AIS พบ คนไทยเกินครึ่ง ขาดทักษะความปลอดภัยไซเบอร์

22 ส.ค. 2567 - 08:42

  • AIS เปิดดัชนีชี้วัดสุขภาวะดิจิทัลคนไทย พบอยู่ใน ‘ระดับพื้นฐาน’

  • ชี้ จุดน่ากังวล คนไทยเกินครึ่งขาดความรู้-เข้าใจ ด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์

  • สร้างเครื่องมือเช็กภูมิคุ้มกัน ‘Digital Health Check’ ช่วยทุกคน ‘รู้สุขภาวะดิจิทัลส่วนตัว’ พร้อมข้อแนะนำ พัฒนาจุดอ่อนนั้นอย่างไร?

ais-thailand-cyber-wellness-index-2024-SPACEBAR-Hero.jpg

ยุคเทคโนโลยีดิจิทัลเติบโตอย่างรวดเร็วในประเทศไทย โลกไซเบอร์ควรมีความมั่นคงปลอดภัยฯ สังคม แต่ปัจจุบันหาใช่ไม่!!! เพราะคนไทยทุกระดับ ทั้งภาคประชาชน ภาคธุรกิจ หรือแม้กระทั่งถึงภาครัฐ มีภัยไซเบอร์คุกคามต่อเนื่อง กองบังคับการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี 1 พบว่า ประเทศไทย ติดอันดับที่ 6 ของโลกในด้านการเกิดภัยทางการเงินทางออนไลน์ในปี 2566 อัพเดทคดีออนไลน์ ถึง ณ สิ้นเดือนกรกฎาคม 2567 มีจำนวนคดีออนไลน์ทั้งสิ้น 612,603 เรื่อง มูลค่าความเสียหายกว่า 69,186 ล้านบาทแล้ว หรือเฉลี่ยความเสียหาย 78 ล้านบาทต่อวัน  

โดยในปีที่ผ่านมา AIS ร่วมกับ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และนักวิชาการ ได้เปิดตัวดัชนีชี้วัดสุขภาวะดิจิทัลของคนไทย หรือ Thailand Cyber Wellness Index ฉบับแรกของไทยที่ทำให้เห็นถึงระดับทักษะการรับรู้และความเข้าใจการใช้งานดิจิทัลในด้านต่างๆ ที่คนไทยยังคงต้องพัฒนาทักษะความรู้เพื่อรับมือกับภัยไซเบอร์ในรูปแบบต่างๆ ทำให้หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนหยิบเอาผลการศึกษาของเราไปต่อยอดในการเสริมสร้างทักษะดิจิทัลให้ได้ตรงกลุ่มอายุ อาชีพ หรือแม้แต่พื้นที่อย่างสอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมายของแต่ละหน่วยงาน 

ในปีนี้ได้ดำเนินการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง 50,965 คน จาก 7 ภูมิภาค 77 จังหวัด โดยวัดใน 7 ทักษะดิจิทัลที่ครอบคลุมพฤติกรรมการใช้งานดิจิทัลของคไทย ประกอบด้วย 1. ทักษะด้านการใช้ดิจิทัล 2. ทักษะด้านความมั่นคงปลอดภัยไซบอร์ 3. ทักษะด้านการกลั่นแกล้งทางไซเบอร์ 4. ทักษะด้านการรู้เท่าทันดิจิทัล 5. ทักษะด้านความเข้าใจสิทธิทางดิจิทัล 6. ทักษะด้านการสื่อสารและการทำงานร่วมกันบนดิจิทัล 7. ด้านการแสดงความสัมพันธ์ทางดิจิทัล โดยแบ่งความสามารถในการใช้งานดิจิทัลของคนไทยในแต่ละช่วงอายุ และแต่ละพื้นที่ทั่วประเทศ ที่ปรากฎในดัชนีชี้วัดสุขภาวะดิจิทัล เป็น 3 ระดับ คือ ระดับสูง ระดับพื้นฐาน และระดับต้องพัฒนา 

AIS ชี้ผล คนไทยเกินครึ่ง ขาดทักษะปลอดภัยไซเบอร์

นางสายชล ทรัพย์มากอุดม หัวหน้าหน่วยธุรกิจประชาสัมพันธ์และงานธุรกิจสัมพันธ์ บริษัทแอดวานซ์ อินโฟ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ AIS เผยผลสำรวจดัชนีชี้วัดสุขภาวะดิจิทัลของคนไทย ประจำปี 2567 หรือ Thailand Cyber Wellness Index 2024 พบว่า ภาพรวม คนไทยมีสุขภาวะทางดิจิทัล อยู่ในระดับพื้นฐาน ในขณะเดียวกัน ร้อยละ 64.48% ยังคงต้องพัฒนาทักษะดิจิทัลให้รู้เท่าทัน ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ประเทศไทยจำเป็นต้องสร้างความรู้ความเข้าใจในการใช้ดิจิทัลให้กับประชาชนเพิ่มขึ้น

ais-thailand-cyber-wellness-index-2024-SPACEBAR-Photo V02.jpg

ทั้งนี้ เมื่อเทียบกับผลศึกษาปีที่แล้ว สะท้อนให้เห็นว่า แม้คนไทยจะมีการพัฒนาความเข้าใจในการใช้งานบนโลกดิจิทัลที่เพิ่มขึ้นจนได้ผลในภาพรวมอยู่ในระดับพื้นฐาน แต่ก็ยังมีจุดที่น่ากังวล เพราะคนไทย ‘เกินครึ่ง’ ยังขาดความรู้ความเข้าใจ ในเรื่องความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ โดยเฉพาะในประเด็นที่มีความเสี่ยงต่อภัยที่อาจนำมาซึ่งความเสียหายต่อการใช้งานของตนเอง และขององค์กร อาทิ การไม่มีความรู้ความเข้าใจการถูกโจมตี ด้วยแรนซัมแวร์, การใช้ Wi-Fi สาธารณะในการทำธุรกรรมทางการเงิน, การใช้ วันเดือนปีเกิด ตั้งเป็นรหัสผ่าน ซึ่งง่ายต่อการคาดเดา แม้แต่การไม่ทราบว่า การเข้าไปเว็บไซต์ที่ปลอดภัยลิงค์ URL ควรจะขึ้นต้น https เป็นต้น 

“วันนี้เราจะมาดูกันว่า ค่าเฉลี่ยสุขภาวะของคนไทยที่อยู่ใน ‘ระดับพื้นฐาน (เบสิค)’ หมายความว่ายังไง การมีทักษะทางดิจิทัลอยู่ในระดับพื้นฐาน หมาบถึงสามารถเอาตัวรอด กล้อมแกล้ม แต่ว่า เพลี่ยงพล้ำก็เยอะมาก ดังนั้น เราจึงได้บทสรุปว่า จากตัวเลขปีที่แล้ว เมื่อเทียบกับปีนี้ AIS ขอประกาศให้ปีนี้และปีหน้าเราขอยกระดับ ในการที่จะสร้างทักษะให้กับคนไทย ในแกนของความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ หรือ Cyber Safety & Security ซึ่งสิ่งนี้ สอดคล้องข้อมูลของกระทรวงดีอี ที่แจ้งข้อมูลจำนวนเคสและความเสียหาย โดยอีกไม่นานเคสน่าจะแตะหลักล้าน มูลค่าความเสียหายก็น่าจะแตะหลายร้อย-หลายแสนล้าน เราจำเป็นที่ต้องจริงจังกับการเพิ่มทักษะ วัคซีนให้กับคนไทย เพื่อที่จะรอดปลอดภัยจากการใช้งานบนโลกออนไลน์” สายชล กล่าว

ais-thailand-cyber-wellness-index-2024-SPACEBAR-Photo04.jpg

นางสายชล ยังชี้ถึงแนวทางการติดอาวุธและสร้างความมั่นคงทางไซเบอร์ให้กับคนไทยว่า ขณะนี้ AIS ได้พัฒนาเครื่องมือ ‘Digital Health Check’ เพื่อให้คนไทยสามารถวิเคราะห์ และประเมินทักษะด้านดิจิทัลของตนเอง

ais-thailand-cyber-wellness-index-2024-SPACEBAR-Photo V03.jpg

ขณะที่เราทุกคนสามารตรวจเช็กสุขภาวะทางดิจิทัลของตัวเอง ได้ที่ https://digitalhealthcheck.ais.th

ais-thailand-cyber-wellness-index-2024-SPACEBAR-Photo03.jpg

เรื่องเด่นประจำสัปดาห์