บริษัท เถ้าแก่น้อย ฟู๊ดแอนด์มาร์เก็ตติ้ง จำกัด (มหาชน) ผนึกกำลังจังหวัดแม่ฮ่องสอน เปิดตัว ‘WoW Nut by Taokaenoi’ ผลิตภัณฑ์ขนมขบเคี้ยวเพื่อสุขภาพจาก ถั่วลายเสือคั่ว ซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญของแม่ฮ่องสอนที่ได้รับการขึ้นทะเบียน GI (Geographical Indication) หรือสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ ที่การันตีคุณภาพและเอกลักษณ์เฉพาะตัวจากแหล่งเพาะปลูกที่ดีที่สุดในไทย
อิทธิพัทธ์ พีระเดชาพันธ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ เถ้าแก่น้อย เผย เถ้าแก่น้อย ขยายธุรกิจสู่ตลาด Healthy Snack ซึ่งได้รับความนิยมสูงขึ้นทั่วโลก โดยเฉพาะในยุคหลังโควิด-19 ที่ผู้บริโภคให้ความสำคัญกับ สุขภาพและโภชนาการมากขึ้น โดยเถ้าแก่น้อย ได้ลงพื้นที่แม่ฮ่องสอน และพบ ‘ถั่วลายเสือ’ ที่เล็งแล้วว่าสามารถต่อยอดเป็นสินค้าพรีเมียมให้กับเถ้าแก่น้อยได้

เพราะถั่วลายเสือมีจุดเด่นที่สำคัญ ทั้งในแง่ลักษณะเฉพาะที่ไม่สามารถหาได้จากที่อื่น และต้องปลูกใน 4 อำเภอ ของจังหวัดแม่ฮ่องสอนเท่านั้น (ปางมะผ้า เมือง ปาย สบเมย) และถั่วลายเสือ ยังเต็มไปด้วยสารอาหารที่มีคุณประโยชน์ เช่น โปรตีนสูง อุดมไปด้วยวิตามิน และแร่ธาตุ รวมถึง ใยอาหาร นี่จึงเป็นที่มาให้ ‘เถ้าแก่น้อย’ ไม่รอช้านำพา ถั่วลายเสือ เข้าสู่กระบวนการ R&D (Research and Development) พัฒนาผลิตภัณฑ์ และได้มาซึ่ง ‘ถั่วลายเสือคั่ว’ ที่มีกระบวนการผลิตใช้วิธีการคั่วตามแบบฉบับเดิม ไม่ใช้การทอด ไม่มีคอเลสเตอรอล และ มีสารต้านอนุมูลอิสระ เป็นอีกสินค้า ที่นำมาเปิดตัวครั้งนี้

“WoW Nut by Taokaenoi มีให้เลือก 2 รสชาติ ได้แก่ รสออริจินัล และ เกลือชมพู วางจำหน่ายในขนาด 25 กรัม และ 55 กรัม นอกจากเป็นผลิตภัณฑ์สุขภาพแล้ว WoW Nut ยังเป็นส่วนหนึ่งของแผนกลยุทธ์ ‘GO BROAD’ ของเถ้าแก่น้อย ที่มุ่งเน้นการ ขยายผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ นอกเหนือจากสาหร่าย และเพิ่มโอกาสทางการตลาดให้กับแบรนด์ ซึ่งแนวคิดของ WoW Nut ไม่ได้เป็นเพียงแค่ขนมขบเคี้ยวใหม่ในตลาด แต่เป็น โมเดลธุรกิจที่สร้างความยั่งยืนให้กับเกษตรกรในแม่ฮ่องสอน”
ปัจจุบัน เถ้าแก่น้อยได้ร่วมกับจังหวัดแม่ฮ่องสอน ขยายพื้นที่เพาะปลูกถั่วลายเสือกว่า 200 ไร่ และรับซื้อผลผลิตในราคาที่เป็นธรรม เพื่อลดความเสี่ยงของเกษตรกร นอกจากนี้ยังมีแผนส่งเสริมการปลูกที่ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยร่วมมือกับกรมป่าไม้ ลดการเผาป่า และ ใช้พื้นที่เกษตรแบบยั่งยืน เพราะเราให้ความสำคัญกับเรื่อง ESG (Environment, Social และ Governance) โดยเน้นการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ใน 4 แกนหลัก คือ ช่วยเหลือเกษตรกรให้มีอาชีพ นำมาซึ่งรายได้ เพิ่มมูลค่าของสินค้าเกษตร และสร้างสิ่งแวดล้อมให้ยั่งยืน เราสนับสนุนให้ปลูกถั่วลายเสือที่มีคุณภาพ อีกทั้งได้ขยายพื้นที่เพาะปลูกเพิ่มขึ้นกว่า 200 ไร่ นอกจากนี้เถ้าแก่น้อยยังรับซื้อผลผลิตในราคาที่เป็นธรรม

อุดมศักดิ์ ขาวหนูนา รองผู้ว่าราชการจังหวัดแม่ฮ่องสอน กล่าวว่า การร่วมมือกับ เถ้าแก่น้อย ช่วยให้เกษตรกรเห็นศักยภาพของถั่วลายเสือมากขึ้น จำนวนเกษตรกรที่ปลูกเพิ่มจาก 88 ราย เป็น 207 ราย ภายในเวลาไม่กี่ปี และเถ้าแก่น้อย ยังเป็นตัวช่วยสำคัญ ยกระดับรายได้ของเกษตรกรอย่างมีนัยสำคัญ โดยในปี 2567 พบว่า รายได้ของวิสาหกิจชุมชนบ้านน้ำบ่อสะเป่าพุ่งขึ้นถึง 197% ซึ่งรายได้เฉลี่ยของสมาชิกกลุ่มเพิ่มขึ้นเป็น 164,755 บาทต่อคน สูงกว่ารายได้เฉลี่ยของประชากรแม่ฮ่องสอนที่ 81,182 บาทต่อปี
นอกจากนี้ การปลูกถั่วลายเสือยังช่วยลดปัญหาการเผาทำลายป่า เพราะสามารถใช้ลำต้นและเปลือกถั่วในการทำ ปุ๋ยชีวภาพ อาหารสัตว์ และบรรจุภัณฑ์รักษ์โลก

กิติยาพร สาธุเสน ผู้อำนวยการกองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ กรมทรัพย์สินทางปัญญา กล่าวถึง ความสำคัญของ เครื่องหมาย GI ว่าเป็น ตรารับรองคุณภาพระดับสากล และ WoW Nut ก็เป็น ผลิตภัณฑ์แรกของไทย ที่ได้รับอนุญาตให้ใช้ตรา GI ที่ออกแบบพิเศษ โดยอนุญาตให้ นำวัตถุดิบจากแม่ฮ่องสอนไปแปรรูปในโรงงานที่ได้มาตรฐานนอกพื้นที่ แต่ยังคงคุณภาพระดับ GI ซึ่งเมื่อผู้บริโภคได้เห็นโลโก้นี้ ขอให้มั่นใจได้ว่า WoW Nut คือถั่วลายเสือคั่วแท้ 100% จากแหล่งเพาะปลูก GI แท้

สำหรับการเปิดตัวอย่างเป็นทางการของ WoW Nut by Taokaenoi ครั้งนี้ ยังมาพร้อมแมสคอทเสือสุดน่ารัก น้อง ไนเกอร์ (Naiger) ที่จะคอยส่งต่อความอร่อยของถั่วลายเสือคั่ว ภายใต้คอนเซ็ปท์ อร่อยจนร้องว้าว! สร้างสีสันและบรรยากาศความน่ารักตลอดทั้งงานเลยทีเดียว


