เว็บไซต์ซีเอ็นบีซี นำเสนอรายงานเกี่ยวกับอุตสาหกรรมอุ้มบุญทั่วโลกที่กำลังเติบโตอย่างมาก โดยในสองประเทศนี้มีผู้หญิงจำนวนมากหันมายึดอาชีพรับจ้างตั้งท้อง เพราะรายได้ดี ทำแล้วคุ้ม มีความปลอดภัยเพียงพอ โดยมีกลุ่มลูกค้าเป็นคู่สามีภรรยาที่มีปัญหามีลูกยาก คู่รัก LGBT และคู่ที่ต้องการมีลูกไว้สืบสกุล
อุตสาหกรรมอุ้มบุญที่กำลังเติบโตอย่างไม่หยุดยั้ง กระจายตัวอยู่ในหลายประเทศ รวมทั้งประเทศจอร์เจีย และเม็กซิโก โดยในปี 2022 อุตสาหกรรมการอุ้มบุญเชิงพาณิชย์ทั่วโลกเติบโตมากมีมูลค่าประมาณ 14,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และคาดการณ์ว่าภายในปี 2032 ธุรกิจนี้จะขยายตัวต่อไปอีก มีมูลค่าประมาณ 129,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
หนึ่งในผู้รู้จริงเกี่ยวกับอุตสาหกรรมนี้อย่างผู้ที่ใช้ชื่อว่า ดิลารา จากกรุงทบิลิซี ประเทศจอร์เจีย ที่ทำงานหลายอย่าง ตั้งแต่ช่างทำผม ช่างทำรองเท้าไปจนถึงพนักงานเสิร์ฟ ยืนยันว่ามีเพียงงานเดียวที่เธอคิดว่ามีความน่าดึงดูดใจให้ทำมากที่สุด นั่นคือการรับจ้างตั้งครรภ์ให้แก่คู่สามี-ภรรยาที่ต้องการลูก
ดิลาราวัย 34 ปี เป็นแม่ม่ายลูกสี่ โดยเธอทิ้งลูกๆ ไว้ให้พ่อแม่เลี้ยงในอุซเบกิสถานตั้งแต่ปีที่แล้ว และหันมาเอาดีด้วยการทำอาชีพรับตั้งครรภ์
“ฉันเป็นหนี้ธนาคารที่เกิดจากการกู้เงินมาใช้จ่าย และลูกสี่คนของฉันกำลังกิน กำลังใช้ คุณคงเข้าใจดีว่าเป็นอย่างไร ฉันต้องรับผิดชอบชีวิตความเป็นอยู่ของพวกเขาทั้งหมด จึงทำให้ฉันอยากเป็นคุณแม่อุ้มบุญเพื่อให้มีรายได้เพียงพอ” ดิลารากล่าว
ตามปกติแล้วการอุ้มบุญแบ่งเป็น 2 ประเภทคือ ประเภทที่เรียกว่า Traditional Surrogacy หมายถึง แม่อุ้มบุญที่ตั้งครรภ์โดยการฉีดสเปิร์มไม่ว่าจะเป็นของสามีคู่นั้น หรือที่รับบริจาคมาเข้าไปในมดลูก หรือผสมไข่ของแม่อุ้มบุญกับสเปิร์มในหลอดแก้วก่อนที่จะฉีดเข้าไปในมดลูก ลูกที่ออกมาจะมีพันธุกรรมของแม่อุ้มบุญปนอยู่ด้วย
และประเภทที่ 2 คือการอุ้มบุญประเภท Gestational Surrogacy หมายถึง แม่อุ้มบุญที่ตั้งครรภ์โดยนำไข่กับสเปิร์มที่ผสมแล้วใส่เข้าไปในมดลูก ลูกที่ออกมาจะไม่มีพันธุกรรมที่เกี่ยวข้องกับแม่อุ้มบุญเลย
การอุ้มบุญไม่ใช่เรื่องใหม่และมีการถกเถียงกันมาเยอะทั้งในมิติของศีลธรรม ความเหมาะสม และในมิติของกฏหมาย เช่นในสหรัฐฯ มีบางรัฐที่มีกฎหมายอนุญาตให้มีดำเนินการได้อย่างเสรี เช่น รัฐอาร์คันซอ รัฐแคลิฟอร์เนีย รัฐอิลลินอยส์ รัฐเทกซัส รัฐแมสซาชูเซตส์
ส่วนรัฐนิวยอร์ก รัฐนิวเจอร์ซี รัฐอลาสกา และรัฐนิวเม็กซิโก รัฐโอเรกอน รัฐวอชิงตัน มีกฎหมายอนุญาตให้ทำได้เฉพาะเพื่อมนุษยธรรมเท่านั้น
ขณะที่ในแคนาดาและสหราชอาณาจักร อนุญาติให้ทำได้เฉพาะที่เป็นการอุ้มบุญเพื่อมนุษยธรรมเช่นกัน แต่ในจอร์เจีย ยูเครนและรัสเซียอนุญาตให้ทำได้อย่างถูกกฏหมาย จึงทำให้อุตสาหกรรมการอุ้มบุญในประเทศเหล่านี้เติบโตอย่างก้าวกระโดด
อุตสาหกรรมอุ้มบุญที่กำลังเติบโตอย่างไม่หยุดยั้ง กระจายตัวอยู่ในหลายประเทศ รวมทั้งประเทศจอร์เจีย และเม็กซิโก โดยในปี 2022 อุตสาหกรรมการอุ้มบุญเชิงพาณิชย์ทั่วโลกเติบโตมากมีมูลค่าประมาณ 14,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และคาดการณ์ว่าภายในปี 2032 ธุรกิจนี้จะขยายตัวต่อไปอีก มีมูลค่าประมาณ 129,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
หนึ่งในผู้รู้จริงเกี่ยวกับอุตสาหกรรมนี้อย่างผู้ที่ใช้ชื่อว่า ดิลารา จากกรุงทบิลิซี ประเทศจอร์เจีย ที่ทำงานหลายอย่าง ตั้งแต่ช่างทำผม ช่างทำรองเท้าไปจนถึงพนักงานเสิร์ฟ ยืนยันว่ามีเพียงงานเดียวที่เธอคิดว่ามีความน่าดึงดูดใจให้ทำมากที่สุด นั่นคือการรับจ้างตั้งครรภ์ให้แก่คู่สามี-ภรรยาที่ต้องการลูก
ดิลาราวัย 34 ปี เป็นแม่ม่ายลูกสี่ โดยเธอทิ้งลูกๆ ไว้ให้พ่อแม่เลี้ยงในอุซเบกิสถานตั้งแต่ปีที่แล้ว และหันมาเอาดีด้วยการทำอาชีพรับตั้งครรภ์
“ฉันเป็นหนี้ธนาคารที่เกิดจากการกู้เงินมาใช้จ่าย และลูกสี่คนของฉันกำลังกิน กำลังใช้ คุณคงเข้าใจดีว่าเป็นอย่างไร ฉันต้องรับผิดชอบชีวิตความเป็นอยู่ของพวกเขาทั้งหมด จึงทำให้ฉันอยากเป็นคุณแม่อุ้มบุญเพื่อให้มีรายได้เพียงพอ” ดิลารากล่าว
ตามปกติแล้วการอุ้มบุญแบ่งเป็น 2 ประเภทคือ ประเภทที่เรียกว่า Traditional Surrogacy หมายถึง แม่อุ้มบุญที่ตั้งครรภ์โดยการฉีดสเปิร์มไม่ว่าจะเป็นของสามีคู่นั้น หรือที่รับบริจาคมาเข้าไปในมดลูก หรือผสมไข่ของแม่อุ้มบุญกับสเปิร์มในหลอดแก้วก่อนที่จะฉีดเข้าไปในมดลูก ลูกที่ออกมาจะมีพันธุกรรมของแม่อุ้มบุญปนอยู่ด้วย
และประเภทที่ 2 คือการอุ้มบุญประเภท Gestational Surrogacy หมายถึง แม่อุ้มบุญที่ตั้งครรภ์โดยนำไข่กับสเปิร์มที่ผสมแล้วใส่เข้าไปในมดลูก ลูกที่ออกมาจะไม่มีพันธุกรรมที่เกี่ยวข้องกับแม่อุ้มบุญเลย
การอุ้มบุญไม่ใช่เรื่องใหม่และมีการถกเถียงกันมาเยอะทั้งในมิติของศีลธรรม ความเหมาะสม และในมิติของกฏหมาย เช่นในสหรัฐฯ มีบางรัฐที่มีกฎหมายอนุญาตให้มีดำเนินการได้อย่างเสรี เช่น รัฐอาร์คันซอ รัฐแคลิฟอร์เนีย รัฐอิลลินอยส์ รัฐเทกซัส รัฐแมสซาชูเซตส์
ส่วนรัฐนิวยอร์ก รัฐนิวเจอร์ซี รัฐอลาสกา และรัฐนิวเม็กซิโก รัฐโอเรกอน รัฐวอชิงตัน มีกฎหมายอนุญาตให้ทำได้เฉพาะเพื่อมนุษยธรรมเท่านั้น
ขณะที่ในแคนาดาและสหราชอาณาจักร อนุญาติให้ทำได้เฉพาะที่เป็นการอุ้มบุญเพื่อมนุษยธรรมเช่นกัน แต่ในจอร์เจีย ยูเครนและรัสเซียอนุญาตให้ทำได้อย่างถูกกฏหมาย จึงทำให้อุตสาหกรรมการอุ้มบุญในประเทศเหล่านี้เติบโตอย่างก้าวกระโดด

ความต้องการแม่อุ้มบุญที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่องในตลาดโลก ส่วนหนึ่งเป็นเพราะปัญหาการมีบุตรยากของคู่สามี-ภรรยา ที่มีมากขึ้น การแต่งงานของคนเพศเดียวกันที่เพิ่มมากขึ้น และผู้คนยุคใหม่ที่นิยมอยู่เป็นโสดกันมากขึ้นแต่ก็อยากมีทายาทไว้สืบสกุล
บรรดาพ่อแม่ หรือคู่สามี-ภรรยาที่มีฐานะดีเป็นฟันเฟืองหลักขับเคลื่อนให้อุตสาหกรรมอุ้มบุญขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะประชากรในซีกโลกตะวันตก ที่นิยมเดินทางไปใช้บริการนี้ในประเทศอื่นที่มีต้นทุนการให้บริการอุ้มบุญถูกกว่า และถูกกฏหมาย ส่วนการเปิดพรมแดนของหลายประเทศจากเดิมที่เข้มงวดด้านการเคลื่อนย้ายของผู้คนเพราะการระบาดของโรคโควิด-19 ก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่สนุนให้ธุรกิจอุ้มบุญเติบโตอย่างรวดเร็ว
“ช่วงที่โรคโควิด-19 ระบาดจะเห็นว่าธุรกิจบริการอุ้มบุญในตลาดโลกซบเซาไปเยอะ แต่ตอนนี้เราจะเห็นว่ามีความต้องการเพิ่มขึ้นและธุรกิจนี้ก็กลับมาบูมอีกครั้ง” แซม อีเวอร์ริงแฮม ผู้เชี่ยวชาญด้านการอุ้มบุญซึ่งดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการ Growing Families กลุ่มสนับสนุนการอุ้มบุญ ซึ่งมีฐานดำเนินงานอยู่ในซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย กล่าว
บรรดาพ่อแม่ หรือคู่สามี-ภรรยาที่มีฐานะดีเป็นฟันเฟืองหลักขับเคลื่อนให้อุตสาหกรรมอุ้มบุญขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะประชากรในซีกโลกตะวันตก ที่นิยมเดินทางไปใช้บริการนี้ในประเทศอื่นที่มีต้นทุนการให้บริการอุ้มบุญถูกกว่า และถูกกฏหมาย ส่วนการเปิดพรมแดนของหลายประเทศจากเดิมที่เข้มงวดด้านการเคลื่อนย้ายของผู้คนเพราะการระบาดของโรคโควิด-19 ก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่สนุนให้ธุรกิจอุ้มบุญเติบโตอย่างรวดเร็ว
“ช่วงที่โรคโควิด-19 ระบาดจะเห็นว่าธุรกิจบริการอุ้มบุญในตลาดโลกซบเซาไปเยอะ แต่ตอนนี้เราจะเห็นว่ามีความต้องการเพิ่มขึ้นและธุรกิจนี้ก็กลับมาบูมอีกครั้ง” แซม อีเวอร์ริงแฮม ผู้เชี่ยวชาญด้านการอุ้มบุญซึ่งดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการ Growing Families กลุ่มสนับสนุนการอุ้มบุญ ซึ่งมีฐานดำเนินงานอยู่ในซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย กล่าว

การเติบโตของธุรกิจอุ้มบุญมีขึ้นในช่วงที่มีผลการวิจัยของมหาวิทยาลัยวอชิงตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา ที่บ่งชี้ว่า จำนวนประชากรทั่วโลกมีแนวโน้มจะเพิ่มสูงขึ้นแตะระดับสูงสุดในอีก 44 ปีข้างหน้า จากที่ในปัจจุบันมีประชากรโลกราว 7.9 พันล้านคน และจะเพิ่มขึ้นอยู่ที่ 9.7 พันล้านคน ก่อนจะเกิดเหตุการณ์ที่ทำให้อัตราประชากรลดฮวบลงเกือบ 900 ล้านคน ภายในปี 2100 หรืออีก 80 ปีข้างหน้า ส่งผลให้จำนวนประชากรทั่วโลกเหลือเพียง 8.8 พันล้านคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในทวีปเอเชียตะวันออกและทวีปยุโรป ที่ประชากรจะลดลงกว่าครึ่งเนื่องจากคนสมัยใหม่ไม่ต้องการมีลูก
รายงานวิเคราะห์ชิ้นนี้ ระบุว่า โอกาสทางการศึกษาที่สูงขึ้น สังคมที่เปิดกว้างสำหรับเพศหญิงมากขึ้น เป็นปัจจัยสำคัญทำให้เพศหญิงไม่จำเป็นต้องรับหน้าที่แม่บ้าน คอยดูแลลูกๆ อีกต่อไป แต่สามารถทำงานต่างๆ ได้อย่างเท่าเทียมกับผู้ชาย จึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องพึ่งพาสามีให้เลี้ยงดูอีกต่อไป
นอกจากนี้ ปัญหาเศรษฐกิจในบางประเทศยังเป็นสาเหตุหลักทำให้คนไม่อยากมีลูกอีกต่อไป เพราะเกรงว่าลูกๆ จะเติบโตขึ้นมาในสภาพสังคมที่ไม่เหมาะกับการเจริญเติบโต สืบเนื่องจากการบริหารที่ล้มเหลวของรัฐบาล
ตอนนี้มีหลายประเทศที่มีอัตราการเกิดของประชากรต่ำกว่าเกณฑ์อยู่แล้ว เช่น แคนาดา สหรัฐฯ บราซิล ออสเตรเลีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศในแถบยุโรป ซึ่งในอนาคตอีกไม่กี่สิบปี ประชากรสูงอายุในประเทศเหล่านี้จะค่อยๆ ตายไป แต่ประชากรเกิดใหม่กลับไม่มีขึ้นมาทดแทน ซึ่งรายงานวิจัยชิ้นนี้บ่งชี้ว่า จะมีประเทศถึง 23 ประเทศทั่วโลกที่ต้องเผชิญกับปัญหาดังกล่าว และไทยก็เป็นหนึ่งในประเทศเหล่านี้
รายงานวิเคราะห์ชิ้นนี้ ระบุว่า โอกาสทางการศึกษาที่สูงขึ้น สังคมที่เปิดกว้างสำหรับเพศหญิงมากขึ้น เป็นปัจจัยสำคัญทำให้เพศหญิงไม่จำเป็นต้องรับหน้าที่แม่บ้าน คอยดูแลลูกๆ อีกต่อไป แต่สามารถทำงานต่างๆ ได้อย่างเท่าเทียมกับผู้ชาย จึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องพึ่งพาสามีให้เลี้ยงดูอีกต่อไป
นอกจากนี้ ปัญหาเศรษฐกิจในบางประเทศยังเป็นสาเหตุหลักทำให้คนไม่อยากมีลูกอีกต่อไป เพราะเกรงว่าลูกๆ จะเติบโตขึ้นมาในสภาพสังคมที่ไม่เหมาะกับการเจริญเติบโต สืบเนื่องจากการบริหารที่ล้มเหลวของรัฐบาล
ตอนนี้มีหลายประเทศที่มีอัตราการเกิดของประชากรต่ำกว่าเกณฑ์อยู่แล้ว เช่น แคนาดา สหรัฐฯ บราซิล ออสเตรเลีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศในแถบยุโรป ซึ่งในอนาคตอีกไม่กี่สิบปี ประชากรสูงอายุในประเทศเหล่านี้จะค่อยๆ ตายไป แต่ประชากรเกิดใหม่กลับไม่มีขึ้นมาทดแทน ซึ่งรายงานวิจัยชิ้นนี้บ่งชี้ว่า จะมีประเทศถึง 23 ประเทศทั่วโลกที่ต้องเผชิญกับปัญหาดังกล่าว และไทยก็เป็นหนึ่งในประเทศเหล่านี้