สวิตเซอร์แลนด์ ประเทศที่มีผู้นำรัฐบาลครั้งละ 7 คน

26 พฤษภาคม 2566 - 06:51

why-switzerland-seven-federal-councils-SPACEBAR-Thumbnail
  • สวิตเซอร์แลนด์มีผู้นำรัฐบาล 7 คนที่เรียกว่าคณะมนตรีแห่งสมาพันธ์ (Federal Council)

  • แต่ละคนจะหมุนเวียนขึ้นเป็นประธานาธิบดีดำรงตำแหน่งวาระ 1 ปี

  • แล้วโมเดลแบบสวิตเซอร์แลนด์เค้าแบ่งหน้าที่กันอย่างไรให้บริหารประเทศภายใต้ผู้นำ 7 คน

https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/28HZr6jrg0XPL7goVnjNu0/4390b872dd7bedc6d1e1d888995c5c94/why-switzerland-seven-federal-councils-SPACEBAR-Photo01
Photo: คณะมนตรีแห่งสมาพันธ์ในปี 2023
หลังการเลือกตั้งทั่วไปที่ชัดเจนว่าพรรคก้าวไกลเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล พร้อมเสนอชื่อ พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ เป็นว่าที่นายกรัฐมนตรีคนที่ 30 แต่อย่างไรก็ตาม ความไม่แน่นอนยังคงไม่จางหายจนกว่าที่พิธาจะได้รับการผ่านมติจากที่ประชุมสองสภา ให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการ 

ตามไทม์ไลน์หลังกกต.รับรองผลการเลือกตั้ง คาดว่ารัฐบาลชุดเดิมจะสิ้นสุดการปฏิบัติหน้าที่กลางช่วงเดือนสิงหาคม โดยก่อนหน้านั้นจะเป็นการรายงานตัวของส.ส. จนถึง 20 กรกฏาคม จากนั้นจะมีการประชุมเพื่อเลือกประธานสภาฯ ในเบื้องต้น คาดว่า จะเกิดขึ้นวันที่ 25 กรกฏาคมนี้  

หลังจากนั้น สัปดาห์แรกของเดือนสิงหาคม ภายหลังมีการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งประธานสภาฯ ก็จะเข้าสู่กระบวนการเลือกนายกรัฐมนตรี ในสัปดาห์ที่ 2 ของเดือนสิงหาคม ซึ่งนั่นก็จะเป็นเวลาที่ทั้งประเทศจับตาว่าผลการลงมติในที่ประชุมร่วม 2 สภาจะเป็นเช่นไร  

อย่างไรก็ตาม หากการลงมติในครั้งแรกยังไม่ผ่าน พรรคร่วมรัฐบาลยังคงสามารถเสนอชื่อนายพิธา สู่การพิจารณาของที่ประชุมร่วมทั้งสองสภาได้อย่างไม่จำกัดครั้ง ทั้งนี้หากการลงมติของนายพิธาผ่านการเห็นชอบตั้งแต่ครั้งแรก ก็คาดว่าจะมีการตั้งรัฐบาลชุดใหม่ภายในจากนั้นรัฐบาลชุดเดิมก็จะสิ้นสุดหน้าที่ราววันที่กลางเดือนสิงหาคม 

ทั้งหมดนี่เป็นเพียงขั้นตอนในการเลือกนายกรัฐมนตรีเพียงคนเดียว ซึ่งยังไม่ชัดเจนว่าในท้ายที่สุด พิธาจะสามารถฝ่าด่านส.ว.สายอนุรักษนิยมขวาจัด นั่งเก้าอี้บนตึกไทยคู่ฟ้าได้เสร็จหรือไม่  

เป็นที่ทราบดีว่าทุกประเทศทั่วโลก จะมีผู้นำรัฐบาลซึ่งมีอำนาจสูงสุดในฝ่ายบริหารเพียงคนเดียว ต่างกันแค่ว่าอำนาจบริหาร (Head of Goverment) นั่นจะอยู่ภายใต้ระบบ “ประธานาธิบดี” หรือ “นายกรัฐมนตรี” แต่บนโลกมีอยู่หนึ่งชาติที่จัดว่ามีผู้นำในอำนาจบริหารถึง 7 คน ซึ่งทำหน้าที่ไม่ต่างกับหัวหน้ารัฐบาลที่ดูแลงานในแต่ละด้าน โดยทั้ง 7 คนนี้จะมีการผลัดเปลี่ยนขึ้นสู่ตำแหน่ง “ประธานาธิบดี” วาระละ 1 ปี นั่นคือ คณะมนตรีแห่งสมาพันธรัฐสวิส หรือ ‘สวิตเซอร์แลนด์’
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/1qMi5YRAXEGtmCSMjHsf6k/de4c0c52c4337708be36261bc444f86d/why-switzerland-seven-federal-councils-SPACEBAR-Photo02
Photo: Alain Berset ประธานาธิบดีสวิตเซอร์แลนด์คนปัจจุบัน

อเมริกาต้นแบบรัฐธรรมนูญสวิส 

สวิตเซอร์แลนด์เป็นชาติพหุวัฒนธรรมที่มีประชากรใช้หลายภาษา ฝั่งตะวันตกของประเทศพูดภาษาฝรั่งเศสเป็นหลัก ทางตอนเหนือใช้ภาษาเยอรมัน ส่วนตะวันออกพูดภาษาอิตาลี นี่ยังไม่นับรวมบางกลุ่มที่ใช้ภาษาโรมานช์ นั่นจึงเป็นเหตุว่าทำไมสวิตเซอร์แลนด์จึงใช้ภาษาราชการหลายภาษา 

ความเป็นสมาพันธรัฐของสวิสเริ่มต้นตั้งแต่ปี ค.ศ. 1291 เมื่อบรรดาผู้ครองแคว้นในดินแดนแถบเทือกเขาแอลป์ทำสนธิสัญญากัน เพื่อจัดการความวุ่นวายที่จะตามมาหลังการเสียชีวิตของกษัตร์รูดอล์ฟที่ 1 แห่งราชวงศฮับส์บูร์ก ดินแดนทั้ง 7 แคว้นจึงเขียนบทบัญญัติที่เรียกว่า The Federal Charter of 1291 เป็นเอกสารรัฐธรรมนูญที่เก่าแก่ที่สุดของสวิตเซอร์แลนด์ ภายใต้สนธิสัญญาโบราณนี้ บรรดาทั้ง 7 แคว้นในหุบเขาทางตอนกลางอาทิ อูรี ชวีซ และนิดวัลเดน ต่างให้คำมั่นว่าจะช่วยเหลือซึ่งกันและกันเพื่อต่อต้านการคุกคามจากความรุนแรงหรือความอยุติธรรม จากมหาอำนาจราชวงศ์ทรงอิทธิพลรอบด้าน 

มีการลงนามสนธิสัญญานี้ในช่วงต้นเดือนสิงหาคม นับตั้งแต่นั้นสวิตเซอร์แลนด์จึงยึดเอาวันที่ 1 สิงหาคมเป็นวันชาติสวิส ทั้งยังเป็นจุดเริ่มต้นการเกิดขึ้นของ 'สมาพันธรัฐสวิสเก่า' (Old Swiss Confederacy หรือในภาษาเยอรมัน Eidgenossenschaft) ซึ่งปกครองสวิตเซอร์แลนด์ระหว่าง 1291-1798 แต่ในเวลานั้นแต่ละรัฐยังคงมีอำนาจในการบริหารจัดการปกครองตนเอง ภายใต้สัญญา The Federal Charter of 1291 จึงเปรียบเสมือนการให้คำมั่นระหว่างมลรัฐทั้ง 7 ว่าจะช่วยเหลือซึ่งกันและกัน กาลเวลาผ่านไปมีการลงนามเข้าร่วมของรัฐอื่นๆ ในบริเวณใกล้เคียง  

กระทั่งปี ค.ศ. 1618–1648 สมาพันธรัฐสวิสเก่า ได้ขยายตัวจากเดิม 7 แคว้น กลายเป็น 13 แคว้น ซึ่งทั้งหมดยังคงจับมือกันแบบหลวมๆ เหมือนเช่นจากยุค 1291 โดยยึดจุดยืนการรักษาความเป็นกลางท่ามกลางชาติมหาอำนาจรอบทั้งฝรั่งเศส ออสเตรีย-ฮังการี ปรัสเซีย จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ตลอดจนบรรดาอาณาจักรในแถบอิตาลี 

ความท้าทายของสมาพันธรัฐสวิสเก่า เกิดขึ้นในช่วงสงครามนโปเลียนที่สั่นคลอนเสถียรภาพภายในของทั้ง 13 แคว้น บรรดาแคว้นต่างๆ ในสวิสเริ่มแตกคอกันเอง จนนำไปสู่การปฏิรูปและฟื้นฟูสมาพันธ์รัฐสวิสใหม่ (Restoration 1814–1830 & Regeneration 1830–1847) ภายใต้การปฏิรูปและฟื้นฟูสมาพันธ์รัฐสวิสใหม่ บรรดาผู้นำแคว้นต่างๆ เห็นพ้องว่าจำเป็นต้องมีรัฐธรรมนูญ และคณะตัวแทนของรัฐบาลกลาง โดยยังยึดธรรมเนียมการปกครองรูปแบบสหพันธ์รัฐเช่นเดิม  

วันที่ 12 กันยายน 1848 หลังสิ้นสุดความวุ่นวายทางการเมือง สวิสเซอร์แลนด์ได้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญที่กำหนดขอบเขตอำนาจอธิปไตยของมณฑล ตราบใดที่สิ่งนี้ไม่กระทบต่อรัฐธรรมนูญแห่งสหพันธรัฐ ทั้งยังมีการกำหนดให้สวิตเซอร์แลนด์มีระบบ 2 สภา โดยรัฐธรรมนูญของสวิตเซอร์แลนด์ ได้รับแรงบันดาลใจจากรัฐธรรมนูญของสหรัฐอเมริกา เนื่องจากในเวลานั้นมีเพียงไม่กี่ชาติบนโลกที่ใช้รูปแบบการปกครองลักษณะสหพันธรัฐ  

แต่ด้วยความที่ประกอบจากคนที่ใช้ภาษาหลายกลุ่มในประเทศ ประกอบกับประเพณีการปกครองรูปแบบสมาพันธรัฐ ทำให้สวิตเซอร์แลนด์จำเป็นต้องใช้ “คณะผู้บริหาร” ที่ไม่ยึดโยงกับคนใดคนหนึ่ง และต้องมีการกระจายอำนาจอย่างเทียบเท่ากันจึงเกิดแนวคิด “มนตรีแห่งสหพันธรัฐ” หรือ Federal Council ทั้ง 7 คน
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/5eq7WRBdWhOqs1Fj6bqKuQ/fd81185d01457092a8b833ed16bc82b5/why-switzerland-seven-federal-councils-SPACEBAR-Photo03

ทำไมต้อง 7 คน 

ต้องอธิบายด้วยว่า “คณะมนตรีแห่งสหพันธรัฐ” หรือ Federal Council ประกอบไปด้วยสมาชิก 7 คน ในจำนวนนี้จะมีผู้ดำรงตำแหน่งประธานสมาพันธรัฐสวิส 1 คน (President of the Swiss Confederation) และมีนายกรัฐมนตรีสวิตเซอร์แลนด์ (Chancellor of Switzerland) อีก 1 คน  

อย่างไรก็ตามทั้ง 7 คน ล้วนมีสถานะเป็น “ผู้นำรัฐบาล” และถือเป็น “คณะรัฐมนตรี” ของสวิตเซอร์แลนด์ทั้ง 7 คน  

เหตุที่ต้องมี 7 คน ก็ต้องย้อนไปช่วงค.ศ. 1291 ที่บรรดาผู้นำแคว้นทั้ง 7 แคว้นเขียนบทบัญญัติ The Federal Charter of 1291 ซึ่งถือเป็นรากฐานของการปกครองแบบสมาพันธรัฐสวิสในเวลาต่อมา แม้เวลาผ่านไป ขณะที่สมาพันธ์ขยายตัว เลขเจ็ดกลายเป็นสัญลักษณ์สำคัญและถูกเก็บรักษาไว้ในสถาบันต่างๆ รวมทั้งคณะมนตรีแห่งสหพันธรัฐ 

ด้วยความมี 7 คน นั่นทำให้การลงคะแนนตัดสินใจประเด็นต่างๆ เป็นฉันทามติ สวิตเซอร์แลนด์ให้ความสำคัญกับฉันทามติทางการเมืองและความมั่นคง การมีสมาชิกเป็นเลขคี่ สภาแห่งสหพันธรัฐสามารถตัดสินใจได้ง่ายขึ้นโดยไม่ต้องลงคะแนนเสียงเท่ากัน สภาเจ็ดสมาชิกช่วยหลีกเลี่ยงการหยุดชะงักและส่งเสริมการตัดสินใจที่ราบรื่นยิ่งขึ้น 

ที่มาของคณะมนตรีแห่งแห่งสหพันธรัฐได้รับการเลือกตั้งโดยที่ประชุมร่วมของทั้งสองสภา การเลือกตั้งจะมีขึ้นทุกๆ สี่ปีในเดือนธันวาคม โดยในโควต้า 7 คนนี้จะต้องมีอย่างน้อยหนึ่งคนที่มาจากชุมชนภาษาฝรั่งเศส อย่างน้อยหนึ่งคนที่ใช้ภาษาอิตาลี  

ส่วนภาษาเยอรมันไม่ได้ระบุไว้เนื่องจากชุมชนคนสวิสที่ใช้ภาษาเยอรมันเป็นคนกลุ่มใหญ่ของประเทศอยู่แล้วได้รับการเลือกตั้งโดยสภาแห่งสหพันธรัฐแห่งสหพันธรัฐ สิ่งนี้สะท้อนว่าวัฒนธรรมฉันทามติของชาวสวิสตั้งอยู่บนพื้นฐานของความเชื่อมั่นว่าการตัดสินใจเรื่องใดก็ตาม ไม่เพียงตัดสินตามเสียงส่วนใหญ่แล้ว แต่ยังรวมถึงเสียงข้างน้อยด้วย ด้วยเหตุนี้ สมาชิก 7 คนของสภาแห่งสหพันธรัฐจึงมาจากมณฑล ภูมิภาค ภาษา และพรรคต่างๆ ที่ต่างภาษาต่างวัฒนธรรม 

การมีผู้นำทั้ง 7 คน ภายใต้คณะมนตรีแห่งงสหพันธรัฐยังสะท้อนถึงการแบ่งปันอำนาจ โดยพรรคการเมืองใหญ่จะเป็นตัวแทนตามสัดส่วน สมาชิกทั้ง 7 คนมักมาจากพรรคการเมืองชั้นนำทั้ง 4 พรรคของประเทศ ซึ่งเป็นพรรคตัวแทนต่อภูมิทัศน์ทางการเมืองและการกระจายอำนาจที่เป็นธรรมท่ามกลางความต่างของคนในแต่ละพื้นที่  

อีกสิ่งหนึ่งที่น่าสนใจภายใต้โมเดล “ผู้นำ 7 คน” คือความมีเสถียรภาพและความต่อเนื่องของคณะบริหาร Federal Council ทั้ง 7 ทำให้ระบบการเมืองของสวิสมีเสถียรภาพและความต่อเนื่องมากขึ้น 

คณะบริหารทั้ง 7 คน ทุกคนจะหมุนเวียนกันขึ้นเป็นประธานาธิบดีของประเทศ โดยว่าระการดำรงตำแหน่งคนละ 1 ปี ก่อนจะผลักเปลี่ยนจนครบทุกคน ขณะที่ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีจะดำรงตำแหน่ง 4 ปี ผ่านการเลือกของที่ประชุมร่วมรัฐสภา 

ในจำนวนทั้ง 7 คนนี้จะแบ่งหน้าที่ดูแลความรับผิดชอบที่แตกต่างกันไป ไม่ว่าจะเป็นการพิทักษ์รักษาสิทธิพลเมือง การสานความร่วมมือระหว่างแคว้น ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างสมาพันธ์และรัฐ รวมถึงยังดูแลหน่วยงานเฉพาะด้าน อาทิ กรมสิ่งแวดล้อม การขนส่ง พลังงาน และการสื่อสาร, กรมเศรษฐกิจ การศึกษาและการวิจัย (EAER), กระทรวงการคลัง (FDF) กรมป้องกันพลเรือนและกีฬา (DDPS) 
, กระทรวงยุติธรรมและตำรวจ (FDJP), กระทรวงมหาดไทย (FDHA) และกระทรวงการต่างประเทศ (FDFA) โดยในหนึ่งคนสามารถดูแลรับผิดชอบได้มากกว่า 1 ตำแหน่ง 

นั่นหมายความว่าในแต่ละปีที่ทั้ง 7 คนผลัดเปลี่ยนขึ้นเป็นประธานาธิบดี ความรับผิดชอบในแต่ละหน่วยงานจะไม่ได้ผูกขาดอยู่ที่คนใดคนหนึ่ง ในดังนั้นภายใต้กรอบระยะเวลาที่เฉพาะทำให้การตัดสินใจเรื่องต่างๆ ยิ่งต้องรอบคอบ 

การปกครองของสวิสซึ่งมีสภาทั้งเจ็ดนี้ เป็นตัวอย่างที่ชัดเจนสำหรับประเทศต่างๆ ทั่วโลกให้เห็นว่าอำนาจสามารถกระจายได้ และการตัดสินใจสามารถครอบคลุมได้ โดยไม่สูญเสียความเสถียรและประสิทธิภาพของประเทศที่ยึดถือประชาธิปไตย เสถียรภาพ และฉันทามติ จนทำให้สวิตเซอร์แลนด์ยังคงยืนหยัดในสถานะประเทศที่เป็นกลางมานานนับร้อยปี 

เรื่องเด่นประจำสัปดาห์