ยังรวมถึงการเดินขบวนที่แสดงความไม่พอใจต่อนโยบายของรัฐบาลด้วย”
“และมันได้ผล ซึ่งเราจะเห็นได้จากในเดือนพฤษภาคมปี 1968 เมื่อตำรวจปราบปรามผู้ประท้วงที่เป็นนักศึกษาอย่างโหดเหี้ยมจนก่อให้เกิดการนัดหยุดงานและการจลาจลครั้งใหญ่ ซึ่งทำให้ประธานาธิบดีชาร์ลส์ เดอ โกลล์ต้องหลบหนีออกจากประเทศ” โปยาร์ดกล่าว
อย่างไรก็ตาม นักวิจารณ์บางคนก็แย้งว่า มันไม่สมเหตุสมผลเลยที่ชาวฝรั่งเศสจะยืนหยัดเพื่อประท้วงอยู่ตลอดเวลา เมื่อพวกเขามีสิ่งที่ดีเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ แต่นี่คือเหตุผลว่าทำไมสิ่งต่างๆ ในฝรั่งเศสถึงดีขึ้น เพราะพวกเขาเห็นพลังในการดำเนินการร่วมกันและการเปลี่ยนแปลงความต้องการ
แน่นอนว่าทุกประเทศมีประเพณีการประท้วง และไม่เป็นที่แน่ชัดว่าโดยทั่วไปแล้วฝรั่งเศสมีแนวโน้มที่จะเกิดการประท้วงมากกว่าประเทศอื่นๆ ที่พัฒนาแล้วเสียอีก โดยเฉลี่ยแล้วพบว่าค่าเฉลี่ยการประท้วงของฝรั่งเศสจะอยู่กลางๆ ในยุโรป หรืออยู่อันดับต้นๆ สำหรับจำนวนการประท้วงและจำนวนวันทำงานที่เสียไปจากการนัดหยุดงาน
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นการประท้วงกลับมีความสำคัญและสัมผัสได้ในชีวิตการเมืองของฝรั่งเศสมากกว่าที่อื่นๆ ในโลกที่พัฒนาแล้ว ซึ่งนั่นอาจเกี่ยวข้องกับประเพณีเก่าแก่ของฝรั่งเศสที่หยั่งรากลึกมานานด้วย
อเล็กซิส โปยาร์ด นักเคลื่อนไหวเยาวชนชาวฝรั่งเศสกล่าวว่า “ในฝรั่งเศส เราประท้วงทุกครั้งที่เราเศร้าหรือเมื่อเราโกรธ”
“พวกอนุรักษนิยมเชื่อว่าการเคลื่อนไหวทางสังคมและการประท้วงทำให้เราแตกแยกกัน แต่จริงๆ แล้ว มันตรงกันข้าม อย่างน้อยก็สำหรับการเดินขบวนของประชาชน ตัวอย่างเช่น การประท้วงของเสื้อกั๊กเหลือง (gilets jaunes) 2018 ที่ต้องการสร้างความเชื่อมโยงทางสังคมระหว่างผู้คน…ประชาธิปไตยของฝรั่งเศสถูกสร้างขึ้นบนรูปแบบที่การลงคะแนนเสียงไม่ใช่วิธีเดียวในการแสดงออกของประชาชน แต่ยังรวมถึงการเดินขบวนที่แสดงความไม่พอใจต่อนโยบายของรัฐบาลด้วย”
“และมันได้ผล ซึ่งเราจะเห็นได้จากในเดือนพฤษภาคมปี 1968 เมื่อตำรวจปราบปรามผู้ประท้วงที่เป็นนักศึกษาอย่างโหดเหี้ยมจนก่อให้เกิดการนัดหยุดงานและการจลาจลครั้งใหญ่ ซึ่งทำให้ประธานาธิบดีชาร์ลส์ เดอ โกลล์ต้องหลบหนีออกจากประเทศ” โปยาร์ดกล่าว
อย่างไรก็ตาม นักวิจารณ์บางคนก็แย้งว่า มันไม่สมเหตุสมผลเลยที่ชาวฝรั่งเศสจะยืนหยัดเพื่อประท้วงอยู่ตลอดเวลา เมื่อพวกเขามีสิ่งที่ดีเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ แต่นี่คือเหตุผลว่าทำไมสิ่งต่างๆ ในฝรั่งเศสถึงดีขึ้น เพราะพวกเขาเห็นพลังในการดำเนินการร่วมกันและการเปลี่ยนแปลงความต้องการ
แน่นอนว่าทุกประเทศมีประเพณีการประท้วง และไม่เป็นที่แน่ชัดว่าโดยทั่วไปแล้วฝรั่งเศสมีแนวโน้มที่จะเกิดการประท้วงมากกว่าประเทศอื่นๆ ที่พัฒนาแล้วเสียอีก โดยเฉลี่ยแล้วพบว่าค่าเฉลี่ยการประท้วงของฝรั่งเศสจะอยู่กลางๆ ในยุโรป หรืออยู่อันดับต้นๆ สำหรับจำนวนการประท้วงและจำนวนวันทำงานที่เสียไปจากการนัดหยุดงาน
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นการประท้วงกลับมีความสำคัญและสัมผัสได้ในชีวิตการเมืองของฝรั่งเศสมากกว่าที่อื่นๆ ในโลกที่พัฒนาแล้ว ซึ่งนั่นอาจเกี่ยวข้องกับประเพณีเก่าแก่ของฝรั่งเศสที่หยั่งรากลึกมานานด้วย