สภา SME ดัน พ.ร.บ. แก้ข้อติดขัด-ช่วย SMEs เติบโต

7 พ.ย. 2567 - 12:45

  • สภาเอสเอ็มอี จัดประชุมใหญ่ ประจำปี 67 รวม 50 ภาคีเครือข่าย เดินหน้าแก้ปัญหาข้อติดขัด

  • ดัน พ.ร.บ.สภาเอสเอ็มอี มุ่งสร้างตัวตนเอสเอ็มอีที่ชัดเจน

  • เพื่อมีโครงสร้างการบริหารจัดการที่สมบูรณ์

sme-council-meeting-supree-smes-act-SPACEBAR-Hero.jpg

สุปรีย์ ทองเพชร ประธานสภาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทย (ประธานสภาเอสเอ็มอี) ประธานการประชุมใหญ่สภาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทย ประจำปี 2567 ซึ่งจัดขึ้นที่กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม (7 พฤศจิกายน 2567) ร่วมกับ 50 ภาคีเครือข่าย โดยชี้ถึงปัญหาใหญ่ของบรรดาผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ที่ยังประสบความยากลำบาก แม้ภาครัฐหรือหน่วยงานอื่นจะมีหลากหลายโครงการเพื่อช่วยเหลือ แต่ก็ไม่สามารถเขาถึงการช่วยเหลือได้ ซึ่งเกิดจาก “ตัวตน ของเอสเอ็มอีที่ไม่ชัดเจน” จึงไม่เข้าองค์ประกอบของการช่วยเหลือ

ประเด็นนี้ สภาเอสเอ็มอี จึงมีความพยายามในการผลักดันพระราชบัญญัติสภาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทย พ.ศ. เพื่อเข้าไปแก้ปัญหาดังกล่าวให้เกิดความชัดเจน มีรูปธรรมและเป็นการส่งเสริมการทำงานของหน่วยงานดำเนินการของภาครัฐให้เกิดความสะดวกและมีการบูรณาการแบบเบ็ดเสร็จ

“สภาฯ จึงได้อาศัยวาระของการประชุมใหญ่นี้รวมพลัง เพื่อเป็นการแสดงเจตนาและแสดงความมุ่งมั่นที่จะแก้ไขปัญหาของผู้ประกอบการที่ฐานราก ทำให้นโยบายความช่วยเหลือต่างๆ ของภาครัฐสามารถกระทำได้อย่างทั่วถึงและตรงกลุ่มเป้าหมายอย่างแท้จริง” สุปรีย์ กล่าว

sme-council-meeting-supree-smes-act-SPACEBAR-Photo01.jpg

ปัจจุบันประเทศไทยมีผู้ประกอบการที่จัดอยู่ในกลุ่มเอสเอ็มอีอยู่ถึง 99.5% ของผู้ประกอบการทั้งหมด หรือมากกว่า 3 ล้านราย แต่เป็นผู้ประกอบการที่อยู่ในระบบภาษีเพียง 1 ล้านรายเท่านั้น กลุ่มผู้ประกอบการเอสเอ็มอีถือเป็นห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain) ที่มีความสำคัญในการเชื่อมต่อธุรกิจขนาดใหญ่เข้ากับประชาชนที่ฐานราก เนื่องจากมีจำนวนผู้ประกอบการเป็นจำนวนมาก อีกทั้งยังมีส่วนในการขับเคลื่อน GDP ของประเทศไม่น้อยกว่า 55% (หากรวมเข้ากับผู้ประกอบการที่อยู่นอกระบบภาษีอาจมีมูลค่ามากกว่า 60% ของ GDP เลยทีเดียว)

ทั้งนี้ การจัดตั้งสภาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทย (สภาเอสเอ็มอี) ก็เพื่อให้ผู้ประกอบการมีตัวตน มีโครงสร้างในการบริหารจัดการอย่างแท้จริง สำหรับเวลาในการดำเนินการร่างจะแล้วเสร็จใน 3 เดือนหลังจากนั้นภาคีเครือข่ายจะเข้าชื่อ 10,000 รายชื่อ เพื่อยื่นเสนอร่างพระราชบัญญัติสภาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทยต่อสภาผู้แทนราษฎรต่อไป

sme-council-meeting-supree-smes-act-SPACEBAR-Photo02.jpg
sme-council-meeting-supree-smes-act-SPACEBAR-Photo04.jpg
sme-council-meeting-supree-smes-act-SPACEBAR-Photo03.jpg
sme-council-meeting-supree-smes-act-SPACEBAR-Photo05.jpg

เรื่องเด่นประจำสัปดาห์