JFIN Chain เชื่อมธุรกิจโตด้วย Blockchain

28 มกราคม 2567 - 23:30

Economy- JFIN-Chain-Connecting-businesses-to-grow-with-Blockchain-SPACEBAR-Hero.jpg
  • ‘JFIN Chain’ โชว์ยูสเคส ลูกค้า ‘สุกี้ตี๋น้อย’ ดึงลูกค้าเข้าฺ Blockchain แล้ว 3 แสนราย

  • เชื่อ องค์กรพร้อมเดินหน้าสู่ 'Data Driven Company'

กิน สุกี้ตี๋น้อย สะสม เหรียญ NFT บน Blockchain แบบ Seamlees

เจ เวนเจอร์ส ผู้พัฒนาแพลตฟอร์มและเทคโนโลยีด้าน Digital Transformation  ในกลุ่มเจ มาร์ทกรุ๊ป (Jaymart Group)  เจ้าของและ Blockchain สัญชาติไทย ‘JFIN Chain’ ถือเป็นบริษัทอันดับต้นๆของประเทศ ที่รันวงการ Blockchain ในประเทศไทย

ใครที่เป็นสายเทรดคริปโทฯ คงคุ้นเคยกับเหรียญ JFIN ที่เปิดให้เทรดในหลายกระดาน แต่ในบทความนี้ เราจะไม่ได้พูดถึงความหวือหวาในตัวราคาของเหรียญ 

แต่เราจะพาทำความเข้าใจหนึ่งในระบบนิเวศน์ของ ‘JFIN Chain’ ด้วยการนำระบบ Blockchain มาใช้ประโยชน์ในภาคธุรกิจ โดยหนึ่งในร้านที่ได้ทดลองใช้ระบบแล้ว คือ ‘สุกี้ตี๋น้อย’ ซึ่งเป็นของ บี เอ็น เอ็น เรสเตอรองท์ กรุ๊ป (BNN) โดยถือเป็นหนึ่งในธุรกิจของ Jaymart Group (Jaymart ถือหุ้น 30%)

ธนวินท์ รัฐเมธา รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เจ เวนเจอร์ส จํากัด เปิดเผยว่า ทีมงานเข้าใจ Point Pain ของธุรกิจร้านอาหาร ว่าลูกค้าไม่ต้องการความยุ่งยาก หรือ ต้องการโหลดแอปพลิชั่น ทำการยืนยันตัวตนที่เรียกว่า KYC (Know Your Customer)  เพียงเพื่อต้องการสะสมแต้ม เนื่องจาก พฤติกรรมของลูกค้าต้องการความคุ้มค่า และสิทธิประโยชน์ 

สิ่งที่ทาง เจ เวนเจอร์ส ทำ คือ การทำให้ Customer touch point รู้สึกสะดวกมากที่สุด เทคนิค คือ การนำแอปฯ Join ซึ่งเป็นแอปฯ Web3 โดยเป็นแอปฯหลักที่เปิดสำหรับกระเป๋าเงินดิจิทัล เชื่อมต่อกับระบบหลังบ้านของ LINE OA ของร้านสุกี้ตี๋น้อย เพื่อให้ลูกค้าได้สะสมแต้มในช่องทางนี้ LINE OA  เพื่อได้รับสิทธิแต้มสะสมเป็น NFT Token (Utility Token)

เขาเปรียบเทียบให้เห็นภาพชัดขึ้นว่า แต้มสะสมที่ได้รับจากการทานสุกี้ จะถูกเปลี่ยนเป็นเหรียญรางวัลในรูปแบบ ‘NFT’ สถานะคล้ายกับ ‘Vouchor Digital’ ที่ให้สิทธิประโยชน์ในการใช้งานมีวงจำกัด แค่ในร้านสุกี้ตี๋น้อย  หรือ ร้านอาหารอื่นๆที่ได้รับอนุญาตจากร้านสุกี้ตี๋น้อย

Screenshot 2567-01-29 at 12.48.30.png
Photo: สุกี้ตี๋น้อย

ข้อดี คือ การสะสมแต้มในรูปแบบ NFT ฝั่งลูกค้าสะดวกสบาย ไม่ต้องเก็บหลักฐานเป็นกระดาษ 

ในขณะที่ฝั่งร้านค้าเอง ร้านไม่ต้องกลัวการถูกโกง หรือ ปลอมแปลงข้อมูล เพราะการเก็บข้อมูลใช้ระบบ Blockchain สามารถจัดการข้อมูลได้ง่าย รวมถึง สามารถนำข้อมูลที่เป็น Big Data นี้ไปใช้ในการวางกลยุทธ์ขยายสาขา หรือ จัดกิจกรรมร่วมกับสมาชิกได้

thumbnail (1).jpeg

สุกี้ตี๋น้อย มีคนเดินเข้า-ออก ทั้ง 47 สาขาทั่วประเทศ วันละ 50,000 คน แต่วันนี้เราสามารถสร้าง Community ดึลลูกค้า 300,000 คน เข้ามาให้ข้อมูล LINE OA แต่ต้องย้ำว่าข้อมูลพวกนี้ เป็นข้อมูลของ สุกี้ตี๋น้อย ไม่ใช่ เจ เวนเจอร์ส ผมเป็นแค่คนที่อำนวยความสะดวก (Provide) เทคโนโลยีให้ เพราะเราอยู่ในเครือเดียวกัน แต่สุดท้ายแล้ว สุกี้ตี๋น้อย ต้องเอาข้อมูลทั้งหมดนี้ไปต่อยอดเอง

ธนวินท์ รัฐเมธา รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เจ เวนเจอร์ส จํากัด

JFIN Chain  ประกาศเดินหน้าเป็น Blockchain B2B อันดับ 1 ของไทย

ธนวัฒน์  เลิศวัฒนารักษ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เจ เวนเจอร์ส จํากัด เผยว่า บริษัทในเครือ JMART ที่มีถึง 32 บริษัท รวมกว่า 10,000 Touchpoint  ‘สุกี้ตี๋น้อย’ เป็นหนึ่งในธุรกิจที่มีศักยภาพในแง่ของการใช้งานในวงกว้างแก่คนทั่วไป (Mass Adoption) หรือ เรียกได้ว่าเป็น Sandbox ที่กำลังทดลองใช้ Blockchain หรือ Proof of Concept 

สิ่งที่ ‘สุกี้ตี๋น้อย’ มองในระยะถัดไป คือ การขยายเครือข่ายในการใช้สิทธิ NFT เช่น ร้านกาแฟ คาซ่า ลาแปง เป็นต้น เพื่อทำให้มันเกิด Community หรือ Eco System มีร้านค้าที่ใช้งานมากขึ้น ข้ามแบรนด์กันได้ 

ธนวัฒน์  เลิศวัฒนารักษ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เจ เวนเจอร์ส จํากัด ย้ำว่า ‘JFIN Chain’ เดินหน้าเป็น Blockchain สำหรับภาคธุรกิจ โดยย้ำว่า จุดแข็ง คือ  การทำ Tokenization คือ การแปลงหรือทำให้สินทรัพย์ต่างๆ อยู่ในรูปแบบดิจิทัล เป็นกระบวนการที่สินทรัพย์ถูกแปลงเป็น 'โทเคน (Token)' บน Chain ของ JFIN รวมถึง ฟังก์ชั่นอื่นๆ

thumbnail (2).jpeg

ธุรกิจรายไหน อยากจะมาเปิดธุรกิจในเมืองนี้ เรามีถนนให้วิ่ง เรามีเครื่องมือให้ คุณสามารถเปิดธุรกิจ ได้เลย อยู่ที่ว่า ธุรกิจนั้น อยากจะสร้างเหรียญอะไร กี่เหรียญ

ธนวัฒน์ เลิศวัฒนารักษ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เจ เวนเจอร์ส จํากัด

ปี 2024 เดินหน้าหาลูกค้าต่อเนื่อง เบื้องต้น มีทั้งกลุ่มธนาคาร และสถาบันการศึกษา ที่กำลังมีการพูดคุยโปรเจคกันอยู่ หลังจากปี 2023 ที่ผ่านมา ประสบความสำเร็จในแง่ของการ Collaborate กับภาคธุรกิจ ประกอบกับ Jaymart Group มีลูกค้าที่มี Data base ทั้งหมดใน 10 อุตสาหกรรม หรือ 10 ไลฟ์สไตล์ ถึง 11 ล้านราย โดยมีจุด Touch points ทั่วประเทศถึง 10,000 แห่ง ทำให้มีประสบการณ์ในการทำงานร่วมกับหลายอุตสาหกรรม

JFIN Chain  เชื่อ องค์กรพร้อมเดินหน้าสู่ Data Driven Company

ธนวัฒน์  เลิศวัฒนารักษ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เจ เวนเจอร์ส จํากัด กล่าวอีกว่า ความแข็งแรงของธุรกิจในเครือ Jaymart Group ทำให้เขาตั้งเป้าในระยะถัดไป ให้องค์กรเดินหน้าสู่ Data Driven Company

กล่าวคือ องค์กรที่จะเป็น Data Driven Company ได้ต้องประกอบด้วย 2 องค์ประกอบ คือ 

1. Data Capturing คือ การจัดเก็บ และรวบรวมข้อมูล​ ซึ่งทุกวันนี้ กลุ่ม Jaymart แม้จะมีข้อมูลเยอะมาก แต่ยังไม่สามาถรวบรวมจนเป็น Data Driven ได้  จึงถือเป็นโจทย์ที่บริษัทจะต้องเดินหน้าในเฟสถัดไป

โดยหนึ่งในเครื่องมือ Data Capturing คือ  การใช้ IOT (Internet of Things) ในการอำนวยความสะดวก เพื่อจัดการกับความต้องการของลูกค้า หรือ เรียกได้ว่า รู้จักลูกค้ามากกว่าลูกค้ารู้จักตัวเอง

2. การมี Chain ที่พร้อมใช้ ซึ่งปัจจุบัน JFIN Chain มี infrastructure อย่างพร้อมใช้ เปรียบเสมือน การสร้างเมือง ตัดถนน เพื่อให้พร้อมรองรับความต้องการของภาคธุรกิจ 

ธนวัฒน์  เลิศวัฒนารักษ์ ทิ้งท้ายว่า การที่เทคโนโลยี ได้ก็ตามจะสามารถถูกนำมาใช้แพร่หลายเป็นวงกว้างได้ ในฝั่งของเอกชนก็พยายามขับเคลื่อน ไปพร้อมๆภาคธุรกิจ หรือ ผู้ใช้งาน แต่ในขณะเดียวกันรัฐบาลในฐานะ Regulator ก็กำลังจับตาว่าสิ่งที่กำลังเดินหน้ากันอยู่นี้ จะมีผลดีหรือผลเสียหรือไม่ อย่างไร และค่อยๆอนุญาตให้ดำเนินการต่ออย่างไร เพื่อไม่กระทบกับเสถียรภาพของการเงินในระบบเศรษฐกิจจริง

*ทุกการลงทุนมีความเสี่ยง บทความนี้ไม่ได้เป็นการแนะนำหรือชักชวนให้ลงทุน

ข่าวที่น่าสนใจ

เรื่องเด่นประจำสัปดาห์