‘บ้าน’ คือ ‘หนี้สิน’ หรือ ‘ทรัพย์สิน’ กันแน่ ?

29 ก.พ. 2567 - 14:44

  • ยิ่งปล่อยเวลาให้นานไป ยิ่งเป็นเจ้าของบ้านยากขึ้น ?

  • บ้านราคา 2 ล้าน จะเพิ่มเป็น 4 ล้านภายใน 10 ปี

  • อีกแนวคิดมอง ‘บ้านเพื่ออยู่อาศัย’ คือ ‘หนี้สิน’ ไม่สร้างกระแสเงินรับ

Economy- Home-is-debt-Or-is-it-property-SPACEBAR-Hero.jpg

ข้อมูลจาก Krungsri The COACH ระบุว่า บ้าน ถือ ทรัพย์สินที่มีราคาสูง คนส่วนใหญ่จึงสามารถเป็นเจ้าของได้ด้วยการขอสินเชื่อ ซึ่ง บ้าน ถือเป็นสินทรัพย์ที่มีแต่ราคาเพิ่มขึ้น ไม่มีขาดทุน (เว้นแต่เจ้าของตั้งใจขายขาดทุน เพราะรีบใช้เงิน) ช่วง 10 ปี ที่ผ่านมา ราคาอสังหาริมทรัพย์โต เฉลี่ยที่ปีละ 6-8 % มากกว่ารายได้เฉลี่ยที่จะโตอยู่ที่ 3-5 % 

ยกตัวอย่าง มีบ้านหลังหนึ่ง วันนี้ ราคาหลังละ 2 ล้านบาท เรามีรายได้ 30,000 บาทต่อเดือน ถ้าจะซื้อบ้านหลังนี้ได้ เราต้องทำงานประมาณ 67 เดือน แล้วเอาเงินเดือนทั้งหมดมาเก็บสะสมเพื่อซื้อบ้าน

Screenshot 2567-02-29 at 21.07.25.png

แต่เมื่อผ่านไป 10 ปี บ้านหลังเดิมที่ราคา 2 ล้านบาท มีแนวโน้มจะปรับราคาเป็น 3,500,000-4,300,0000 บาท  เมื่อมาดูที่รายได้ที่ผ่านไป 10 ปี อาจจะเพิ่มขึ้นเป็น 40,300-48,000 บาท/เดือน  เมื่อนำราคาบ้านมาหาร กับเงินเดือนต้องทำงาน 88 เดือน ซึ่งจะสามารถเป็นเจ้าของบ้านหลังเดิมได้

ผ่านไป 10 ปี เราอาจจะต้องใช้เงินเก็บมากกว่ากรณีแรก หมายความว่า ยิ่งเวลาผ่านไป เรายิ่งเป็นเจ้าของบ้านได้ยาก และมีแนวโน้มที่บ้านจะราคาสูงขึ้นเรื่อยๆ ซึ่ง บ้าน ถือว่าเป็นทรัพย์สินที่เป็นอสังหาริมทรัพย์ ที่สามารถเพื่อหาประโยชน์จากส่วนต่างกำไรได้ แต่ข้อจำกัด คือ เป็นสินทรัพย์ที่สภาพคล่องไม่สูงเท่าสินทรัพย์ อย่าง ทองคำ และ กองทุน เป็นต้น

Screenshot 2567-02-29 at 21.08.46.png

แต่ต้องเน้นย้ำ ว่า การคิดราคาบ้านข้างต้น ไม่นับรวมดอกเบี้ยบ้าน ที่ส่วนใหญ่สินเชื่อบ้านจะอ้างอิงตามดอกเบี้ย MRR (Minimum Retail Rate) หรือ ดอกเบี้ยรายย่อยชั้นดี  ปัจจุบัน (ก.พ.67) สถาบันการเงินคิดดอกเบี้ย MRR ตั้งแต่ระดับ  6.8450- 10.1500 %  แล้วแต่เงื่อนไขของธนาคาร ซึ่งถือเป็นอัตราที่ค่อนข้างสูง ซึ่งเป็นไปตามนโยบายดอกเบี้ยขาขึ้น

ขณะที่อีกแนวคิด ของ โรเบิร์ต คิโยซากิ  ผู้เขียนหนังสือที่ชื่อว่า "พ่อรวยสอนลูก"  ก็ได้นิยามของสินทรัพย์และหนี้สินไว้ อย่างน่าสนใจว่า  

"สินทรัพย์" คือ สิ่งที่ถือครองแล้วจะสามารถสร้าง "กระแสเงินสดรับ" ได้มากกว่า "กระแสเงินสดจ่าย"

Screenshot 2567-02-29 at 21.35.23.png

ส่วน "หนี้สิน" คือ สิ่งที่ถือครองแล้วจะสามารถสร้าง "กระแสเงินสดรับ" ได้น้อยกว่า "กระแสเงินสดจ่าย" รวมถึง หนี้สินจะมีคุณสมบัติ ในดึงเงินออกจากระเป๋าเราไปเรื่อยๆ อย่างต่อเนื่อง

นั่นหมายความว่า คือ บ้านเพื่ออยู่อาศัย เป็น หนี้สิน  แต่มีข้อดี คือ ระหว่างผ่อนบ้านไป เราก็สามารถเข้าพักอาศัยได้ เป็นที่อยู่สำหรับการทำกิจการต่างๆ รวมถึงหากมีความจำเป็นต้องใช้เงินขึ้นมา สามารถเอาบ้านไปขอสินเชื่อได้ ตามเงื่อนไขที่ธนาคารนั้นๆกำหนด 

ซึ่งแตกต่างจาก บ้าน หรือ ที่อยู่อาศัย ที่ซื้อไว้เพื่อลงทุน ปล่อยเช่า หรือ ขายต่อ ที่สามารถสร้างกระแสเงินสดรับ ได้มากกว่ากระแสเงินสดจ่าย หากมีลูกค้าต่อเนื่อง 

ดังนั้น พอจะอนุมานได้ว่า เราจะมองว่าบ้านเป็นทรัพย์สิน หรือ หนี้สิน ก็ขึ้นอยู่กับจุดประสงค์ในการซื้อบ้านหลังนั้นว่า มี กระแสเงินสดที่ได้รับในแต่ละช่วงเวลาอย่างไร

เรื่องเด่นประจำสัปดาห์