MIXUE ชู ขายถูก สู่ร้านอาหารมากที่สุดท็อป 5 ของโลก

12 มกราคม 2567 - 09:32

Economy-Looking-at-strategies-Cheap-price-of- MIXUE-SPACEBAR-Hero (1).jpg
  • MIXUE ชู ‘กลยุทธ์ราคาถูก’ สู่สาขา 200 แห่งในกทม.และปริมณฑล

  • ไอศกรีมซอฟต์เสิร์ฟ ราคาเริ่มต้น 15 บาท

  • ตั้งเป้าขยายอีก 2,000 สาขาในภูมิภาคทั่วไทย

MIXUE ชู 'กลยุทธ์ขายถูก' สู่ร้านอาหารมากที่สุดท็อป 5 ของโลก

ปี 2564 Mixue ร้านไอศกรีมและชา ร้านต้นตำรับสัญชาติจีน เริ่มเข้ามาดำเนินธุรกิจสาขาแรกที่ประเทศไทย ที่ซอยรามคำแหง 53 ภายใน 2 ปี สามารถขยายสาขา 200 แห่งในกทม.และปริมณฑล 

และหลังจากนี้อีก 2 ปีข้างหน้า หรือ ภายในปี 2568 วางแผนขยายสาขาไปยังต่อจังหวัด สอดคล้องกับ เพจ Mixue Thailand HR  ประกาศเปิดรับสมัครพนักงานด่วน จำนวนมาก เพื่อพาธุรกิจขยายไปยังต่างจังหวัดภายใน 2 ปีจากนี้ ให้ได้  2,000 สาขา โดยมีข้อมูลว่าราคาของ แฟรนไชส์ คิดค่าแฟรนไชส์ ไม่ต่ำกว่าหลักล้าน

20240112_022041000_iOS.jpg

บริษัท Mixue มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ประเทศจีน ดำเนินธุรกิจไอครีมและเครื่องดื่มชาผลไม้ประเภทต่างๆมา ตั้งแต่ปี 1997 ที่ผ่านมา Mixue มีสาขามากกว่า 11 ประเทศ เช่น ออสเตรเลีย เวียดนาม ลาว สิงคโปร์ กัมพูชา และ ฟิลิปปินส์ เป็นต้น ปัจจุบัน Mixue ทั่วโลกได้มีการขยายสาขาอย่างรวดเร็วมีสาขามากกว่า 36,000 สาขา และเป็นร้านอาหารและเครื่องดื่ม ที่มีสาขามากที่สุดเป็นอันดับ 5 ของโลก รองจาก แม็คโดนัล , ซับเวย์, สตาร์บัคส์ และ เคเอฟซี เท่านั้น  

สำหรับปัจจัยที่ทำให้ Mixue สามารถประสบความสำเร็จในการขยายสาขาอย่างรวดเร็วทั่วโลกมาจาก กลยุทธ์การตั้งราคาที่ถูก อย่างในประเทศจีน จำหน่ายไอศกรีมซอฟต์เสิร์ฟแค่ 2 หยวน หรือ ประมาณ 10 บาท 

ส่วนราคาในไทยอยู่ที่ 15 บาท ทำให้ได้รับความนิยมจากคนทุกเพศ ทุกวัย ประกอบกับ แพคเกจจิ้งของสินค้าและภาพลักษณ์การตกต่างร้านที่สวยงาม ชูไฮไลท์ คือ ตัวการ์ตูน Snow King ตุ๊กตาสโนว์แมนสวมมงกุฎ ทำให้ลูกค้าหลายคนพอใจในความคุ้มค่า และรสชาติที่ไม่ได้แตกต่างกับแบรนด์อื่นๆมากนัก

20240112_021539000_iOS.jpg

ถอดบทเรียน กลยุทธ์ราคาถูก ย่อมมี 'ข้อควรระวัง' 

สำหรับ Mixue ถือเป็นแบรนด์ที่สามารถนำกลยุทธ์ราคาถูกมาสร้างและขยายการเติบโตของธุรกิจได้สำเร็จ แต่ในขณะเดียวกัน ธุรกิจหรือแบรนด์ไหน ที่จะนำกลยุทธ์นี้ไปประยุกต์ใช้อาจจะต้องคำนึงถึงผลดี และผลเสียที่จะเกิดขึ้นด้วย   

สำหรับ ข้อดีของการใช้กลยุทธ์ราคาถูก ได้แก่

1.สินค้าเป็นที่รู้จักอย่างรวดเร็ว เนื่องจากราคาเข้าถึงง่าย ถูกกว่าเจ้าเดิมที่มีอยู่ในตลาด 

2.สามารถเพิ่มยอดขายได้ ซึ่งส่วนใหญ่ผู้ประกอบการจะใช้วิธีออกกลยุทธ์โปรโมชั่น เพื่อเป็นการดึงดูดการขาย 

3. สร้างลูกค้าใหม่ให้กลายเป็นลูกค้าจงรักภักดี (Loyalty Customer) หากสามารถทำการตลาดเพื่อเปิดใจให้ลูกค้าซื้อสินค้าของแบรนด์ได้แล้ว สิ่งที่สำคัญถัดมา คือ การจูงใจให้เกิดการซื้อซ้ำและชื่นชอบแบรนด์เพื่อให้กลายเป็นลูกค้าที่จงรักภักดีต่อแบรนด์

20240112_022407000_iOS.jpg

ส่วน ข้อเสียที่ต้องพึงระวังในการใช้กลยุทธ์ราคาถูก ได้แก่ 

1.เพิกเฉยกับแบรนด์เมื่อขายของแพง กล่าวคือ เมื่อผู้ประกอบเริ่มต้นจากการเป็นผู้ขายสินค้าราคาถูก เมื่ออนาคตต้องการออกสินค้าตัวใหม่ที่มีราคาแพง อาจจะทำให้ผู้บริโภคเพิกเฉยต่อสินค้าใหม่ เพราะลูกค้าเกิดภาพจำกับแบรนด์นี้แล้ว 

2.คุณค่าธุรกิจลดลง ภาพลักษณ์สินค้าที่ราคาถูกอาจจะให้ลูกค้าอาจจะมองว่าสินค้าด้อยคุณภาพกว่าเจ้าอื่นด้วย 

3.การบริหารสต็อก เนื่องจากการขายสินค้าราคาถูก เป็นการเน้นขายในปริมาณมากๆ เพื่อเน้นกำไรต่อชิ้นน้อย และหันมาโฟกัสที่ปริมาณเพื่อให้ได้กำรมาก ดังนั้น หากประเมินความต้องการตลาดไม่ถูก บริหารผิดพลาด อาจจะทำให้เสียโอกาสในการทำธุรกิจได้  

4.กระทบภาพรวมตลาด การใช้กลยุทธ์ราคาถูก หรือการทุบตลาด ถือเป็นประโยชน์สูงสุดแก่ลูกค้า แต่ในฝั่งของคนขาย หรือ ผู้ประกอบการร่วมอุตสาหกรรมตั้งแข่งขันกันเอง มีการแข่งขันกันสูงขึ้น (Red Ocean) คนที่ขายแพงจะขายยากขึ้น เพราะต้องหันมาสู้กันที่ราคา  

ดังนั้น หากผู้ประกอบการ หรือ เจ้าของแบรนด์สินค้าจะนำ กลยุทธ์ราคาถูก ไปใช้ก็ควรต้องประเมินอย่างรอบด้านก่อนว่าผลลัพธ์คุ้มค่าต่อธุรกิจของคุณหรือไม่ รวมถึงจะส่งผลต่อภาพรวมทั้งอุตสาหกรรมเดียวกันด้วยมากหรือน้อยแค่ไหน

ปี 66 นิติบุคคลธุรกิจอาหาร จดทะเบียนโต 32.75%

ข้อมูลจาก กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า มีนิติบุคคลที่จดทะเบียนธุรกิจร้านอาหารในปี 2565 จำนวน 3,014 ราย ส่วนปี 2566 อยู่ที่ 4,001 ราย ถือเป็นอัตราที่เติบโตขึ้น 32.75% ขณะที่มูลค่าทุนจดทะเบียนจากปี 2565 อยู่ที่ 6,581 ล้านบาท ในปี 2566 เพิ่มขึ้นเป็น 8,046 ล้านบาท คิดเป็นอัตราเติบโต 22.25%

เรื่องเด่นประจำสัปดาห์