เม็ดเงินโฆษณาในไทย ปี 67 'ทีวี-นสพ.' หดตัว 'สื่อออนไลน์' พุ่ง

14 ธ.ค. 2566 - 11:22

  • สื่อเก่า ‘ทีวี-สนพ.-วิทยุ’ หดตัวต่อเนื่องตามพฤติกรรมผู้บริโภค

  • คาดเม็ดเงินโฆษณาในไทย ปี 67 รวม 84,549 ล้านบาท โตเพียง 4 %

  • MI GROUP ชี้ แบรนด์หันใช้ KOL ทำ Affiliate มีแนวโน้มโตขึ้น

Economy-Advertising-spending-Thailand-in-2024   -TV-and-newspapers-shrink-online-media-surge-SPACEBAR-Photo02.jpg

เม็ดเงินโฆษณาในไทย ปี 67  'ทีวี-นสพ.' หดตัว 'สื่อออนไลน์' พุ่ง

ภวัต เรืองเดชวรชัย PRESIDENT & CEO บริษัท มีเดีย อินเทลลิเจนซ์ กรุ๊ป จํากัด หรือ MI GROUP กล่าวว่า เม็ดเงินในอุตสาหกรรมโฆษณา ถือเป็นหนึ่งในตัวชี้วัดที่บ่งบอกสภาพเศรษฐกิจของ ขณะที่ปี 2567 ประเทศไทย ต้องเผชิญปัจจัยเสี่ยง ด้านกำลังซื้อของผู้บริโภคจะลดลงเนื่องจากหนี้ครัวเรือนสูง ประชาชนแบกรับค่าครองชีพ และมีความกังวลด้านมลพิษในอากาศ 

นอกจากนี้ยังมีปัญหาเรื่องความไม่เท่าเทียมในเรื่องการเข้าถึงเทคโนโลยีดิจิทัลทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำมากขึ้น รวมถึงปัญหาภูมิรัฐศาสตร์ที่ซับซ้อนมากขึ้น โดยประเมินตัวการเติบโตของเศรษฐกิจของไทย หรือ GDP ที่ 3.2 – 4.2 %  

โดยคาดการณ์ตัวเลขเม็ดเงินโฆษณาในไทยในปี 2567 จะอยู่ที่ 87,960 ล้านบาท เติบโตขึ้นเพียง 4% จากปี 2566 ที่เติบโต 4.4%  คิดเป็นเม็ดเงิน 84,549 ล้านบาท (เป็นตัวเลขที่มากสุดในรอบ 4 ปี นับตั้งแต่มีการระบาดของโควิด-19) โดยมีปัจจัยบวกที่คาดหวัง คือ จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ และนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจอย่าง เงินดิจิทัล  

สำหรับสัดส่วนของแนวโน้มของเงินโฆษณาในปี 2567 กลุ่มที่ถดถอยต่อเนื่องของสื่อดั้งเดิม เช่น โทรทัศน์ สื่อสิ่งพิมพ์ และวิทยุ โดยสื่อที่จะเติบโตขึ้นได้อย่างต่อเนื่องคือ สื่อออนไลน์ และสื่อนอกบ้าน หรือ สื่อ Out of Home ในขณะที่สื่อประเภทอื่นมีแนวโน้มทรงตัวและถดถอย

Screenshot 2566-12-14 at 15.22.48.png

จากข้อมูลจะพบว่า สื่อที่เม็ดเงินโฆษณาจะลดลง เช่น สื่อโทรทัศน์ จากปี 2566 คาดว่าเงินจะสะพัดอยู่ที่ 36,199 ล้านบาท คาดจะลดลงในปี 2567 อยู่ที่ 35,475 ล้านบาท หรือลดลงราว 724 ล้านบาท 

ส่วนสื่อที่เติบโตโดดเด่น คือ สื่อนอกบ้าน หรือ สื่อ Out of Home จากปี 2566 อยู่ที่ 12,101 ล้านบาท คาดเพิ่มขึ้นเป็น 13,311 ล้านบาท หรือคิดเป็นเม็ดเงินที่เพิ่มขึ้น 1,210 ล้านบาท 

และ สื่อออนไลน์ ได้แก่ แพลตฟอร์ม Facebook Instagram Tiktok  X หรือ Twitter และ Youtube จากปี 2566 คาดอยู่ที่ 28,999 ล้านบาท คาดเพิ่มขึ้นเป็น 31,899 ล้านบาท หรือคิดเป็นเม็ดเงินที่เพิ่มขึ้น 2,900 ล้านบาท โดยนักการตลาดยังคงนิยม ใช้งบไปกับ Facebook Instagram เป็นอันดับต้นๆตามพฤติกรรมผู้บริโภคชาวไทย

SPB-BERM-05034.jpg
Photo: MI GROUP

ปี 67 สื่อออนไลน์ โตเป็นหลัก จาก 2.9 หมื่น ไป 3.2 หมื่นล้าน และสื่อ Out of home ที่เติบโต ส่วนสื่อทีวี ลดลง (decline) มันทำให้หลายคิดว่า สื่อสองกลุ่ม ที่เติบโต น่าจะโตสองหลัก แต่ สื่อทีวี เวลาลด มันลดเยอะ เพราะเม็ดเงินมหาศาล ’

ภวัต เรืองเดชวรชัย PRESIDENT & CEO MI GROUP

เมื่อฝั่งสื่อออนไลน์เติบโตเร็ว แต่สื่อดั้งเดิมแทบไม่กระเตื้องทำให้สื่อ “ทีวี” ถูกแบ่งเม็ดเงินไปยังแพลตฟอร์มอื่นมากขึ้น เช่น “ยูทูบ” (YouTube) และ “สตรีมมิ่ง” (Streaming Service) แพลตฟอร์มที่ตอบโจทย์การลงโฆษณาได้ใกล้เคียงกับสื่อทีวีมากที่สุด ทำให้การเติบโตของ YouTube, Streaming Platforms และ TikTok รวมไปถึงเหล่า Digital Content Creator เป็นตัวขับเคลื่อนการเติบโตของสื่อออนไลน์ในปี 2567  

แบรนด์ ทุ่มเม็ดเงินสื่อสารการตลาดด้วย KOL และ Influencer ราว 15-20%

ภวัต เรืองเดชวรชัย PRESIDENT & CEO MI GROUP เสริมว่า สื่อออนไลน์ โดยเฉพาะกลุ่ม KOL และ Influencer เข้ามามีบทบาทมากขึ้น​ สะท้อนจากลูกค้าที่ใช้ MI GROUP มีการแบ่งงบการตลาดไปกับกลุ่ม KOL หรือ Key Opinion Leader   (ผู้นำทางความคิด) และ Influencer (คนที่มีอิทธิพลบนสื่อโซเชียลมีเดียที่มีผู้ติดตามจำนวนมาก) ราว 15-20% ของงบประมาณ รวมถึงกลุ่มเป้าหมาย ก็มีความหลากหลาย แตกกลุ่มหลากหลายมากขึ้น และซับซ้อนขึ้น ดังนั้น Influencer ที่เป็นเบอร์ใหญ่ อาจจะไม่ได้ตอบโจทย์ทุกสินค้า 

และที่น่าสนใจ คือ กลยุทธ์ Affiliate Marketing คือ รูปแบบการทำการตลาดให้กับบุคคลหรือบริษัทอื่นด้วยการโปรโมตสินค้าและบริการผ่านช่องทางของ Content Creator โดยทางแบรนด์จะแบ่งผลประโยชน์ให้กับตัว KOL และ Influencer โดยตรง ก็เป็นอีกรูปแบบที่เริ่มนิยมใช้มากขึ้น เพราะผู้บริโภคเชื่อถือ (Trust) และอยากอุดหนุน ในตัว Content Creator ซึ่งปัจจุบันยังนิยมในกลุ่มสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ที่ผู้บริโภคไม่จำเป็นต้องคิดมากเกินไปก่อนจะตัดสินใจซื้อ เพราะราคาไม่สูงมาก (Low Involvement)

วันนี้เราเห็น Influencer ส่วนหนึ่งกลายระดับเป็น Next Level คือ ทำ Affiliate อาจจะไม่ได้รับค่าจ้างโดยตรง แล้วไปหวังผลในการแบ่ง GP (ค่าคอมมิชชัน) กับสินค้าที่แบรนด์ ทำโมเดล Affiliate มากกว่า ขณะที่ Influencer บางส่วนยังทำหน้าที่แค่ Awareness แต่ Affiliate Marketing จะใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ

ภวัต เรืองเดชวรชัย PRESIDENT & CEO MI GROUP

ภวัต เรืองเดชวรชัย PRESIDENT & CEO MI GROUP ย้ำถึงสาเหตุที่ทำให้การทำ Affiliate Marketing เติบโตขึ้น เพราะตอบโจทย์ของทั้งฝั่ง Content Creator และ ผู้ประกอบการที่ต้องการยอดขายเพิ่มขึ้น เนื่องจากสามารถวัดผลได้ทันที ง่ายในการปรับกลยุทธ์  

ขณะเดียวกันทาง MI GROUP ยังเปิดตัว “The Surfer Kits” ซึ่งเป็นชุดอุปกรณ์คู่มือที่รวบรวมตัวช่วยให้ธุรกิจสามารถก้าวข้ามผ่านอุปสรรคสู่ความสำเร็จตลอดปี 2567 เพื่อเป็นการสนับสนุนและส่งเสริมความสามารถในการแข่งขันให้แก่พันธมิตรทางธุรกิจควบคู่ ไปกับการยกระดับอุตสาหกรรมสื่อโฆษณาของไทย

Economy-Advertising-spending-Thailand-in-2024   -TV-and-newspapers-shrink-online-media-surge-SPACEBAR-Photo01.jpg

สำหรับ The Surfer Kits เกิดจากความร่วมมือกับ dots academy และ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ (CBS)  ดีไซน์ด้วย คอนเซ็ปต์ “รู้ตัว รู้ทัน รู้ทาง“ เริ่มจากผู้ประกอบการเริ่มต้นทบทวนธุรกิจของตัวเอง สำรวจจุดแข็งจุดอ่อน จากนั้นเข้าสู่กระบวนการประเมินผลการบริการของแบรนด์ ด้วยการทำแบบทดสอบออนไลน์ที่ทีมงานร่วมกันออกแบบ AI  และปิดท้ายด้วย คำแนะนำด้านกลยุทธ์การสื่อสารการตลาดที่แบรนด์ ควรนำมาปรับใช้ในธุรกิจนั้นๆตามเทรนด์ของ เพื่อให้ฝ่าฝันความเสี่ยงในการทำธุรกิจ และสร้างยอดขายให้เป็นไปตามเป้าหมายในปี 2567

เรื่องเด่นประจำสัปดาห์