วิจัยชี้คนส่วนใหญ่ไม่รู้ความหมาย ‘อิโมจิ’ ที่ส่งหากันทุกวันว่ารู้สึกยังไงแน่?

22 กุมภาพันธ์ 2567 - 05:51

would-you-know-what-these-emojis-mean-study-finds-SPACEBAR-Hero.jpg
  • การศึกษาพบว่า “ผู้คนตีความความหมายบนใบหน้าของ ‘อิโมจิ’ แตกต่างกันออกไปโดยขึ้นอยู่กับเพศ วัฒนธรรม และอายุ”

  • ผู้หญิงระบุอารมณ์อิโมจิได้ดีกว่าผู้ชาย เพราะมี ‘ความไวต่ออารมณ์ความรู้สึก’ มากกว่า ซึ่งนักวิจัยตั้งข้อสังเกตว่าทักษะการดูแลเด็กทำให้พวกเธอได้เปรียบ

หลายๆ ครั้งที่เราแชทคุยกันไม่ว่าจะบนโซเชียลแพลตฟอร์มไหนๆ อย่าง อินสตาแกรม เฟซบุ๊ก ไลน์ หรือ ทวิตเตอร์ เราก็มักจะส่ง ‘อิโมจิ’ แทนความรู้สึกของเราเข้าไปด้วย แต่คุณรู้หรือไม่ว่าจริงๆ แล้วอิโมจิแต่ละหน้าเหล่านี้แท้จริงหมายความว่าอะไรกันแน่? อิโมจิหน้าแบบนี้กำลังโกรธ เศร้า หงุดหงิด หรือรู้สึกง่วงกันแน่? 

นักวิจัยขอให้ชายและหญิง 500 คนจากสหราชอาณาจักรและจีนระบุอารมณ์ที่แสดงอยู่บนใบหน้าไอคอนอิโมจิสีเหลืองซึ่งปรากฏในข้อความและโพสต์บนโซเชียลมีเดีย โดยผู้เข้าร่วมการศึกษาจะต้องพิจารณาอิโมจิที่แสดงใบหน้ามีความสุข รังเกียจ กลัว ความเศร้า ประหลาดใจ และโกรธ

ผลการศึกษาพบว่า “ผู้ชายต้องพยายามทำความเข้าใจความหมายของใบหน้าอีโมจิอย่างมาก เนื่องจากพวกเขามี ‘ความไวต่อความรู้สึก’ น้อยกว่าผู้หญิง และเป็นผู้หญิงที่ทำได้ดีกว่า นั่นอาจเป็นเพราะว่าผู้หญิงมี ‘ความไวต่อการรับรู้อารมณ์’ ของเด็กทารกมากกว่า”

อี้หัว เฉิน จากมหาวิทยาลัยนอตติงแฮมกล่าวว่า “ผู้หญิงมีความแม่นยำในการจดจำอารมณ์ได้สูงกว่าผู้ชาย” คำอธิบายที่เป็นไปได้ประการหนึ่งคือ ‘สมมติฐานผู้ปกครองปฐมวัย / การเลี้ยงเด็ก’ “การระบุอารมณ์ของทารกที่แม่นยำและรวดเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งการแสดงออกทางสีหน้าถือเป็นส่วนสำคัญมากในการดูแลทารก เนื่องจากโดยทั่วไปแล้ว อัตราการตายของทารกจะสูงตลอดวิวัฒนาการของมนุษย์” 

ใบหน้าแสดงความรู้สึก ‘รังเกียจ’ ดูยากที่สุด?

would-you-know-what-these-emojis-mean-study-finds-SPACEBAR-Photo01.jpg

การศึกษาพบว่าคนอังกฤษจดจำใบหน้า ‘รังเกียจ’ ได้ยากขึ้น อาจเป็นเพราะชาวอังกฤษเก็บอารมณ์เก่งจึงมักไม่ค่อยแสดงอารมณ์นั้นออกมา และเก็บความไม่พอใจนั้นไว้ 

โดยทั่วไปแล้ว ชาวตะวันตกทำแบบทดสอบนี้ได้ดีกว่าชาวจีนในการจดจำอารมณ์อิโมจิ แต่กับใบหน้าที่แสดงความรู้สึก ‘รังเกียจ’ ซึ่งเป็นใบหน้าที่มีปากสั่น คิ้วขมวด และหลับตาปี๋ นักวิจัยกล่าวว่า “นี่อาจเป็นเพราะประสบการณ์ทางอารมณ์ที่เฉพาะเจาะจงในวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน” พวกเขายังตั้งข้อสังเกตอีกว่าในประเทศจีน ใบหน้าอิโมจิ ‘ยิ้ม’ มักถูกใช้เพื่อแสดงถึงอารมณ์อื่นๆ นอกเหนือจาก ‘ความสุข’  

ขณะเดียวกัน สหราชอาณาจักรก็เป็นหนึ่งในประเทศที่ชอบส่งอิโมจิมากที่สุดในโลก อีกทั้งยังได้รับความนิยมในทุกกลุ่มอายุ โดยมีความแตกต่างกันเล็กน้อยระหว่างแต่ละรุ่น นอกจากนี้ นักวิจัยยังพบว่าโพสต์ภาษาอังกฤษบน X ก็เต็มไปด้วยอิโมจิเช่นกัน ซึ่งมากกว่าบนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียเวยป๋อของจีน 

เมื่อปี 2015 พจนานุกรม Oxford กำหนดให้อิโมจิ ‘ร้องไห้พร้อมเสียงหัวเราะ’ เป็น ‘คำศัพท์แห่งปี’

“ตัวอักษรแบบดั้งเดิมกำลังต่อสู้กับเพื่อให้ทันกับความต้องการการสื่อสารแห่งศตวรรษที่ 21 ที่รวดเร็วและเน้นเป็นภาพ…ไม่น่าแปลกใจเลยที่สคริปต์ภาพอย่างอิโมจิได้เข้ามาเติมเต็มช่องว่างเหล่านั้น มันยืดหยุ่น รวดเร็ว และแทรกโทนได้อย่างสวยงาม…อิโมจิกำลังกลายเป็นรูปแบบการสื่อสารที่สมบูรณ์ยิ่งขึ้น ซึ่งเป็นรูปแบบที่ก้าวข้ามขอบเขตทางภาษา”

แคสเปอร์ กราทโวห์ล รองประธานสำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ดกล่าวในเวลานั้น

เรื่องเด่นประจำสัปดาห์