เปิดเหตุผล ‘ทำไมไฟป่าฮาวายลามเร็วทั้งๆ ที่อยู่ติดทะเล?’

11 สิงหาคม 2566 - 07:00

why-wildfire-hawaii-spreading-fast-despite-next-to-the-sea-SPACEBAR-Thumbnail
  • เหตุไฟป่าดังกล่าวเกิดจากลมแรง สภาพอากาศแห้ง และด้วยสภาพทางภูมิศาสตร์ของเกาะที่ซับซ้อน

  • “เป็นเรื่องแปลกมากที่ได้ยินเกี่ยวกับเหตุไฟป่ารุนแรงในฮาวาย ซึ่งเป็นเกาะเขตร้อนชื้น แต่เหตุการณ์แปลกๆ กลับเกิดบ่อยขึ้นเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ”

  • “…นี่เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งที่แสดงให้เห็นว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เกิดจากมนุษย์มีหน้าตาเป็นอย่างไร”

หลังจากเกิดไฟป่าที่พัดโหมกระหน่ำที่เกาะเมาวี (Maui) ในหมู่เกาะฮาวายได้แพร่กระจายอย่างรวดเร็วและจุดเชื้อไฟซึ่งเป็นอันตรายต่อชีวิตประชาชนและเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นที่ต้องจมอยู่ในไฟป่าตั้งแต่วันที่ 9 สิงหาคมที่ผ่านมา (ตามเวลาท้องถิ่น) ทั้งยังคร่าชีวิตผู้คนมากที่สุดครั้งหนึ่งของประเทศอีกด้วย โดยเบื้องต้นคร่าคร่าชีวิตผู้คนไปแล้วอย่างน้อย 53 ราย 

“เป็นเรื่องแปลกมากที่ได้ยินเกี่ยวกับเหตุไฟป่ารุนแรงในฮาวาย ซึ่งเป็นเกาะเขตร้อนชื้น แต่เหตุการณ์แปลกๆ กลับเกิดบ่อยขึ้นเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ” เจนนิเฟอร์ มาร์ลอน นักวิทยาศาสตร์การวิจัยและอาจารย์ประจำโรงเรียนสิ่งแวดล้อมเยล (Yale School of the Environment) กล่าวกับ CNN 

ตามรายงานของสำนักป่าไม้และการป้องกันอัคคีภัยรัฐแคลิฟอร์เนีย (CalFire) ระบุว่า ไฟป่าเมาวีเป็นหนึ่งในไฟป่าที่ร้ายแรงที่สุดในประวัติศาสตร์สมัยใหม่ของสหรัฐฯ ไฟป่าครั้งนี้ทำให้มีผู้เสียชีวิตมากที่สุดเป็นอันดับ 2 ในรอบ 100 ปีที่ผ่านมา 

“นับเป็นไฟป่าที่คร่าชีวิตผู้คนมากที่สุดในประวัติศาสตร์ฮาวาย” เคลย์ คลาวเออร์นิช ผู้ช่วยผู้เชี่ยวชาญที่ศึกษาไฟเขตร้อนแห่งมหาวิทยาลัยฮาวายเขตมานัวกล่าว  

เมื่อเป็นเช่นนี้จึงเกิดการตั้งคำถามว่า ‘ทำไมไฟป่าฮาวายถึงลามไปอย่างรวดเร็วทั้งๆ ที่อยู่ติดทะเลด้วยซ้ำ?’ 

และนี่คือปัจจัยสำคัญที่ทำให้ฮาวายไม่อาจรับมือกับสถานการณ์ไฟป่าที่โหมกระหน่ำครั้งนี้ได้จนเข้าสู่วิกฤตที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน

ภัยแล้ง! ปัจจัยหลักที่ก่อให้เกิดไฟลาม

https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/1GvoIfpaPLhRlCFzGsVahN/00531760256e91aac22632e7dd7fe7e4/why-wildfire-hawaii-spreading-fast-despite-next-to-the-sea-SPACEBAR-Photo01
Photo: Patrick T. Fallon / AFP
ตามการรายงานขององค์กรความร่วมมือระหว่างศูนย์บรรเทาภัยแล้งแห่งชาติ (US Drought Monitor) ที่เผยแพร่เมื่อวันพฤหัสบดี (10 ส.ค.) ที่ผ่านมาระบุว่า ภัยแล้งในฮาวายเลวร้ายลงเมื่อช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาจนนำไปสู่การลุกลามของไฟ โดยระดับภัยแล้งรุนแรงในเมาวีสูงขึ้นเป็น 16% จาก 5% ขณะที่ภัยแล้งระดับปานกลางทั่วรัฐพุ่งขึ้นเป็น 14% จาก 6% 

ผืนดินและพืชพันธุ์ที่แห้งแล้งกลับกลายเป็นเชื้อเพลิงสำหรับไฟป่า ซึ่งอาจกลายเป็นอันตรายถึงชีวิตได้อย่างรวดเร็วหากว่ามีลมแรงที่พัดเปลวเพลิงไปยังชุมชน 

“มันเป็นปัญหาเชื้อเพลิงมากกว่าปัญหาสภาพอากาศ ซึ่งหมายความว่าเป็นปัญหาที่เราสามารถแก้ไขได้…มีการดำเนินการที่เราสามารถทำได้เพื่อลดความเสี่ยงของเหตุการณ์เช่นนี้ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เช่น การสร้างจุดพักเชื้อเพลิงเพื่อกำจัดพืชที่มีแนวโน้มเกิดไฟป่าให้ลดลง และสนับสนุนการใช้ที่ดินเพื่อการเกษตร” คลาวเออร์นิชกล่าว
 

ในขณะที่นักวิทยาศาสตร์เองก็พยายามทำความเข้าใจอย่างถ่องแท้ว่าวิกฤตสภาพอากาศจะส่งผลกระทบต่อฮาวายอย่างไร โดยพวกเขากล่าวว่า “ภัยแล้งจะเลวร้ายลงเมื่ออุณหภูมิโลกสูงขึ้น และอุณหภูมิที่อุ่นขึ้นจะเพิ่มปริมาณน้ำบนชั้นบรรยากาศที่สามารถดูดซับได้ ซึ่งจะทำให้ภูมิประเทศแห้ง” 

จากรายงานการประเมินสภาพภูมิอากาศแห่งชาติครั้งที่ 4 ของสหรัฐฯ ที่เผยแพร่ในปี 2018 ระบุว่า สภาพความแห้งแล้งทวีความรุนแรงมากขึ้นซึ่งพบได้บ่อยในฮาวายและหมู่เกาะแปซิฟิกอื่นๆ นอกจากนี้ ในรายงานยังระบุอีกว่า โดยทั่วไป ปริมาณน้ำฝนในฮาวายจะลดลงเมื่อเวลาผ่านไป ทั้งนี้ จำนวนวันที่อากาศแห้งติดต่อกันก็เพิ่มขึ้นด้วย  

ขณะที่ นักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกรายงานเมื่อปี 2021 ว่า วิกฤตสภาพภูมิอากาศได้ทำให้เกิดภัยแล้งที่ก่อนหน้านี้อาจเกิดขึ้นเพียงครั้งเดียวในทุกๆ ทศวรรษ แต่ปัจจุบันเกิดบ่อยขึ้นถึง 70%  

“การรวมเชื้อเพลิงจำนวนมากเข้ากับความร้อน ความแห้งแล้ง และลมกระโชกแรงเป็นสูตรที่สมบูรณ์แบบสำหรับไฟที่ไม่สามารถควบคุมได้”  

“แต่นี่คือสิ่งที่การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศกำลังเกิดขึ้น มันคือสภาพอากาศสุดขั้ว…นี่เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งที่แสดงให้เห็นว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เกิดจากมนุษย์มีหน้าตาเป็นอย่างไร” มาร์ลอนกล่าว 

‘ลม’ จากพายุเฮอร์ริเคนกลายเป็นอีกหนึ่งปัจจัย

https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/7EreYR5j3jMw9ylohVyKTx/c1cea4c9812ffb1cd9eafba67ee3dcda/why-wildfire-hawaii-spreading-fast-despite-next-to-the-sea-SPACEBAR-Photo02
Photo: Handout / NOAA / AFP
ตามรายงานขององค์การบริหารมหาสมุทรและชั้นบรรยากาศแห่งชาติ (National Weather Service) ระบุว่า ‘พายุเฮอร์ริเคนดอร่า’ (Hurricane Dora) จัดเป็นพายุเฮอร์ริเคนระดับ 4 ที่เคลื่อนตัวเร็วและมีกำลังแรงพร้อมกระแสลมที่ความเร็ว 140 ไมล์ต่อชั่วโมง  

ขณะที่พายุกำลังพัดอยู่ทางตอนใต้ของฮาวาย แต่ระบบความกดอากาศสูงรุนแรงยังคงอยู่ทางเหนือ เมื่อมันปะทะกันจึงเกิดเป็นลมแรงมากและสร้างความเสียหาย 

ลมแรง สภาวะแห้งแล้งต่อเนื่อง และความชื้นสัมพัทธ์แห้งเป็น ‘องค์ประกอบในการจุดประกายไฟเหล่านั้น’ และพัดเปลวเพลิง…ปัญหาก็คือลมนี้คล้ายกับลมซานตาอานาที่พัดในแคลิฟอร์เนียตอนใต้…ลมจะแห้งและอุ่นขึ้นขณะที่มันพัดลงมาบนภูเขา และสร้างสภาพที่แห้งแล้ง” ดีเร็ก แวน แดม นักอุตุนิยมวิทยาของ CNN กล่าว 

“ไฟป่าเป็นปัญหาใหญ่ในฮาวายมากกว่าที่หลายคนอาจรู้ ในช่วงฤดูฝน เชื้อเพลิงจะถูกสร้างขึ้นและแห้งไปในฤดูแล้ง เมื่อคุณรวมเชื้อเพลิงแห้งเหล่านี้เข้ากับลมแรงและความชื้นต่ำที่ได้รับจากพายุเฮอร์ริเคนดอร่าในตอนนี้ เราก็มีสภาพอากาศที่อันตรายอย่างยิ่งจากไฟป่า” แอบบี ฟราเซียร์ นักภูมิอากาศวิทยาและนักภูมิศาสตร์จากมหาวิทยาลัยคลาร์กในแมสซาชูเซตส์กล่าว 

นอกจากนี้ ฟราเซียยังกล่าวอีกว่า “ปัจจัยประกอบอีกประการหนึ่งคือ ‘เอลนีโญ’ (El Niño) รูปแบบภูมิอากาศที่มีต้นกำเนิดในมหาสมุทรแปซิฟิกตามแนวเส้นศูนย์สูตรและส่งผลกระทบต่อสภาพอากาศทั่วโลก…” 

“ในขณะที่เรามักจะเห็นสภาพอากาศที่เปียกชื้นในช่วงฤดูร้อนของเอลนีโญ (ซึ่งก่อให้เกิดเชื้อเพลิงในการดับเพลิง) ฮาวายควรคาดการณ์ว่าสภาพอากาศจะแห้งแล้งในฤดูหนาวนี้ ซึ่งจะทำให้เชื้อเพลิงแห้งและมักจะนำไปสู่การเริ่มต้นฤดูไฟในปีหน้าเร็วกว่าปกติ” 

ภูมิศาสตร์และทรัพยากรที่มีจำกัดกลายเป็นปัจจัยที่ ‘ขัดขวาง’ การดับเพลิง

https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/5fHZDUg7MfAL1Ql0sjMS3E/f7271da2638a3c56058c284ebe2818be/why-wildfire-hawaii-spreading-fast-despite-next-to-the-sea-SPACEBAR-Photo03
Photo: Richard Olsten / AFP
ด้วยความที่สภาพทางภูมิศาสตร์ของฮาวายนั้นเป็นหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก ประกอบกับทรัพยากรในการดับเพลิงที่จำกัดก็ยิ่งทำให้เกิดความยุ่งยากมากขึ้น 

เว็บไซต์หน่วยงานไฟป่าของฮาวายระบุว่า บุคลากรของกองป่าไม้และสัตว์ป่าของรัฐส่วนใหญ่จะเป็นผู้จัดการทรัพยากรธรรมชาติ รวมถึงนักป่าไม้ นักชีววิทยา และช่างเทคนิค ซึ่งพวกเขาไม่ใช่นักดับเพลิงป่าเต็มเวลา  

“เมาวีตะวันตกเป็นตัวอย่างที่สมบูรณ์แบบ ทางหลวงเส้นเดียวผ่านทั่วทั้งสถานที่…ทรัพยากรของเรามีจำกัดเฉพาะสิ่งที่มีอยู่บนเกาะ ถ้าคุณเปรียบเทียบกับแผ่นดินใหญ่น่าจะมีนักผจญเพลิง 2-3 พันคน”  

“นั่นทำให้คุณเข้าใจถึงข้อจำกัดแบบ … ที่เรามีอยู่ที่นี่ ไฟไหม้ตอนนี้ ฉันรับรองเลย ใครก็ตามที่พร้อมจะตอบสนองก็ตอบสนอง เราไม่มีความสามารถที่จะนำทรัพยากรจากรัฐอื่นมาใช้ได้อย่างแน่นอน นั่นไม่ได้เกิดขึ้น” คลาวเออร์นิชกล่าว 

แม้จะมีคำเตือน แต่ดูเหมือนว่าหลายคนจะประหลาดใจ

“เราคาดว่าจะมีลมแรงและสภาพอากาศที่แห้ง แต่การจัดการเชื้อเพลิงในระดับที่เราต้องการนั้นไม่เป็นไปตามคาด เนื่องจากสิ่งเหล่านี้ต้องดำเนินการอย่างน้อยหลายเดือนก่อนเกิดไฟไหม้ นอกจากนี้ เราจำเป็นต้องมีการวางแผนระยะยาว…” 

“นี่คือสิ่งที่เราพูดกันมานานหลายทศวรรษ เราสามารถสร้างภูมิประเทศที่มีโอกาสถูกเผาไหม้ให้น้อยลงได้” คลาวเออร์นิชกล่าวทิ้งท้าย 

เรื่องเด่นประจำสัปดาห์