แม้เป็นคนรุ่นใหม่ที่ป๊อปปูลาร์ แต่‘ซันนา มาริน’กลับต้องแพ้เลือกตั้ง

4 พ.ค. 2566 - 03:03

  • ซันนา มาริน เป็นนายกรัฐมนตรีฟินแลนด์ที่ได้รับความนิยมมากสุด

  • เธอได้รับคำชมมากมายในการรับมือโควิด และผลักดันฟินแลนด์เข้าร่วมนาโต้

  • แต่เลือกตั้งเมื่อต้นเดือนเมษายนที่ผ่านมา พรรคเธอก็ยังพ่ายแพ้ พ้นตำแหน่งนายกฯ เพราะสะดุดขานโยบายของตนเอง

why-sanna-marin-as-a-young-leader-lost-finland-election-SPACEBAR-Thumbnail
เข้าสู่เดือนพฤษภาคมก็เหมือนกับเข้าสู่โค้งสุดท้ายของการหาเสียงเลือกตั้ง 2566 เชื่อว่าการเลือกตั้งทั่วไปในครั้งนี้จะเป็นการเลือกตั้งที่มีจำนวนผู้คนออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งมากที่สุดครั้งหนึ่ง เห็นได้จากความตื่นตัวทางการเมืองสูงอย่างมากในกลุ่มคนรุ่นใหม่จนถึงคนเจนเนเรชั่น Y ที่มีจำนวนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งสูงเกือบเทียบเท่ากับกลุ่มคนเจน X และกลุ่มเบบี้บูมเมอร์  

หากเราสังเกตโพลหลายสำนักที่ไม่ว่าจะเป็นโพลจากสำนักทำโพลที่มีการสำรวจอย่างเป็นระบบ จนถึงการการทำโพลออนไลน์ของบรรดาสื่อหลากสำนัก ผลปรากฏ ว่าพรรคการเมืองที่มีการแกนนำเป็นกลุ่มคนรุ่นใหม่มักจะได้คะแนนนิยมในโพลมาแรงเป็นอันดับหนึ่ง ซึ่งก็สะท้อนอะไรหลายๆ อย่างได้เช่นกันถึงความนิยมชมชอบในผู้นำคนรุ่นใหม่ และความต้องการที่จะเห็นรัฐบาลชุดใหม่ที่บริหารโดยคนรุ่นใหม่ ซึ่งก็ไม่แปลกสำหรับยุคนี้ที่ทั้งภาครัฐบาลหลายประเทศ ตลอดจนภาคเอกชนหลายองค์กรที่มักมีผู้นำองค์กรเป็นคนรุ่นใหม่ 

การเป็นคนรุ่นใหม่ในสนามการเมืองไม่ใช่เรื่องผิดแปลกอะไร เพราะไม่กี่ปีที่ผ่านมา หลายประเทศมีผู้นำอายุน้อยที่ดำรงตำแหน่งหัวหน้ารัฐบาลหลายประเทศ อาทิ จาร์ซินดา อาร์เดิร์น ของนิวซีแลนด์, เซบาสเตียน คัวร์ซ ของออสเตรีย, กาเบรีล โบริก ประธานาธิบดีชิลี จนถึงซันนา มาริน นายกฯ ฟินแลนด์  

เมื่อพูดถึงผู้นำรุ่นใหม่ นับตั้งแต่ต้นปี 2023 เป็นต้นมา เราได้เห็นผู้นำรุ่นใหม่ที่ได้รับความนิยมสูง “ลาออก” จากตำแหน่งด้วยเหตุผลที่แตกต่างกัน เริ่มที่ จาร์ซินดา อาร์เดิร์น ประกาศลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีนิวซีแลนด์ เมื่อ 25 มกราคม ที่ผ่านมา โดยเธอให้เหตุผลว่า หมดพลังในการทำงานในฐานะนายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นหน้าที่ใหญ่ยิ่งที่มีความรับผิดชอบสูง และมองว่าถึงตอนนี้อาจไม่ใช่เวลาที่เธอจะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอีกต่อไปแล้ว  

กรณีของอาร์เดิร์นอาจเรียกว่าได้ว่าคล้ายกับภาวะหมดไฟในการทำงานก็ว่าได้ ขณะที่อีกกรณีของนายกรัฐมนตรีซันนา มาริน ที่ต้องพ้นเก้าอี้นายกรัฐมนตรีนั้น ก็ด้วยเหตุผลที่พรรคของเธอพ่ายแพ้การเลือกตั้งให้กับพรรคอนุรักษ์นิยมแห่งชาติ (NCP) ฝ่ายขวา ที่นำโดย ปีเตอร์รี ออร์โป (Petteri Orpo) ซึ่งในฐานะหัวหน้าพรรคและยังเป็นเป็นประธานรัฐสภาฟินแลนด์ มีสิทธิได้รับการเสนอชื่อขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีฟินแลนด์คนใหม่ พร้อมกับจับมือกับพรรคการเมืองฝ่ายขวาด้วยการเพื่อฟอร์มรัฐบาล  
 
แล้วเหตุใดซันนา มาริน ซึ่งเป็นนายกรัฐมนตรีที่ได้ชื่อว่าอายุน้อยที่สุดในโลก อีกทั้งเธอยังเป็นหนึ่งในผู้นำที่ได้รับเสียงชื่นชมมากมาย กลับพ่ายแพ้การเลือกตั้งให้กับพรรคฝ่ายขวา
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/4zvH2rePmsa2CEVS82C2nq/7424eea085f8a08889cbea321578e632/why-sanna-marin-as-a-young-leader-lost-finland-election-SPACEBAR-Photo01
Photo: ซันนา มาริน นายกรัฐมนตรีฟินแลนด์แถลงข่าวระหว่างการประชุมสุดยอดสหภาพยุโรปที่อาคารยูโรปาในกรุงบรัสเซลส์ เมื่อ 13 ธันวาคม 2019 / AFP

‘มาริน’ สิ้นความนิยม?

ผลการเลือกตั้งรัฐสภาฟินแลนด์เมื่อ 4 เมษายนที่ผ่านมา ชัดเจนว่าฟินแลนด์กำลังจะเปลี่ยนขั้วการเมือง จากพรรคสังคมประชาธิปไตยแห่งฟินแลนด์ (Social Democratic Party of Finland) ฝ่ายกลางซ้าย มาเป็นพรรคแนวอนุรักษ์นิยมแห่งชาติ (NCP) ฝ่ายขวา  
 
นั่นหมายความว่าการเมืองฟินแลนด์กำลังจะหันขวา ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องผิดอะไรเพราะมันคือการเมือง แต่สิ่งที่หลายฝ่ายตั้งข้อสังเกตคือ เหตุใดผู้นำหญิงที่ได้รับการจับตาและถูกพูดถึงอย่างมากในเวทีโลก กลับพ่ายการเลือกตั้งในรอบนี้ 
  
อันที่จริงหากมองผลการเลือกตั้งรัฐสภาฟินแลนด์ในรอบนี้ พรรคของมารินไม่ใช่ว่าจะพ่ายแพ้ไปเสียทีเดียว ผลการเลือกตั้งของพรรค SDP ปรากฏว่าได้สัดส่วนคะแนนเสียงและจำนวน ส.ส.ในสภาเพิ่มขึ้น 3 ที่นั่ง รวมเป็น 43 ที่นั่ง แต่ก็ยังน้อยกว่าพรรคฝ่ายขวาอย่างพรรค Finns ที่ได้คะแนนเสียงทั้งหมด 46 ที่นั่ง  และพรรค NCP ที่ได้คะแนนเสียง 48 ที่นั่ง นั่นหมายความว่าในท้ายที่สุดพรรค NCP ก็จะจับมือกับพรรค Finns เพื่อตั้งรัฐบาลชุดใหม่ 

คำถามคือแล้วทำไม ซันนา มาริน ถึงพ่ายแพ้ เหตุผลไม่ใช่เพราะคลิปวิดีโอหลุดที่เธอปาร์ตี้อย่างสุดขั้วกับเพื่อนของเธอ จนนำไปสู่การเรียกร้องให้มีการตรวจสารเสพติดที่ท้ายที่สุดเธอก็ผ่าน ไม่พบการใช้สารเสพติด ภาพของผู้นำรัฐบาลที่เมาและปาร์ตี้สุดเหวี่ยงก็เป็นเรื่องปกติของความเป็นมนุษย์ อีกอย่างวัฒนธรรมชาวฟินแลนด์ก็เป็นชาติที่พลเมืองดื่มหนักกันอยู่แล้ว  
 
สำนักข่าวเดอะการ์เดียนได้ตีพิมพ์ความคิดเห็นของชาวฟินแลนด์ที่มองถึงเหตุผลที่ ซันนา มาริน พ่ายแพ้การเลือกตั้ง โดยชาวฟินแลนด์มองว่า แม้ ซันนา มาริน จะเป็นนายกรัฐมนตรีที่ได้รับคะแนนนิยมสูง แต่กลับพ่ายแพ้การเลือกตั้ง ส่วนหนึ่งเพราะเป็นเรื่องปกติที่เมื่อครบวาระของรัฐบาล การเมืองฟินแลนด์มักจะเปลี่ยนขั้วไปมาระหว่างฝ่ายซ้ายและฝ่ายขวา นั่นเป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้พรรคโซเชียลเดโมแครต (SDP) ของมารินไม่ได้เป็นพรรคที่ใหญ่ที่สุดในเวลานี้ แต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่าในอีก 4 ปีข้างหน้าพรรค SDP จะไม่ได้มีโอกาสกลับมาเป็นรัฐบาลอีก 
 
อีกประเด็นสำคัญคือ ตลอดช่วงที่ SDP เป็นแกนนำรัฐบาลภายใต้การนำของนายกหญิง ซันนา มาริน รัฐบาลได้ดำเนินนโยบายหลายประการที่ส่งผลให้หนี้สาธารณะเพิ่มสูงขึ้น  
 
ปัจจัยหลักที่ทำให้หนี้สาธารณะสูงขึ้นอย่างปฏิเสธไม่ได้คือ ผลพวงจากนโยบายที่ต้องเยียวยาผลกระทบจากการระบาดของโควิด-19 มาจนถึงเรื่องผลพวงจากสงครามรัสเซีย-ยูเครนที่ยืดเยื้อนานนับปี
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/2X6lGoJRMVesqMTuXYBRiq/46d2bdb2127752e6c2cb1495aa4c90ca/why-sanna-marin-as-a-young-leader-lost-finland-election-SPACEBAR-Photo02
Photo: ซันนา มาริน นายกรัฐมนตรีฟินแลนด์ ขณะเดินทางเยือนกรุงเคียฟ พร้อมพบปะประธานาธิบดีโวโลดิมีร์ เซเลนสกี ผู้นำยูเครน / AFP
พอล แฟร์ไชลด์ หนึ่งในชาวฟินแลนด์แสดงความเห็นต่อเดอะการ์เดียนว่า ชาวฟินน์จำนวนมากกังวลเกี่ยวกับความเร็วที่หนี้ภาครัฐเพิ่มขึ้น แผนการใช้จ่ายของพรรคแนวร่วมแห่งชาติ (NCP) ทั้งในด้าน การศึกษา สวัสดิการ และนโยบายด้านสุขภาพ ยังมีความประนีประนอมมากกว่าแนวทางของ SDP  

เช่นเดียวกับ โรบิน ไบลีย์ อีกหนึ่งชาวฟินน์ที่แสดงความเห็นมองว่า จริงๆ แล้ว ซันนา มาริน ได้รับที่นั่งในรัฐสภามากกว่าการเลือกตั้งในปี 2019 เสียด้วยซ้ำ แต่ประเด็นหลักที่นี่คือ เศรษฐกิจ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งหนี้สาธารณะของประเทศ ชาวฟินน์เกลียดการเป็นหนี้ และฝ่ายขวาตั้งใจที่จะแก้ปัญหานี้ด้วยการลดการใช้จ่ายของรัฐบาล  

แม้ฟินแลนด์ภายใต้การนำของมาริน จะเป็นกลไกลสำคัญขับเคลื่อนให้ฟินแลนด์สามารถเข้าเป็นสมาชิกนาโต้ได้ในที่สุด ด้วยกลยุทธ์แนวทางนโยบายด้านการต่างประเทศในช่วงสงครามยูเครนที่ทำให้ฟินแลนด์ สามารถจับมือทางทหารกับชาติพันธมิตรได้อย่างรวดเร็ว แต่นโยบายต่างประเทศของรัฐบาลมารินนี่เอง ที่ทำให้เธอสูญเสียความเชื่อมั่นของประชาชน  

หนึ่งในนโยบายต่างประเทศของรัฐบาลมารินที่ทำให้เสียคะแนนคือ การเสนอเครื่องบินขับไล่ F18 แก่ยูเครน เหตุผลนี้เองที่ทำให้ไบลีย์ซึ่งเคยเป็นหนึ่งในผู้ที่ลงคะแนนให้พรรค SDP หันมาโหวตให้พรรค NCP แทน 
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/797MpLFbcln8HYoreEIplr/8e48558c4e506f55943c6c2bbda10a0c/why-sanna-marin-as-a-young-leader-lost-finland-election-SPACEBAR-Photo03
Photo: ป้ายหาเสียงของซันนา มาริน และพรรค SDP ในกรุงเฮลซิงกิ ของฟินแลนด์ / AFP

จุดประกายคนรุ่นใหม่ 

แม้การเลือกตั้งในรอบนี้ ซันนา มาริน จะพ่ายแพ้การเลือกตั้งพ้นจากเก้าอี้นายกรัฐมนตรี แต่ความสำเร็จของเธอตลอดจนบทบาทอันโดดเด่นในเวทีการเมืองโลก ทำให้บรรดานักการเมืองหญิงจากพรรคเดียวกัน และพรรคการเมืองอื่นๆ โดดเด่นเป็นที่จับตามองตามกัน
 
ปัจจุบันทั้ง 7 ใน 9 พรรการเมืองหลักของฟินแลนด์มีหัวหน้าพรรคที่เป็นสตรี แม้กระทั่งในหมู่ผู้สมัครรับเลือกตั้งก็มีสัดส่วนผู้สมัครที่เพศหญิงสูงขึ้นเกือบครึ่ง โดยผู้หญิง 46% และผู้ชาย 54% 
 
ในช่วงการระบาดของโควิด-19 มารินได้โชว์ทักษะความเป็นผู้นำท่ามกลางวิกฤตอย่างชัดเจน มาจนถึงช่วงที่ประเทศได้รับผลกระทบจากาวะเศรษฐกิจถดถอยที่เกิดขึ้นจากสงครามในยูเครน  

อย่างไรก็ตาม ดูเหมือนว่านโยบายที่มาริน และพรรค SDP การต้องใช้จ่ายเพื่อสร้างสมดุลระหว่างการกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจและการใช้จ่ายสาธารณะในด้านการศึกษา บริการสังคม กับการเตรียมพร้อมสำหรับการเปลี่ยนผ่านที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมนั้น กลับไม่ได้รับการตอบรับจากชาวฟินน์มากอย่างที่ควร 
 
ถึงกระนั้น แม้เธอจะพ่ายแพ้การเลือกตั้ง หนึ่งในวาทะอันคมคายที่เธอกล่าวและได้รับการพูดถึงอย่างมากคือ  “ความเข้มแข็งของสังคมไม่ได้วัดจากจำนวนพลเมืองที่มั่งคั่ง แต่วัดจากพลเมืองที่เปราะบางที่สุดสามารถรับมือได้ดีเพียงใด ... คำถามที่เราต้องถามคือ ทุกคนในสังคมมีโอกาสที่จะมีชีวิตที่ดีและมีศักดิ์ศรีหรือไม่”  

แม้ขณะนี้ ซันนา มาริน จะยังคงดำรงตำแหน่งรักษาการนายกรัฐมนตรีฟินแลนด์ เพื่อรอการเปลี่ยนมือรัฐบาล แต่เธอนับว่าได้กลายเป็นสัญลักษณ์ของนักการเมืองรุ่นพันปีที่ก้าวหน้ารุ่นใหม่และได้พูดถึงมุมมองสังคมนิยมของเธออย่างกว้างขวาง

เรื่องเด่นประจำสัปดาห์