สิงห์-ช้าง-ควาย สามก๊ก สงครามเบียร์

15 เมษายน 2567 - 10:35

economic-beer-products-SPACEBAR-Hero.jpg
  • ตลาดเบียร์มูลค่าปีละกว่า 260,000 ล้านบาท

  • ค่าย ลีโอกับสิงห์ ครองส่วนแบ่งตลาดมากที่สุด

  • น้องใหม่ เบียร์คาราบาว เปิดหน้าไล่ชนเจ้าตลาด

ภาพการแข่งขันต่อสู้แบบเดิม จึงเปลี่ยนไป  แน่นอนว่ารายใหม่ พร้อมรบทุกรูปแบบ ทุกตลาด  เพราะนั่นคือการช่วงชิงตลาดจาก 2 รายเดิม

มาดูมูลค่าตลาดเบียร์ปีในปี 2566  มูลค่าตลาดรวมประมาณ  260,000  ล้านบาท  ตลาดใหญ่ที่สุดคือ เบียร์ในกลุ่ม Economy ถ้าในตลาดเรียกกันง่าย ๆ ว่า เบียร์ 3 ขวด 100 บาท  หรือถ้าดูง่าย ๆ ก็เบียร์ที่บรรจุดในขวดสีน้ำตาล  มีทั้ง ลีโอ  สิงห์  ช้าง  อาชา   สัดส่วนตลาดของเบียร์  Economy  อยู่ที่ 75% เบียร์สแตนดาร์ด  อยู่ที่ 20%  และเบียร์พรีเมี่ยม อยู่ที่ 5 %

ผู้ผลิตที่ครองตลาดเบียร์สูงสุด คือ  กลุ่มบุญรอดบริวเวอร์รี่  เจ้าของ สิงห์  ลีโอ  มีส่วนแบ่งตลาด 57.9%. ตามมาด้วยอันดับสอง กลุ่มไทยเบฟ เจ้าของ ช้าง  อาชา มีส่วนแบ่งตลาด  34.3% ตามกลุ่มไทยเอเชีย แปซิฟิค บริวเวอร์รี่ เจ้าของ ไฮเนเก้น  มีส่วนแบ่งตลาด 4.7%  นอกนั้นเป็นค่ายอื่น

ดุลอำนาจของผู้ผลิตเบียร์รายเดิม ก็ตรึงกันมานาน ช่วงหลังจากสถานการณ์โควิด สภาพเศรษฐกิจ ก็อาจจะซบเซาไปบ้าง แต่กิจกรรมต่าง ๆ ก็ดำเนินต่อไป 

การเข้ามาของรายใหญ่ หน้าใหม่ คาราบาว กรุ๊ป เมื่อปลายปี 2566 คือการหวนคืนสู่สงครามน้ำเมาอีกครั้ง  เพราะมีการรับน้องใหม่ ที่จะเข้าตลาด

คาราบาว กรุ๊ป เปิดตัวในปี 2566 ด้วยเบียร์ 2 แบรนด์ คือ คาราบาว และตะวันแดง พร้อมกัน 4 รสชาติ ประกอบด้วย ลาเกอร์ ,ดุงเกล ,ไวเซ่น และโรเซ่ และประกาศตั้งเป้าขอส่วนแบ่งการตลาด 30% ในปีแรก และขึ้นเป็นผู้เล่นหลัก 1 ใน 3 ของตลาดเบียร์

นั่นคือความคิดของ รายใหม่ในตลาดเบียร์  แต่ต้องถามว่า เจ้าตลาดเดิมยอมหรือไม่  เพราะรายเดิมไม่ใช่กลุ่มไร้ทุน หรือไร้ชื่อเสียง  ฐานกำลังที่สะสมมายาวนาน พร้อมที่จะต่อสู้แบบยาวนานได้  รวมไปถึงสงครามราคาก็เป็นเรื่องที่สามารถเกิดขึ้นได้

มีการสรุปตัวเลขส่วนแบ่งตลาดหลังเข้าตลาดเมื่อปลายปี 2566 ของ ‘เบียร์ควาย’ ชื่อเล่นอย่างไม่เป็นทางการของเบียร์คาราวบาวแดงว่า อยู่ที่ประมาณ 2% เมื่อเดือนธันวาคม  และยอดขายเดือน มกราคมถึงกุมภาพันธ์ 2567  ลดลงประมาณ 30%

มีการประเมินว่า เบียร์คาราบาวแดงในปี 2567  คาดว่ายอดขายประมาณ 1,950 ล้านบาท

ส่วนแบ่งการตลาดอยู่ที่ 1.5%   ส่วนแบ่งการตลาดจะขยับเป็น 2% ในปี 2568  นี่คือตัวเลขคาดการณ์ ซึ่งแน่นอนว่าทางคาราบาวกรุ๊ป ยอมรับไมได้  เพราะคาดหวังไว้มากกว่านั้น

ประเมินกันว่า  การที่ส่วนแบ่งตลาด และยอดขายไม่เพิ่มขึ้น  ส่วนหนึ่งมาจากสภาพเศรษฐกิจ การจับจ่ายใช้สอยของผู้บริโภค   และอีกส่วนหนึ่งมาจากการปกป้องตลาดของรายเดิม  ที่คงไม่ยอมเสียส่วนแบ่งตลาดไปง่าย ๆ

ยืนยง โอภากุล หรือ แอ๊ด คาราบาว  ผู้ก่อตั้ง และผู้ถือหุ้น คาราบาวกรุ๊ป บอกในงานคอนเสิร์ตใหญ่ว่า  

“ผมไปเล่นที่ไหน ผมก็บอกว่าขอเอาเบียร์คาราบาวไปขายได้มั้ย ปรากฏว่ามีเบียร์ยี่ห้อมันไม่ยอม มันก็บอกว่าถ้าเกิดว่าร้านนี้เอาเบียร์คาราบาวมาขาย มันจะถอนเบียร์มันออกไป คือมันมีอำนาจมีการผูกขาดกันมานานแล้ว ผมขายเบียร์ไม่ได้เลย เซเว่นก็ไม่ยอมขายให้ผม แม็คโครก็ไม่ยอมขายให้”

ความในใจของแอ๊ด คาราบาว ก็สอดคล้องกับที่มีกระแสข่าวในวงการเอเยนต์จำหน่ายสุราว่า  หากร้านไหนไม่ขาย เบียร์คาราบาว  จะให้เพิ่มส่วนลดของเบียร์เจ้าตลาดให้อีก  ซึ่งผลออกมาก็คือ ร้านยอมรับเงื่อนไขนี้ ทำให้เบียร์คาราบาวค่อย ๆ หายไปจากหน้าร้าน  และต้องไปเน้นช่องทางการจำหน่ายของ คาราบาว กรุ๊ปเอง เช่น ร้านซีเจมอร์  ร้านถูกและดี และช่องทางการจำหน่ายใหม่ ๆ ที่สามารถคุยกันได้  คาราบาวกรุ๊ป ก็เจราจาทุกราย เช่น รายล่าสุดคือ แอร์ เอเชีย ที่มีเบียร์ของคาราบาวจำหน่ายตั้งแต่ช่วงสงกรานต์ที่ผ่านมา

INFO-ส่วนแบ่งตลาดเบียร์ 66-01.jpg
ข่าวที่น่าสนใจ

เรื่องเด่นประจำสัปดาห์