กระแสข่าวสะพัดผ่านสื่อสังคมออนไลน์ ช่วงปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา กรณีศูนย์การค้าเซ็นทรัล สาขาลาดพร้าว ดำเนินการโดยบริษัท เซ็นทรัลอินเตอร์พัฒนา จำกัด ในเครือเซ็นทรัล กรุ๊ป ว่าจะไม่ต่อสัญญาเช่าที่ดินกับการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ซึ่งจะครบกำหนดในวันที่ 18 ธันวาคม 2571
โดยเนื้อความในสื่อโซเชียลระบุ เซ็นทรัล ลาดพร้าว เตรียมจะปิดกิจการในปี 2571 หลังไม่ต่อสัญญากับ การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) โดยจะเปลี่ยนไปสร้างห้างสรรพสินค้าแห่งใหม่ ในที่ดินตรงข้ามแดนเนรมิต
จากกระแสที่เกิดขึ้น ทำให้เซ็นทรัล ลาดพร้าว ไม่รอช้าที่จะออกมาชี้แจงผ่าน เพจเซ็นทรัลลาดพร้าว เกือบในทันทีว่า
“จากที่มีการแชร์ข่าวลือใน Social Media เกี่ยวกับสัญญาเช่าที่ดินของศูนย์การค้าเซ็นทรัล ลาดพร้าว นั้น ทางศูนย์ฯ ขอความร่วมมือไม่แชร์ข้อมูลที่ไม่ใช่ข้อเท็จจริงเพื่อไม่ให้เกิดความสับสนและเข้าใจผิดในวงกว้าง
เซ็นทรัล ลาดพร้าว ยังคงมุ่งมั่นไม่หยุดนิ่ง ในการสร้างสรรค์ประสบการณ์ใหม่ที่ดีที่สุดให้กับลูกค้าทุกท่าน โดยล่าสุด มีการลงทุนพลิกโฉมห้างสรรพสินค้า ปรับปรุงโซนต่างๆ และมีการนำเสนอบริการใหม่อย่างต่อเนื่อง เพื่อตอกย้ำการเป็นแลนด์มาร์กอันดับหนึ่งในใจของทุกคน”
ประกาศของเซ็นทรัลลาดพร้าว ดังกล่าวเพื่อคอนเฟิร์มสถานการณ์ศูนย์ฯ ในเวลานี้ว่ายังไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆเกิดขึ้น เพื่อป้องกันความสับสนของลูกค้าและสังคม
ทั้งนี้ หากย้อนตำนาน ‘เซ็นทรัล ลาดพร้าว’ พบว่าเป็นหนึ่งในแบรนด์ศูนย์การค้าเก่าแก่ที่อยู่คู่ถนนวิภาวดีรังสิต และ ถนนพหลโยธิน บริเวณห้าแยกลาดพร้าว มานานร่วม 40 ปี เปิดให้บริการครั้งแรกในปี พ.ศ. 2526 ด้วยพื้นที่กว่า 78,700 ตารางเมตร โดยทั้งโครงการฯ ประกอบด้วย ศูนย์การค้า 7 ชั้น อาคารสำนักงาน 25 ชั้น และโรงแรมเซ็นทาราแกรนด์
ขณะที่โครงการฯ ได้ถูกต่อสัญญามาแล้วไปรอบหนึ่ง หลังสิ้นสุดอายุการเช่าที่ดินตามสัญญาในวันที่ 18 ธ.ค.2551 โดยเนื้อหาในสัญญาฯ ครั้งนั้นระบุเมื่อครบกำหนดแล้ว อาคาร ,สิ่งก่อสร้าง และระบบต่างๆที่ใช้ในกิจการของโครงการทั้งหมด ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของร.ฟ.ท. โดยสัญญาสัมปทานเช่าที่ดินพหลโยธินเดิมเริ่มต้นเมื่อวันที่ 19 ธ.ค.2521 เป็นระยะเวลาการเช่าฯ 30 ปี
ส่วนดีลสัญญาเช่าที่ดินครั้งล่าสุดระหว่างเซ็นทรัลฯ และ รฟท. เกิดขึ้นในปี 2551 และหากครบกำหนดสัญญาฯในปี2571 นั่นหมายความว่าเซ็นทรัลลาดพร้าว จะเหลือเวลาดำเนินการอีกราว 6 ปีก่อนครบกำหนดสัญญาเช่าที่ดินเป็นระยะเวลา 20 ปี รวมสองสัญญาฯ เท่ากับ 50 ปีพอดี
อย่างไรก็ตาม หลังจากกลุ่มเซ็นทรัล ปิดดีลต่อสัญญาในรอบนั้น อีก3 ปีถัดมา (ปี 2553) เซ็นทรัลลาดพร้าว ใช้งบกว่า 2,100 ล้านบาทเพื่อปิดปรับปรุงโฉมศูนย์การค้าฯครั้งใหญ่เป็นเวลานานร่วม 6 เดือน ก่อนจะทวงตำแหน่งแหล่งแฮงก์เอาท์ของชาวลาดพร้าวและใกล้เคียง ให้คืนกลับมาได้อย่างสง่างาม
นอกจากนี้ ในปี 2562 ศูนย์การค้าเซ็นทรัล ลาดพร้าว ยังได้ลงทุนร่วมสร้างทางเชื่อมรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสีเขียวช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต โดยเปิดให้บริการพร้อมสถานีห้าแยกลาดพร้าวไปเมื่อวันที่ 9 ส.ค.ในปีเดียวกัน เพื่อให้การเดินทางมายังแหล่งช้อปปิงแห่งนี้ได้ง่ายและสะดวกขึ้น
พร้อมกับอีกหนึ่งคอนเฟิร์มถึงการไปต่อของ เซ็นทรัล ลาดพร้าว ด้วยเมื่อราวปลายเดือน พ.ย.ที่ผ่านมา ‘โอลิวิเยร์ บรง’ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มห้างสรรพสินค้า ในเครือเซ็นทรัล รีเทล กล่าวว่า “เตรียมงบประมาณกว่า 600 ล้านบาท เพื่อปรับโฉมใหม่ครั้งสำคัญให้แก่ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลลาดพร้าว ภายใต้คอนเซปต์ CENTRAL LADPRAO THE NEW LOOK” ทั้งการขยายและเพิ่มโซนใหม่ๆ เพื่อตอบโจทย์ลูกค้าและศักยภาพของคนในพื้นที่ซึ่งมีความหลากหลาย และมีกลุ่มคนรุ่นใหม่ วัยทำงาน มีกำลังซื้อค่อนข้างสูง”
โดยปัจจุบันห้างเซ็นทรัลลาดพร้าว มีลูกค้ากลุ่ม Wealth มากเป็นอันดับที่ 2 รองจากสาขาชิดลม หรือประมาณ 50,000 คน สร้างยอดขายได้ประมาณ 40% (ข้อมูลถึงเดือนตุลาคม 2022)
“จากความได้เปรียบในด้านทำเลที่ตั้งบนทำเลศักยภาพมีจุดเชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสำคัญ ทำให้เชื่อมั่นว่าหลังการปรับ New Look ครั้งนี้จะทำให้ เซ็นทรัล ลาดพร้าวมีลูกค้าเพิ่มขึ้น 35% และมียอดขายต่อเดือนเพิ่มขึ้น 40% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา” โอลิวิเยร์ กล่าวย้ำ
โดยเนื้อความในสื่อโซเชียลระบุ เซ็นทรัล ลาดพร้าว เตรียมจะปิดกิจการในปี 2571 หลังไม่ต่อสัญญากับ การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) โดยจะเปลี่ยนไปสร้างห้างสรรพสินค้าแห่งใหม่ ในที่ดินตรงข้ามแดนเนรมิต
จากกระแสที่เกิดขึ้น ทำให้เซ็นทรัล ลาดพร้าว ไม่รอช้าที่จะออกมาชี้แจงผ่าน เพจเซ็นทรัลลาดพร้าว เกือบในทันทีว่า
“จากที่มีการแชร์ข่าวลือใน Social Media เกี่ยวกับสัญญาเช่าที่ดินของศูนย์การค้าเซ็นทรัล ลาดพร้าว นั้น ทางศูนย์ฯ ขอความร่วมมือไม่แชร์ข้อมูลที่ไม่ใช่ข้อเท็จจริงเพื่อไม่ให้เกิดความสับสนและเข้าใจผิดในวงกว้าง
เซ็นทรัล ลาดพร้าว ยังคงมุ่งมั่นไม่หยุดนิ่ง ในการสร้างสรรค์ประสบการณ์ใหม่ที่ดีที่สุดให้กับลูกค้าทุกท่าน โดยล่าสุด มีการลงทุนพลิกโฉมห้างสรรพสินค้า ปรับปรุงโซนต่างๆ และมีการนำเสนอบริการใหม่อย่างต่อเนื่อง เพื่อตอกย้ำการเป็นแลนด์มาร์กอันดับหนึ่งในใจของทุกคน”
ประกาศของเซ็นทรัลลาดพร้าว ดังกล่าวเพื่อคอนเฟิร์มสถานการณ์ศูนย์ฯ ในเวลานี้ว่ายังไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆเกิดขึ้น เพื่อป้องกันความสับสนของลูกค้าและสังคม
สัญญาเช่าทิ่ดิน ร.ฟ.ท. รวม 50 ปี
ทั้งนี้ หากย้อนตำนาน ‘เซ็นทรัล ลาดพร้าว’ พบว่าเป็นหนึ่งในแบรนด์ศูนย์การค้าเก่าแก่ที่อยู่คู่ถนนวิภาวดีรังสิต และ ถนนพหลโยธิน บริเวณห้าแยกลาดพร้าว มานานร่วม 40 ปี เปิดให้บริการครั้งแรกในปี พ.ศ. 2526 ด้วยพื้นที่กว่า 78,700 ตารางเมตร โดยทั้งโครงการฯ ประกอบด้วย ศูนย์การค้า 7 ชั้น อาคารสำนักงาน 25 ชั้น และโรงแรมเซ็นทาราแกรนด์
ขณะที่โครงการฯ ได้ถูกต่อสัญญามาแล้วไปรอบหนึ่ง หลังสิ้นสุดอายุการเช่าที่ดินตามสัญญาในวันที่ 18 ธ.ค.2551 โดยเนื้อหาในสัญญาฯ ครั้งนั้นระบุเมื่อครบกำหนดแล้ว อาคาร ,สิ่งก่อสร้าง และระบบต่างๆที่ใช้ในกิจการของโครงการทั้งหมด ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของร.ฟ.ท. โดยสัญญาสัมปทานเช่าที่ดินพหลโยธินเดิมเริ่มต้นเมื่อวันที่ 19 ธ.ค.2521 เป็นระยะเวลาการเช่าฯ 30 ปี
ส่วนดีลสัญญาเช่าที่ดินครั้งล่าสุดระหว่างเซ็นทรัลฯ และ รฟท. เกิดขึ้นในปี 2551 และหากครบกำหนดสัญญาฯในปี2571 นั่นหมายความว่าเซ็นทรัลลาดพร้าว จะเหลือเวลาดำเนินการอีกราว 6 ปีก่อนครบกำหนดสัญญาเช่าที่ดินเป็นระยะเวลา 20 ปี รวมสองสัญญาฯ เท่ากับ 50 ปีพอดี
อย่างไรก็ตาม หลังจากกลุ่มเซ็นทรัล ปิดดีลต่อสัญญาในรอบนั้น อีก3 ปีถัดมา (ปี 2553) เซ็นทรัลลาดพร้าว ใช้งบกว่า 2,100 ล้านบาทเพื่อปิดปรับปรุงโฉมศูนย์การค้าฯครั้งใหญ่เป็นเวลานานร่วม 6 เดือน ก่อนจะทวงตำแหน่งแหล่งแฮงก์เอาท์ของชาวลาดพร้าวและใกล้เคียง ให้คืนกลับมาได้อย่างสง่างาม
นอกจากนี้ ในปี 2562 ศูนย์การค้าเซ็นทรัล ลาดพร้าว ยังได้ลงทุนร่วมสร้างทางเชื่อมรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสีเขียวช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต โดยเปิดให้บริการพร้อมสถานีห้าแยกลาดพร้าวไปเมื่อวันที่ 9 ส.ค.ในปีเดียวกัน เพื่อให้การเดินทางมายังแหล่งช้อปปิงแห่งนี้ได้ง่ายและสะดวกขึ้น
CENTRAL LADPRAO THE NEW LOOK
พร้อมกับอีกหนึ่งคอนเฟิร์มถึงการไปต่อของ เซ็นทรัล ลาดพร้าว ด้วยเมื่อราวปลายเดือน พ.ย.ที่ผ่านมา ‘โอลิวิเยร์ บรง’ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มห้างสรรพสินค้า ในเครือเซ็นทรัล รีเทล กล่าวว่า “เตรียมงบประมาณกว่า 600 ล้านบาท เพื่อปรับโฉมใหม่ครั้งสำคัญให้แก่ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลลาดพร้าว ภายใต้คอนเซปต์ CENTRAL LADPRAO THE NEW LOOK” ทั้งการขยายและเพิ่มโซนใหม่ๆ เพื่อตอบโจทย์ลูกค้าและศักยภาพของคนในพื้นที่ซึ่งมีความหลากหลาย และมีกลุ่มคนรุ่นใหม่ วัยทำงาน มีกำลังซื้อค่อนข้างสูง”
โดยปัจจุบันห้างเซ็นทรัลลาดพร้าว มีลูกค้ากลุ่ม Wealth มากเป็นอันดับที่ 2 รองจากสาขาชิดลม หรือประมาณ 50,000 คน สร้างยอดขายได้ประมาณ 40% (ข้อมูลถึงเดือนตุลาคม 2022)
“จากความได้เปรียบในด้านทำเลที่ตั้งบนทำเลศักยภาพมีจุดเชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสำคัญ ทำให้เชื่อมั่นว่าหลังการปรับ New Look ครั้งนี้จะทำให้ เซ็นทรัล ลาดพร้าวมีลูกค้าเพิ่มขึ้น 35% และมียอดขายต่อเดือนเพิ่มขึ้น 40% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา” โอลิวิเยร์ กล่าวย้ำ

ผุดมิกซ์ยูส 1.1 หมื่นล้านบาท
ทั้งนี้ Spacebar ได้สำรวจพื้นที่ใกล้เคียงบนถนนพหลโยธิน ห่างออกไปราว 750 เมตรจากเซ็นทรัล ลาดพร้าว ซึ่งเป็นโครงการฯอยู่ระหว่างการก่อสร้างซึ่งด้านหลังติดถนนวิภาวดีรังสิต ระหว่างซอยวิภาวดี 30 และวิภาวดี 28 ภายใต้การรับเหมาก่อสร้างของ บริษัท เอ็นเอ็มซี คอนแลนด์ จำกัด

ขณะที่ เซ็นทรัล แจ้งตลาดหลักทรัพย์เมื่อวันที่ 3 พ.ย. 2565 ระบุว่า พื้นที่ดังกล่าวกลุ่มเซ็นทรัลพัฒนาและ บริษัท แกรนด์ คาแนล แลนด์ จำกัด หรือ GLAND ได้เตรียมพัฒนาพื้นที่ 48 ไร่ เป็นโครงการมิกซ์ยูส ประกอบด้วยศูนย์การค้า โรงแรม และอาคารสำนักงาน โดยเฟสแรกจะเป็นการพัฒนาโครงการศูนย์การค้า

ภายใต้งบลงทุน 11,000 ล้านบาท แบ่งเป็นส่วนของกลุ่มเซ็นทรัล 5,500 ล้านบาท และ GLAND ประมาณ 5,500 ล้านบาท คาดว่าโครงการมิกซ์ยูสดังกล่าวจะใช้เวลาสร้างรวม 5 ปี แล้วเสร็จในปี 2571
เป็นช่วงจังหวะที่ เซ็นทรัล ลาดพร้าว จะหมดอายุสัมปทานเช่าที่ดินจาก ร.ฟ.ท. ในปีเดียวกันพอดี ที่แม้ว่าตลอดช่วงระยะเวลาสัญญาฯในรอบที่ 2 ของกลุ่มเซ็นทรัล จะใส่เม็ดเงินลงทุนทั้งการรีโนเวทและก่อสร้างไม่ต่ำกว่า 3,000 ล้านบาทก็ตาม และหากดีลสัญญาเช่าที่ดินรอบใหม่ไม่เกิดขึ้น ร.ฟ.ท. อาจจะได้อาคารทั้งศูนย์การค้าและโรงแรม ที่มีโครงสร้างอายุร่วม 40 ปี ไปด้วย
สุดท้ายยังเหลือเวลาอีก 6 ปี ที่ทั้งกลุ่มเซ็นทรัล และ ร.ฟ.ท. อยู่ระหว่างการเคาะ ‘โซลูชันส์’ ที่จะเป็นประโยขน์มากที่สุดของตัวเอง ก่อนจะถึงในปี 2571 นี้
เป็นช่วงจังหวะที่ เซ็นทรัล ลาดพร้าว จะหมดอายุสัมปทานเช่าที่ดินจาก ร.ฟ.ท. ในปีเดียวกันพอดี ที่แม้ว่าตลอดช่วงระยะเวลาสัญญาฯในรอบที่ 2 ของกลุ่มเซ็นทรัล จะใส่เม็ดเงินลงทุนทั้งการรีโนเวทและก่อสร้างไม่ต่ำกว่า 3,000 ล้านบาทก็ตาม และหากดีลสัญญาเช่าที่ดินรอบใหม่ไม่เกิดขึ้น ร.ฟ.ท. อาจจะได้อาคารทั้งศูนย์การค้าและโรงแรม ที่มีโครงสร้างอายุร่วม 40 ปี ไปด้วย
สุดท้ายยังเหลือเวลาอีก 6 ปี ที่ทั้งกลุ่มเซ็นทรัล และ ร.ฟ.ท. อยู่ระหว่างการเคาะ ‘โซลูชันส์’ ที่จะเป็นประโยขน์มากที่สุดของตัวเอง ก่อนจะถึงในปี 2571 นี้