ก.ล.ต. เพิ่มมาตรการ คุมเข้ม ‘ขายชอร์ต-โรบอทเทรด’

11 มีนาคม 2567 - 11:17

S__1892645_0.jpg
  • ก.ล.ต. เพิ่มมาตรการ คุมเข้ม ‘ขายชอร์ต-โรบอทเทรด’

  • พร้อมแจงคืบหน้าคุมเข้มบล.

พรอนงค์ บุษราตระกูล เลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เปิดเผยว่า ก.ล.ต. ได้เตรียมปรับปรุงแนวทางการกำกับดูแลการขายชอร์ต (short selling) และการใช้คอมพิวเตอร์ส่งคำสั่งซื้อขาย (program trading) เพื่อยกระดับการกำกับดูแลและเพิ่มความเชื่อมั่นแก่นักลงทุน ได้แก่ แนวทางปรับปรุงการกำกับดูแลธุรกรรม Short Selling

โดยมีเป้าหมาย 1. เพิ่มกลไกสร้างความเชื่อมั่นในการซื้อขาย ดังนี้

1.1  เพิ่มคุณภาพหุ้นที่สามารถ Short Selling (Eligible Securities) : เพิ่มเงื่อนไขของหุ้นกลุ่ม Non-SET100 
ที่สามารถขายชอร์ตได้ โดยเพิ่มมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด (market capitalization) และเกณฑ์สภาพคล่อง
ของหุ้น (turnover)

1.2  ปรับปรุงเกณฑ์ซื้อขายของตลาดหลักทรัพย์ (trading rules) เพื่อจำกัดความผันผวนของราคาหลักทรัพย์

1.2.1  เพิ่มการใช้ราคาขายชอร์ตที่ต้องสูงกว่าราคาซื้อขายครั้งสุดท้าย (Uptick Rule) เมื่อราคาหุ้นลดลงตั้งแต่ 10% ขึ้นไปของราคาปิดวันก่อนหน้า

1.2.2  กำหนดเพดานขายชอร์ตรายหลักทรัพย์รายวัน (daily Short Selling limit)

1.2.3  เปิดเผยยอดขายชอร์ตคงค้างรายวัน (Outstanding short position)

เป้าหมาย 2:  ป้องปรามการขายชอร์ตไม่เป็นตามเกณฑ์ (Naked Short Selling) ดังนี้

2.1  เพิ่มคุณภาพการทำหน้าที่ตรวจสอบของตัวกลาง : 

2.1.1  บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ต้องดำเนินการดังต่อไปนี้

ทำความรู้จักระบบงานของลูกค้า (Know Your Process: KYP) กรณีลูกค้าที่เป็นตัวกลาง เพื่อให้ลูกค้าทราบ/เข้าใจหลักเกณฑ์ และสื่อสารให้ลูกค้าในชั้นต่อไป  และเพื่อสร้างความมั่นใจว่าลูกค้าตัวกลาง มีระบบควบคุม ติดตามการปฏิบัติตามเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง

มีข้อตกลงกับลูกค้ายินยอมปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงยินยอมให้ บล. ไล่เบี้ยค่าปรับกรณีที่ บล. ต้องชำระค่าปรับเนื่องจากลูกค้าไม่ปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ และ บล. ต้องบังคับตามข้อตกลงดังกล่าวด้วย

มีระบบงานรับส่งคำสั่งที่มีประสิทธิภาพ และกลั่นกรองคำสั่งโดยตรวจสอบเอกสารเพื่อยืนยันว่าลูกค้ามีหลักทรัพย์ตามคำสั่ง

มีระบบ post trade monitoring สุ่มตรวจธุรกรรม short / long sell และรายงานให้ regulator ทราบโดยไม่ชักช้า เมื่อพบเหตุที่น่าสงสัย

2.1.2  พัฒนาระบบกลาง ให้ บล. ตรวจสอบหลักทรัพย์ได้

2.1.3  เพิ่มอัตราโทษ บล. ที่ไม่ทำตามเกณฑ์ให้เทียบเท่าต่างประเทศ อาทิ กรณีพบ Naked Short Selling 
จะปรับ 3 เท่าของกำไร (ขั้นต่ำ 1 ลบ.) กรณีการทำธุรกรรม Short Selling ไม่ทำตามเกณฑ์ 
จะปรับไม่เกิน 0.3 ลบ./ครั้ง

2.2  แก้กฎหมายเพิ่มความรับผิดตลอดสาย: ลงโทษ/บังคับใช้กฎหมายกับผู้ลงทุนที่ไม่ทำตามเกณฑ์ขายชอร์ต
และสร้างกลไกที่ทำให้ทราบถึงผู้รับผลประโยชน์ที่แท้จริง (End-Beneficial Owner)

2.3  เพิ่มการทำหน้าที่ผู้เก็บรักษาทรัพย์สิน (Custodian) ในฐานะ Gatekeeper: โดยให้ custodian
แจ้งวัตถุประสงค์การโอน เพื่อการสอบยันการทำรายการยืม

แนวทางปรับปรุงการกำกับดูแลการใช้คอมพิวเตอร์ส่งคำสั่งซื้อขาย (Program Trading) / การส่งคำสั่งด้วยความเร็วสูง (High Frequency Trading : HFT)

เป้าหมาย : เพิ่มกลไกสร้างความเชื่อมั่นในการซื้อขายโดยรวม 

1.  ดำเนินการให้สามารถรู้ตัวตนลูกค้าและตรวจสอบได้ : 

ขึ้นทะเบียน (Register) ผู้ลงทุนประเภท HFT กับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) เพื่อให้สามารถติดตามการซื้อขายของผู้ลงทุน HFT ได้

2.  ทบทวนพฤติกรรมไม่เหมาะสม :

2.1  เพิ่มลักษณะคำสั่งซื้อขายไม่เหมาะสมให้ครอบคลุมพฤติกรรมการซื้อขายในปัจจุบัน

2.2  จัดทำระบบกลางคัดกรองคำสั่งไม่เหมาะสม (Central Order Screening) 

2.2  กำหนดระยะเวลาขั้นต่ำของคำสั่งที่เข้ามา ก่อนที่จะสามารถยกเลิกคำสั่งนั้นได้ (Order Resting Time) 
เพื่อป้องกันคำสั่งใส่ถอนถี่เกินไป (spoofing)

3.  ควบคุมความผันผวนของราคาหลักทรัพย์ :

3.1  ใช้กลไกการเพิ่มเพดานการเคลื่อนไหวของราคาระหว่างวัน (Dynamic Price Band) นอกเหนือจาก
เกณฑ์ราคาสูงสุด-ต่ำสุด (Ceiling and Floor) โดยพักการซื้อขายชั่วคราวถ้าหุ้นมีราคาขึ้นหรือลง 10% ของราคาซื้อขายล่าสุด

3.2  ใช้วิธีการซื้อขายแบบประมูล (Auction) กรณีหุ้นอยู่ในมาตรการกำกับการซื้อขาย 

4.  ผู้ลงทุนที่มีพฤติกรรมไม่เหมาะสม :

4.1  ทบทวนเกณฑ์การดำเนินการ (sanction) กับลูกค้าที่มีพฤติกรรมไม่เหมาะสม

4.2  ตลท. เปิดเผยรายชื่อลูกค้าที่ส่งคำสั่งไม่เหมาะสมให้ทุก บล. ทราบ เพื่อให้ดำเนินการตามที่กำหนด

สำหรับการดำเนินการที่ผ่านมา

-หารือ ตลท. เพื่อตรวจสอบรายการต้องสงสัย และทบทวนมาตรการกำกับดูแล Short Selling และ Program Trading 

-ตรวจสอบพฤติกรรมที่อาจมีลักษณะเป็น Naked Short Selling (ขายมากกว่าซื้อ หรือส่งมอบหุ้นที่ได้จากการยืมหลักทรัพย์โดยไม่บันทึกรายการขายชอร์ต (flag S) ในระบบซื้อขายของ ตลท. ตามเกณฑ์ของ SET) โดยอยู่ระหว่างให้ บล. ชี้แจง และตรวจสอบข้อมูลเพิ่มเติม 

-ศึกษาวิจัยข้อมูลเพิ่มเติม พบพฤติกรรมการซื้อขายที่อาจมีลักษณะไม่เหมาะสม และอยู่ระหว่างตรวจสอบเพิ่มเติม 

-ร่วมกับ ตลท. สมาคมบริษัทหลักทรัพย์ไทย (ASCO) บล. และชมรม custodian เพิ่มความรัดกุมในการทำหน้าที่ของ บล. เกี่ยวกับธุรกรรม Short Selling และการใช้ Program Trading ของลูกค้า 

-ศึกษาแนวปฏิบัติของต่างประเทศ รวมทั้งหารือ ก.ล.ต. เกาหลีใต้ เกี่ยวกับมาตรการที่ใช้ และผลกระทบ 

-หารือกับ ตลท. อย่างต่อเนื่องเกี่ยวกับการปรับปรุงมาตรการที่เกี่ยวข้องกับ Short Selling และ Program Trading ของ ตลท. จากผลการศึกษาของที่ปรึกษาระดับชั้นนำ

กฎหมายและหลักเกณฑ์สำคัญเกี่ยวกับ Short Selling

กฎหมายและหลักเกณฑ์ปัจจุบัน 

-พ.ร.บ. หลักทรัพย์ฯ ม. 98(5) ห้าม บล. ขายหลักทรัพย์ โดยไม่มีหลักทรัพย์ในครอบครอง 

-ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุนว่าด้วยการขายหลักทรัพย์โดยที่บริษัทหลักทรัพย์ยังไม่มีหลักทรัพย์นั้น อยู่ในครอบครอง กำหนดให้ บล. จะให้บริการ short sell ได้ โดยต้องดูแลให้ลูกค้ายืมหลักทรัพย์ก่อนส่งคำสั่ง  

หลักการเสนอปรับปรุง พ.ร.บ. หลักทรัพย์ฯ

1.กำหนดบทลงโทษผู้ลงทุนที่ไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง 

2.กำหนดให้มีกลไลเพื่อให้ทราบถึง End-Beneficial Owner

แนวทางการกำกับดูแล บล. ให้เข้มขึ้น

บล. ต้องดำเนินการดังต่อไปนี้ 

-ทำความรู้จักระบบงานของลูกค้า (Know Your Process: KYP) กรณีลูกค้าที่เป็นตัวกลาง เพื่อให้ลูกค้าทราบ/เข้าใจหลักเกณฑ์ และสื่อสารให้ลูกค้าในชั้นต่อไป  และเพื่อสร้างความมั่นใจว่าลูกค้าตัวกลาง มีระบบควบคุม ติดตามการปฏิบัติตามเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง 

-มีข้อตกลงกับลูกค้ายินยอมปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงยินยอมให้ บล. ไล่เบี้ยค่าปรับกรณีที่ บล. ต้องชำระค่าปรับเนื่องจากลูกค้าไม่ปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ และ บล. ต้องบังคับตามข้อตกลงดังกล่าวด้วย

-มีระบบงานรับส่งคำสั่งที่มีประสิทธิภาพ และกลั่นกรองคำสั่งโดยตรวจสอบเอกสารเพื่อยืนยันว่าลูกค้ามีหลักทรัพย์ตามคำสั่ง

-มีระบบ post trade monitoring สุ่มตรวจธุรกรรม short / long sell และรายงานให้ regulator ทราบ โดยไม่ชักช้า เมื่อพบเหตุที่น่าสงสัย

ข่าวที่น่าสนใจ

เรื่องเด่นประจำสัปดาห์