สุดท้ายเซเลนสกีจะกลับมาหาทรัมป์เพื่อลงนามข้อตกลงแร่แรร์เอิร์ธ

3 มี.ค. 2568 - 08:26

  • หลังจากดีลแร่ธาตุกับสหรัฐฯ ล่ม หนทางสู้การเจรจาสงบศึกที่จะปูทางไปสู่การยุติสงครามรัสเซีย-ยูเครนจะยิ่งไม่แน่นอนมากขึ้น

  • เซเลนสกีเผยกับสำนักข่าว Fox News โดยยอมรับว่าคง “ยาก” สำหรับยูเครนที่จะหยุดยั้งกองกำลังรัสเซียที่รุกรานโดยไม่ได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐฯ

zelensky-ukraine-come-back-to-the-table-sign-minerals-deal-with-us -SPACEBAR-Hero.jpg

หลังจากมีคลิปการปะทะคารมณ์กันระหว่างประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ และรองประธานาธิบดี เจ.ดี. แวนซ์ กับประธานาธิบดี โวโลดิมีร์ เซเลนสกี ของยูเครน ที่แม้นักวิเคราะห์จะบอกว่าไม่ใช่เรื่องเหนือความคาดหมายแต่ก็ทำเอาหลายคนช็อกไปตามๆ กัน ดูเหมือนว่าหลังจากนี้หนทางสู้การเจรจาสงบศึกที่จะปูทางไปสู่การยุติสงครามรัสเซีย-ยูเครนจะยิ่งไม่แน่นอนมากขึ้น และขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของผู้นำยูเครนทั้งหมด 

โวโลดิมีร์ เฟเซนโก นักวิเคราะห์ด้านการเมืองชาวยูเครนเผยกับสำนักข่าว AFP ว่า ความเคลื่อนไหวหลายอย่างภายใต้รัฐบาลทรัมป์ที่ส่งสัญญาณว่า รอยร้าวแบบนี้จะเกิดขึ้นแน่นอน

“ทั้งหมดนี้แสดงให้เห็นว่ารอยร้าวนี้ การปะทะอารมณ์นี้จะ

ต้องเกิดขึ้นแน่นอน ไม่ช้าก็เร็ว” โวโลดิมีร์ เฟเซนโก นักวิเคราะห์ด้านการเมืองชาวยูเครน

ประธานาธิบดีทรัมป์วิพากษ์วิจารณ์การความช่วยเหลือทางทหารมูลค่าหลายพันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ไปให้ยูเครนมาตลอด และประกาศตอนหาเสียงว่าจะทำให้สงครามรัสเซีย-ยูเครนยุติให้เร็วที่สุดหลังเจ้าตัวเข้ารับตำแหน่ง 

แต่หลังจากเซเลนสกีถูกเชิญออกจากทำเนียบขาวแบบมือเปล่า เจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหารสหรัฐฯ หลายคนก็เริ่ม “ไม่แน่ใจ” ว่าหลังจากนี้กระบวนการสันติภาพจะเดินไปทางไหน และไม่แน่ใจว่าเซเลนสกีจะทำอะไรได้บ้างเพื่อโน้มน้าวให้ทรัมป์ยอมกลับมาเจรจากับตัวเองอีกครั้ง นอกจากการเปลี่ยนทัศนคติต่อตัวทรัมป์โดยสิ้นเชิง เจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหารสหรัฐฯ ยังบอกว่า ทรัมป์ยังไม่มั่นใจว่าเซเลนสกีต้องการยุติสงครามจริงๆ  

“เขา (เซเลนสกี) ยังไม่ตระหนักรู้ถึงความจริงที่ว่ามีความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นหลังการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 6 พ.ย.” เจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหารสหรัฐฯ พูดถึงเซเลนสกี 

เมื่อถูกถามว่ายังเป็นไปได้หรือไม่ที่สหรัฐฯ จะทำงานร่วมกับเซเลนสกีเพื่อให้บรรลุข้อตกลงสันติภาพ เจ้าหน้าที่อีกรายหนึ่งเผยว่า “ ใช่ ยังเป็นไปได้” 

เจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหารสหรัฐฯ หลายคนเผยว่า เจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหารระดับสูงของสหรัฐฯ เชื่อว่า การเจรจาสันติภาพกับยูเครนถูกระงับไว้

“ประธานาธิบดีเซเลนสกีต้องตัดสินใจว่าจะทำอย่างไรต่อ ประธานาธิบดี (ทรัมป์) เชื่อว่าเซเลนสกีจะกลับมาเจรจาต่อ และเขาต้องเป็นคนที่กลับมาแก้ไขให้ถูกต้อง”

เจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหารรายหนึ่งระบุ

ในเวลาต่อมาทรัมป์เองก็โพสต์ลงใน Truth Social ว่า “เขากลับมาได้เมื่อเขาพร้อมสำหรับสันติภาพ” 

ไบรอัน ฟินูเคน ที่ปรึกษาอาวุโสจาก International Crisis Group (ICG) เผยว่า อะไรจะเกิดขึ้นต่อไปนั้นยังไม่ชัดเจน แต่อาจส่งผลเสียต่อยูเครนได้

“มีข่าวลือจากฝ่ายบริหารว่าอาจลดการขนส่งอาวุธซึ่งปัจจุบันอยู่ในขั้นตอนการดำเนินการภายใต้อำนาจการของประธานาธิบดีไปยังยูเครน”

เจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหารรายหนึ่งเผย

อาวุธเหล่านั้นอนุมัติโดยรัฐบาลอดีตประธานาธิบดี โจ ไบเดน ก่อนที่จะลงจากตำแหน่งไม่นาน

zelensky-ukraine-come-back-to-the-table-sign-minerals-deal-with-us -SPACEBAR-Photo01.jpg
Photo: (จากซ้ายไปขวา) ปธน. เซเลนสกี นายกรัฐมนตรีสตาเมอร์ของอังกฤษ และปธน.มาครงของฝรั่งเศส หลังการประชุมสุดยอดผู้นำยุโรปกรณีสงครามยูเครน-รัสเซียที่กรุงลอนดอนเมื่อวันที่ 2 มี.ค. Photo by JUSTIN TALLIS / POOL / AFP

ด้านเซเลนสกีเผยกับสำนักข่าว Fox News ของสหรัฐฯ หลังการเจรจากับทรัมป์ที่ทำเนียบขาวโดยยอมรับว่าคง “ยาก” สำหรับยูเครนที่จะหยุดยั้งกองกำลังรัสเซียที่รุกรานโดยไม่ได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐฯ และว่า อย่างไรก็ตาม เขาเชื่อว่าความสัมพันธ์ของยูเครนกับสหรัฐฯ สามารถกอบกู้ขึ้นมาใหม่ได้ แต่เซเลนสกีต้องการให้ทรัมป์ “อยู่ข้างพวกเรามากขึ้น” 

และดูเหมือนว่า เซเลนสกีพยายามส่งสัญญาณบางอย่างไปที่ทรัมป์ โดยระหว่างเดินทางเยือนอังกฤษเพื่อเจรจากับนายกรัฐมนตรี เคียร์ สตาเมอร์ ว่า แม้ว่าการเจรจาที่ห้องทำงานรูปไข่เมื่อวันศุกร์ (28 ก.พ.) จะเกิดการโต้เถียงกัน แต่ยูเครนยัง “พร้อมลงนาม” ข้อตกลงแร่ธาตุกับสหรัฐฯ

“หากเราตกลงกันว่าจะลงนามข้อตกลง จากฝั่งเราเราพร้อมลงนาม และผมคิดว่าสหรัฐฯ ก็พร้อมเช่นกัน บางทีพวกเขาอาจต้องการเวลาเพื่อวิเคราะห์บางอย่าง...ผมแค่ต้องการให้ทุกคนรู้จุดยืนของยูเครน...เราต้องการให้คู่สัญญาของเราจำไว้ว่าใครคือผู้รุกรานในสงครามนี้”

เซเลนสกีเผยกับผู้สื่อข่าวในกรุงลอนดอนเมื่อวันอาทิตย์ผ่านล่ามหลังประชุมกับผู้นำยุโรป

หลังประชุมสุดยอดกับบรรดาผู้นำยุโรปในกรุงลอนดอนเมื่อวันอาทิตย์ (2 ม.ค.) เซเลนสกีเผยว่า การโต้เถียงกันระหว่างการพบปะในกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ไม่เป็นผลดีกับทั้งสหรัฐฯ และยูเครน ซึ่งเป็นหุ้นส่วนกัน มีแต่จะเป็นผลดีกับประธานาธิบดี วลาดิมีร์ ปูติน ของรัสเซีย และย้ำว่า จะกลับไปทำเนียบขาวหากได้รับเชิญ 

ผู้นำยูเครนย้ำว่า การหารือกันครั้งหน้าควรเป็นความลับ ไม่คุยต่อหน้าสาธารณชน “ผมคิดว่ามันไม่ถูกต้องที่การหารือแบบนี้เกิดขึ้นต่อหน้าสาธารณชน รูปแบบของสิ่งที่เกิดขึ้น ผมไม่คิดว่ามันจะนำสิ่งที่ดีหรือสิ่งใดเพิ่มเติมมาสู่เราในฐานะหุ้นส่วน” 

Photo by WIN MCNAMEE / GETTY IMAGES NORTH AMERICA / Getty Images via AFP

เรื่องเด่นประจำสัปดาห์