โดรนอุตสาหกรรมดาวรุ่ง ที่ต้องเร่งพัฒนากำลังคน และได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐ ตลาดโดรนทั่วโลกคาดว่าจะเติบโตจาก 22.5 พันล้านเหรียญสหรัฐในปี 2563 เป็น 42.8 พันล้านเหรียญสหรัฐภายในปี 2568 โดยมี CAGR ที่ 13.7% ด้วยเทคโนโลยีใหม่ที่เข้าถึงได้ง่ายขึ้น และการใช้งานในหลายอุตสาหกรรม คาดว่า ตลาดโดรนในเอเชียแปซิฟิก จะมี CAGR เติบโตถึง 19.8% ในช่วงปี 2020 ถึง 2025
ตลาดโดรนในอาเซียนคาดว่าจะมีมูลค่าถึง 1.3 พันล้านดอลลาร์ภายในปี 2566 โดยได้แรงหนุนจากการใช้งานที่เพิ่มขึ้นในอุตสาหกรรม เช่น เกษตรกรรม เหมืองแร่ ความปลอดภัย และการก่อสร้าง ตลาดโดรนในไทยมีการพัฒนาเชิงบวกในด้านการใช้งาน การวิจัยและพัฒนาและการผลิต
ฉัตรชัย ปั่นตระกูล ผู้จัดการฝ่ายมาตรฐานอากาศยานซึ่งไม่มีนักบิน สำนักงานการบนพลเรือนแห่งประเทศไทย (CAAT) กล่าวว่า รูปแบบการกำกับดูแลโดรน จะมีการออกกฎหมายหลายรูปแบบเข้ามาดูแลโดรนที่มีลักษณะแตกต่างกัน โดรนที่มีความเสี่ยงต่ำจะเปิดกว้างให้ผู้ใช้งานเข้าถึงได้ง่าย โดรนในกลุ่มที่ต้องมีการกำกับดูแล เป็นโดรนที่ใช้ทำงานในธุรกิจต่างๆ ต้องมีการประเมินความปลอดภัยในการบิน และต้องขออนุญาต ส่วนโดรนขนาดใหญ่ที่ทำหน้าที่
“สิ่งที่จะ ดำเนินการอย่างเร่งด่วน ได้แก่ ด้านการรับรองการบินโดรนแบบต่าง ๆ เช่น BVLOS, โดรนขนาดกลาง การจดทะเบียน อากาศยาน, การรับรองศูนย์ฝึกอบรมนักบินโดรนประเภทต่างๆ และการออกใบอนุญาตนักบินโดรนในแต่ละประเภทในขั้นพื้นฐานและขั้นสูง”
ฉัตรชัย กล่าว

เพื่อส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมโดรน ด้วยการใช้กลไกทางกฎหมายจะออกกฎหมาย เพื่ออนุญาตบินโดรนตามมาตรฐานสากล โดยให้การบินโดรนขนาดใหญ่เครื่องที่มีน้ำหนัก 25 กิโลกรัม ทำได้ง่ายขึ้น และปรับปรุงการจดทะเบียนโดรนด้วยระบบออนไลน์เพื่อให้การติดตามตรวจสอบทำได้ง่ายขึ้น
และเพื่อให้อาชีพบินโดรนเป็นอาชีพที่ได้รับการส่งเสริมอย่างเป็นทางการ จะให้การรับรองศูนย์อบรมนักบินโดรนในแต่ละประเภทเพื่อการสนับสนุนวิชาชีพโดรน โดยคนที่ผ่านการอบรมจะมีการออกใบอนุญาตหรือใบขับขี่เพื่อให้เข้าไปทำงานในแต่ละภาคอุตสาหกราม ทั้งนี้ การกำกับดูแลโดรน จะเน้นการดูแลด้านความปลอดภัย การพัฒนากำลังคนให้เพียงพอ ทั้งการสร้างนักบินและช่างซ่อมโดรน