นาทีนี้คงไม่ต้องถามแล้วว่า คนกังวลกับการมาถึงเอไอหรือเปล่า เพราะกราฟชีพจรความสนใจ (Interest over time) ของคนทั่วโลกตอนนี้ (30 มิถุนายน) บ่งชี้ชัดเจนว่า มนุษย์กำลังกังวลว่า เอไอจะเข้ามาทดแทนอาชีพที่ทำอยู่มากขึ้นทุกวัน

ทว่าความกังวลของมนุษย์ที่มีเครื่องจักรไม่ใช่เรื่องใหม่ เคยเกิดขึ้นมาหลายครั้งหลายหนแล้ว ตั้งแต่โลกเข้าสู่ยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมราว 200 ปีก่อน (อ่านเพิ่มเติม 200 ปีแห่งความหวั่นวิตก เมื่อจักรกลแย่งงานมนุษย์)
ทุกครั้งที่มีเทคโนโลยีใหม่ การเปลี่ยนแปลงจะเกิดขึ้น งานบางอย่างของมนุษย์จะหายไป แต่ขณะเดียวกันก็จะมีงานใหม่เกิดขึ้นมาเสมอ แต่ถึงอย่างนั้น...
ทุกครั้งที่มีเทคโนโลยีใหม่ การเปลี่ยนแปลงจะเกิดขึ้น งานบางอย่างของมนุษย์จะหายไป แต่ขณะเดียวกันก็จะมีงานใหม่เกิดขึ้นมาเสมอ แต่ถึงอย่างนั้น...

คุณกังวลว่าเอไอจะมาแย่งงานที่รักอยู่ใช่ไหม
สำหรับคนที่กังวลว่าเอไอจะเข้ามาทดแทนงานที่ทำอยู่ (ซึ่งอาจหมายรวมถึง 'คุณค่าในชีวิต') แน่นอน ข่าวและคอนเทนต์จำนวนมากเวลานี้กำลังประโคมให้เรารู้สึกเช่นนั้น พร้อมตอกย้ำให้รู้สึกมากขึ้น เมื่อเอไอโชว์ให้เห็นว่าพวกมันเก่งมากขึ้นทุกวันแต่ข้อเขียนชิ้นนี้อยากชวนมองความจริงอีกด้าน และคาดว่าคงช่วยให้หลายคนคลายกังวลไปได้บ้าง เพราะ 'นายทุนจะไม่มีวันยอมให้มนุษย์ตกงานไปตลอดกาลอย่างเด็ดขาด' เพราะนั่นหมายถึงหายนะของพวกเขาเช่นกัน

นี่ไม่ใช่คำปลอบใจ แต่เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นจริงใน ‘สังคมตลาด’ ของโลกทุนนิยมที่เสกทุกสิ่งให้มีมูลค่า ซื้อขาย โดยมีเป้าหมายสูงสุดคือกำไร
เพราะถ้าหากเอไอทดแทนงานของมนุษย์ส่วนใหญ่ ผู้บริโภคจำนวนมากจะหายไปจากระบบ โลกจะเต็มไปด้วยผู้ผลิตที่ไม่มีผู้ซื้อ หรือผู้ซื้อก็มีน้อยเกินกว่าที่ผู้ผลิตจะอยู่ได้ เมื่อถึงตอนนั้นระบบเศรษฐกิจจะพัง สุดท้ายนายทุนหรือผู้ประกอบการก็ต้องกลับมาจ้างแรงงานอีกครั้ง
ข้างต้นเป็นการอธิบายอย่างรวบรัด ถ้าใครยังไม่รู้สึกคลายกังวล หวังว่าบรรทัดต่อจากนี้น่าจะช่วยอธิบายรายละเอียดให้เห็นภาพมากขึ้น...
เพราะถ้าหากเอไอทดแทนงานของมนุษย์ส่วนใหญ่ ผู้บริโภคจำนวนมากจะหายไปจากระบบ โลกจะเต็มไปด้วยผู้ผลิตที่ไม่มีผู้ซื้อ หรือผู้ซื้อก็มีน้อยเกินกว่าที่ผู้ผลิตจะอยู่ได้ เมื่อถึงตอนนั้นระบบเศรษฐกิจจะพัง สุดท้ายนายทุนหรือผู้ประกอบการก็ต้องกลับมาจ้างแรงงานอีกครั้ง
ข้างต้นเป็นการอธิบายอย่างรวบรัด ถ้าใครยังไม่รู้สึกคลายกังวล หวังว่าบรรทัดต่อจากนี้น่าจะช่วยอธิบายรายละเอียดให้เห็นภาพมากขึ้น...

วังวนสังคมตลาด เครื่องจักร กับความฝันลอยๆ
กฎข้อหนึ่งที่ต้องรู้ในสังคมตลาด ถ้าคุณคิดจะเริ่มต้นธุรกิจเป็น ‘ผู้ประกอบการ’ คุณจะถูกบีบให้ต้องก่อหนี้ ตั้งแต่ก่อนที่จะเริ่มทำธุรกิจ (หรือกระบวนการผลิต)ถ้าโชคร้าย ทำธุรกิจแล้วไม่เวิร์ค ไม่มีกำไร คุณก็จะติดหนี้ (กลายเป็นทาสของเจ้าหนี้)
วิธีที่จะได้ ‘กำไร’ คือเกิดจากการแข่งขันเพื่อดึงดูด ‘ลูกค้า’
วิธีที่จะได้ลูกค้า ต้องสร้างแรงจูงใจให้ลูกค้าอยากซื้อสินค้า ซึ่งขึ้นอยู่กับปัจจัยด้านคุณภาพและราคา
ถ้าคุณภาพไม่ต่างกันมาก ก็ต้องลดราคา แต่จะลดราคาสินค้าได้ ก็ต้องลดต้นทุน

ในโลกยุคหลังปฏิวัติอุตสาหกรรม การมีเทคโนโลยีหรือนวัตกรรมที่ดีกว่า จะสร้างข้อได้เปรียบทั้งด้าน ‘ราคา’ และอาจรวมถึง ‘คุณภาพ’
ดังนั้น เมื่อมีเทคโนโลยีใหม่ที่ทำให้ได้เปรียบคู่แข่ง ผู้ประกอบการก็จะรีบนำมันมาใช้ เพื่อชิงความได้เปรียบ แต่ไม่นานเทคโนโลยีนั้นก็จะแพร่หลายในอุตสาหกรรม ความได้เปรียบที่มีก็จะหมดไป
กระบวนการเช่นนี้เกิดขึ้นซ้ำไปซ้ำมา การแข่งขันเพื่อสร้างกำไรในสังคมตลาด ทำให้มนุษย์สะสมเครื่องจักรกลในการผลิตมากขึ้นเรื่อยๆ จนทุกวันนี้ ไม่มีแง่มุมไหนเลยที่เราไม่ได้ใช้งานเครื่องจักรกล
ดังนั้น เมื่อมีเทคโนโลยีใหม่ที่ทำให้ได้เปรียบคู่แข่ง ผู้ประกอบการก็จะรีบนำมันมาใช้ เพื่อชิงความได้เปรียบ แต่ไม่นานเทคโนโลยีนั้นก็จะแพร่หลายในอุตสาหกรรม ความได้เปรียบที่มีก็จะหมดไป
กระบวนการเช่นนี้เกิดขึ้นซ้ำไปซ้ำมา การแข่งขันเพื่อสร้างกำไรในสังคมตลาด ทำให้มนุษย์สะสมเครื่องจักรกลในการผลิตมากขึ้นเรื่อยๆ จนทุกวันนี้ ไม่มีแง่มุมไหนเลยที่เราไม่ได้ใช้งานเครื่องจักรกล

ตลกร้ายก็คือ ความคิดแรกเริ่มในวันที่มนุษย์คิดค้นเครื่องจักรได้ เราฝันว่าเครื่องจักรเหล่านั้นจะทำงานน่าเบื่อแทนเราทุกอย่าง แล้วมนุษย์ก็มีชีวิตอย่างสะดวกสบาย ในโลกที่ไม่มีคนต้องทำงานอีกต่อไป
แต่เราทุกคนก็รู้ว่า ความจริงไม่ได้เป็นเช่นนั้น... โลกดูเหมือนเลวร้ายยิ่งกว่าเดิม และมนุษย์ก็ทำงานหนักขึ้น
เครื่องจักรช่วยผลิตสินค้าได้มากขึ้นมหาศาลจริง แต่ไม่ได้ช่วยให้ความยากจน ความหิว ความเหลื่อมล้ำ งานที่น่าเบื่อ ความวิตกเกี่ยวกับความต้องการขั้นพื้นฐานในอนาคตหมดไป
และบางด้านเลวร้ายยิ่งกว่าเดิม มนุษย์เครียดมากขึ้น ความสุขเหือดหาย คนเป็นโรคซึมเศร้ามากขึ้นทุกวัน
แต่เราทุกคนก็รู้ว่า ความจริงไม่ได้เป็นเช่นนั้น... โลกดูเหมือนเลวร้ายยิ่งกว่าเดิม และมนุษย์ก็ทำงานหนักขึ้น
เครื่องจักรช่วยผลิตสินค้าได้มากขึ้นมหาศาลจริง แต่ไม่ได้ช่วยให้ความยากจน ความหิว ความเหลื่อมล้ำ งานที่น่าเบื่อ ความวิตกเกี่ยวกับความต้องการขั้นพื้นฐานในอนาคตหมดไป
และบางด้านเลวร้ายยิ่งกว่าเดิม มนุษย์เครียดมากขึ้น ความสุขเหือดหาย คนเป็นโรคซึมเศร้ามากขึ้นทุกวัน

ขณะที่นายจ้างถูกบีบโดยสภาวะการแข่งขันให้ต้องใช้นวัตกรรมใหม่ล่าสุดตลอดเวลา พวกเราเหมือนถูกล่ามติดกับเทคโนโลยี และถูกบังคับให้คอยไล่ตามมันให้ทัน เพราะถ้าช้านั่นอาจหมายถึงความพ่ายแพ้ กำไรที่หดหาย และการขาดทุน
มนุษย์กลายเป็นหนูถีบจักร ที่ไม่ว่าจะออกแรงวิ่งขนาดไหน ก็ไม่ได้ขยับไกลจากเดิม
ชีวิตที่มีเทคโนโลยีเป็นเครื่องทุ่นแรง กระทั่งอำนวยความสะดวกสบายจนมนุษย์ไม่ต้องทำงานอีกต่อไป ดูจะเป็นความฝันลอยๆ ที่ไม่เคยเกิดขึ้นจริง
เอาล่ะ ทีนี้มาเข้าเรื่อง...ทำไมมนุษย์ถึงไม่ควรกังวลว่าเอไอจะมาแย่งงานเรามากเกินไป (เรื่องนี้ควรกังวล แต่ก็ไม่ควรกังวลมากเกินไป)
มนุษย์กลายเป็นหนูถีบจักร ที่ไม่ว่าจะออกแรงวิ่งขนาดไหน ก็ไม่ได้ขยับไกลจากเดิม
ชีวิตที่มีเทคโนโลยีเป็นเครื่องทุ่นแรง กระทั่งอำนวยความสะดวกสบายจนมนุษย์ไม่ต้องทำงานอีกต่อไป ดูจะเป็นความฝันลอยๆ ที่ไม่เคยเกิดขึ้นจริง
เอาล่ะ ทีนี้มาเข้าเรื่อง...ทำไมมนุษย์ถึงไม่ควรกังวลว่าเอไอจะมาแย่งงานเรามากเกินไป (เรื่องนี้ควรกังวล แต่ก็ไม่ควรกังวลมากเกินไป)

ทำไมมนุษย์ถึงไม่มีวันตกงาน
ถึงตรงนี้คงเห็นแล้วว่า สังคมตลาดมีแนวโน้มที่จะ ‘กลืนกินตัวเอง’ แต่ถึงที่สุดแล้ว ไม่ว่าเทคโนโลยีหรือเอไอจะล้ำหน้าแค่ไหน สุดท้ายมนุษย์จะต้องมีงาน (ที่หมายถึงการหารายได้เพื่อเลี้ยงชีพ) ทำเสมอทำไมถึงเป็นเช่นนั้น จุดเริ่มต้นของเรื่องนี้อยู่ตรงที่...
เมื่อผู้ประกอบการหรือนายทุนใช้เทคโนโลยีใหม่เพื่อไต่เพดานบินในธุรกิจให้สูงขึ้น และลดต้นทุนในการผลิต ขณะเดียวกันก็ค่อยๆ บีบแรงงานออกไปจากกระบวนการผลิต (เพื่อลดต้นทุนเช่นกัน) โดยคาดหวัง ‘กำไร’ ที่สูงขึ้น
แต่ปัญหาคือแทนที่จะได้กำไรมากขึ้น พวกเขาอาจได้กำไรน้อยลง เพราะ...
- การใช้เทคโนโลยีในกระบวนการผลิตทำให้ต้นทุนลดลง
- การแข่งขันที่ดุเดือดระหว่างผู้ผลิต ส่งผลให้ตั้งราคาเท่าหรือต่ำกว่าต้นทุน ทำให้เหลือกำไรน้อยลง
- เครื่องจักรหรือเทคโนโลยีที่นำมาใช้แทนแรงงานมนุษย์ ไม่ต้องกินต้องใช้ (ไม่ต้องจ่ายเงินซื้อสินค้าที่พวกมันผลิต) ส่งผลให้มีของล้นตลาด เพราะคนซื้อลดลง
หลังวิกฤตเศรษฐกิจเกิดขึ้น มนุษย์และเครื่องจักรจะพบว่าตัวเองไม่มีงานทำ ขณะที่ผู้ประกอบการที่เหลือรอด จะตระหนักถึงความจริงได้อย่างน้อย 2 เรื่อง
- คู่แข่งที่ล้มหาย ทำให้ภาวะการแข่งขันผ่อนคลาย เปิดโอกาสให้ปรับราคาขายขึ้นมาได้
- การจ้างคนเพิ่มถูกกว่าการใช้เครื่องจักร เนื่องจากคนต้องกินต้องใช้ จึงยอมรับค่าแรงเท่าไหร่ก็ได้เพื่อให้มีงานทำ
นายจ้างมีแนวโน้มจะกลับมาจ้างแรงงานคนมากขึ้น คือผลที่เกิดขึ้นทุกครั้งหลังเศรษฐกิจตกต่ำ
การมาถึงของเทคโนโลยีใหม่อย่าง ‘เอไอ’ ครั้งนี้จะดิสรัปชีวิตและงานของมนุษย์ครั้งใหญ่แน่นอน ตอนนี้หลายคนคงได้กลิ่นของสึนามิแห่งความเปลี่ยนแปลงกันแล้ว คาดว่าคงมีงานของหลายอาชีพถูกแทนที่ด้วยเอไอ คนจำนวนหนึ่งอาจถูกเลิกจ้าง

แต่เชื่อเถอะว่า ไม่มีสิ่งใดถาวร ระบบเศรษฐกิจในโลกยังต้องการ ‘ผู้บริโภค’ เสมอ และมนุษย์คือตัวละครที่สวมบทบาทนั้น
แต่อย่างไรก็ตาม อย่าวางใจว่าจะอยู่เฉยได้ มนุษย์ต้องปรับตัว เรียนรู้ทักษะใหม่ๆ เพื่อให้พร้อมเดินเข้าสู่ตลาดแรงงานที่รออยู่ในโลกอนาคต
แต่อย่างไรก็ตาม อย่าวางใจว่าจะอยู่เฉยได้ มนุษย์ต้องปรับตัว เรียนรู้ทักษะใหม่ๆ เพื่อให้พร้อมเดินเข้าสู่ตลาดแรงงานที่รออยู่ในโลกอนาคต