‘ทักษะภาษาจีน’มีความสำคัญมากขึ้นในปัจจุบัน เนื่องจากปัจจัยหลายด้าน เช่น การค้า การท่องเที่ยว วัฒนธรรม และโอกาสในตลาดแรงงาน ที่ประเทศไทยมีนโยบายสานสัมพันธ์ไทย-จีน ต่อเนื่อง นี่จึงเป็นเหตุผลให้ โรงเรียน 3 ภาษา ที่ชื่อว่า ‘จื้อ-เล่อ’ ผุดขึ้น และชูแนวคิดเป็นโรงเรียนสามภาษาที่ ‘คุณภาพเข้าถึงได้’
‘จื้อ-เล่อ’ พัฒนา เปิดตัวแคมปัสแรกในย่านรามคำแหง มุ่งตอบโจทย์การศึกษาสามภาษาในราคาที่จับต้องได้ โดยมีค่าเล่าเรียนเริ่มต้นเพียง 50,000 บาทต่อภาคการศึกษา พร้อมประกาศเป้าหมายในการขยายแคมปัสอีก 5-7 แห่งทั่วประเทศภายใน 10 ปี เพื่อเพิ่มโอกาสทางการศึกษาแก่เด็กไทยในทุกภูมิภาค

รู้จัก ‘จื้อ-เล่อ’ และผู้ก่อตั้ง
โรงเรียนสามภาษา ‘จื้อ-เล่อ’ เปิดในประเทศไทยเป็นที่แรก โดยมี นายวอลเตอร์ ลี ชาวมาเลเซีย เป็นผู้ก่อนตั้ง ซึ่งนายวอลเตอร์ ลี นี้กล่าวได้ว่า แม้จะเป็นชาวมาเลเซีย แต่เข้ามาทำงานและใช้ชีวิตในประเทศไทย 36 ปี เขามีลูกที่พิการ และมีเป้าหมายให้ลูกใช้ชีวิตได้คนปกติ จนสำเร็จ เลยอยากมีเป้าหมายอยากเด็กทุกคน ทั้งพิการและไม่พิการ มีโอกาสด้านการศึกษาที่ดีมีคุณภาพ ดังนั้น โรงเรียน 3 ภาษาโดยนายวอลเตอร์ ลี จึงเกิดขึ้นในประเทศไทยเป็นที่แรก โดยพัฒนาหลัก 3 ภาษา พร้อมนำเทคโนโลยีมาช่วย ในด้านการสอน จะไม่สอนภาษาแบบแปล แต่จะเป็นการเรียนภาษาให้อยู่ในกิจกรรมของเด็ก
วิสัยทัศน์จากผู้ก่อตั้ง
นายวอลเตอร์ ลี ยังเห็นช่องว่าการศึกษาพื้นฐาน กับหลักสูตรนานาชาติ ที่การเข้าถึงกลุ่มเด็ก ‘ต่างกัน’ เล็งเห็นชนชั้นกลางซึ่งเป็นตลาดขนาดใหญ่ต้องการโรงเรียนคุณภาพให้บุตรหลาน การเปิดโรงเรียน ‘จื้อ-เล่อ’ จึงมาตอบโจทย์ตลาดนี้

นายลี กล่าวอีกว่า ภาษาจีนเป็นภาษาสำคัญ จีนเป็นประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจ แผ่ขยายการค้า-การลงทุนมาไทยต่อเนื่อง ดังนั้น ภาษาจีนจึงเป็นอีกความท้าทายของคนไทย และปัจจุบันภาษาจีนก็ถือว่า เป็นภาษาที่มีคนใช้มากที่สุดในโลก การที่เด็กซึ่งเป็นอนาคตของประเทศมีสกิลภาษาจีน จะช่วยเพิ่มโอกาสให้ประเทศและคนรุ่นใหม่มากขึ้น ข้อจำกัดของการเรียนภาษาในประเทศไทยคือการเรียน แบบท่องจำ ทำให้คนไทยเรียนภาษาไม่สำเร็จ จึงพัฒนาหลักสูตร Interactive เน้นการใช้จริง การเรียน และให้เด็กฟังทุกวัน เมื่อการเริ่มต้นเรียนภาษาแม่
หลักสูตรที่ตอบโจทย์อนาคต
โรงเรียนสามภาษา จื้อ-เล่อ พัฒนา เตรียมเปิดสอนหลักสูตร Intensive Chinese-English Program (ICEP) ในปีการศึกษา 2568 สำหรับเด็กอายุ 2-11 ปี โดยจัดสัดส่วนการเรียนรู้แบบสมดุลระหว่างภาษาไทย 40%, ภาษาอังกฤษ 30%, และภาษาจีน 30% ภายใต้แนวคิดการเรียนรู้ที่เน้นการพัฒนาทักษะภาษาและมุมมองระดับโลก นอกจากนี้ ยังนำเทคโนโลยี AI และการเรียนรู้แบบ Interactive เข้ามาใช้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการสอนและความน่าสนใจของบทเรียน

เสียงสะท้อนจากผู้นำด้านการศึกษา
ดร.สิริพงศ์ อังคสกุลเกียรติ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวว่า “การศึกษาที่มีคุณภาพและหลากหลายภาษาจะช่วยสร้างเยาวชนไทยที่พร้อมสำหรับการเปลี่ยนแปลงในอนาคต” พร้อมชื่นชมโรงเรียนสามภาษา จื้อ-เล่อ พัฒนา ที่มีเป้าหมายชัดเจนในการลดช่องว่างทางการศึกษา ขณะเดียวกัน นายบง ยิก จุย อุปทูตสถานเอกอัครราชทูตมาเลเซียประจำประเทศไทย ยังเน้นถึงความสำคัญของการเรียนภาษาจีนกลางในฐานะภาษาที่มีบทบาทสำคัญต่อเศรษฐกิจภูมิภาค
การศึกษาที่สร้างความเท่าเทียม
เพื่อสนับสนุนความเท่าเทียมทางการศึกษา โรงเรียนได้มอบทุนการศึกษาให้แก่มูลนิธิซาย มูฟเม้นท์ (Zy Movement Foundation) สำหรับนักเรียนที่มีความพิการทางการเคลื่อนไหว แสดงถึงความตั้งใจที่จะทำให้การศึกษาเป็นสิ่งที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้โดยไม่มีข้อจำกัด
โรงเรียนสามภาษา จื้อ-เล่อ พัฒนา จะเริ่มรับสมัครนักเรียนสำหรับปีการศึกษา 2568 ตั้งแต่วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2568 เป็นต้นไป
