จากดราม่า #หมอลาออก ที่เป็นประเด็นร้อนเมื่อต้นเดือนมิถุนายน สู่เหตุสลด ‘หมอมีน’ น.ส.ญาณิศา สืบเชียง แพทย์เพิ่มพูนทักษะจากโรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา จังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งเสียชีวิตจากอุบัติเหตุขับรถชนตอนกลางคืน และข่าวนักศึกษาแพทย์ที่ตัดสินใจจบชีวิตตัวเองลง ทำให้สังคมกลับมาตั้งคำถามอีกครั้งว่าเกิดอะไรขึ้นกับวงการแพทย์ไทย และปัญหานี้ควรจะได้รับการแก้ไขอย่างแท้จริงเสียที
ในบทความตอนแรก #หมอลาออก (1): แพทย์ไทย ‘แบก’ อะไร นอกจากอันดับโลก SPACEBAR ได้นำเสนอประเด็นชั่วโมงการทำงานนอกเวลาของแพทย์ไทยที่มากถึง 60-100 ชั่วโมง ซึ่งเป็นหนึ่งในปัจจัยที่ทำให้บุคลากรทางการแพทย์ รวมถึง ‘อินเทิร์น’ ตัดสินใจลาออกจาก ‘ระบบ’ ของภาครัฐ’
คราวนี้ เราชวนบุคลากรทางการแพทย์ อดีตหมออินเทิร์นที่เป็นปัจจุบันเป็นแพทย์เพิ่มพูนทักษะ 2 จากโรงพยาบาลชุมชนในภาคใต้ มาสะท้อนถึงปัญหาเชิงโครงสร้างในระบบ ‘ราชการ’ ของวงการที่เป็นเสาหลักสุขภาพของคนไทย
ในบทความตอนแรก #หมอลาออก (1): แพทย์ไทย ‘แบก’ อะไร นอกจากอันดับโลก SPACEBAR ได้นำเสนอประเด็นชั่วโมงการทำงานนอกเวลาของแพทย์ไทยที่มากถึง 60-100 ชั่วโมง ซึ่งเป็นหนึ่งในปัจจัยที่ทำให้บุคลากรทางการแพทย์ รวมถึง ‘อินเทิร์น’ ตัดสินใจลาออกจาก ‘ระบบ’ ของภาครัฐ’
คราวนี้ เราชวนบุคลากรทางการแพทย์ อดีตหมออินเทิร์นที่เป็นปัจจุบันเป็นแพทย์เพิ่มพูนทักษะ 2 จากโรงพยาบาลชุมชนในภาคใต้ มาสะท้อนถึงปัญหาเชิงโครงสร้างในระบบ ‘ราชการ’ ของวงการที่เป็นเสาหลักสุขภาพของคนไทย

หมออินเทิร์น: คนรุ่นใหม่ไม่อดทน หรือการทำงานไม่เป็นธรรม?
อย่างน้อย 16 ชั่วโมงต่อวัน หรือ 960 นาทีคือระยะเวลาการทำงานนอกเวลาหรือ ‘การอยู่เวร’ ของหมออินเทิร์นสังกัดโรงพยาบาลรัฐใน 3 จังหวัดชายแดนใต้
ตัวเลขนี้ถือว่าสูงกว่าเท่าตัว เมื่อเทียบกับอาชีพทั่วไปที่ทำงานประมาณ 8 ชั่วโมง/ วัน ตามกฎหมายแรงงาน
ยังไม่รวมชั่วโมงการทำงานใน ‘เวลาราชการ’
“ถ้าเป็นวันปกติ จะอยู่เวรหอพักผู้ป่วยทั่วไปตั้งแต่ 4 โมงครึ่งจนถึง 8 โมงเช้าค่ะ เวรวันเสาร์-อาทิตย์ หรือวันหยุดราชการก็จะอยู่ถึง 24 ชั่วโมงเลย บางคนต้องทำงาน 24 ชั่วโมงหลายครั้ง” หมออินเทิร์นกล่าว
เอ (นามสมมติ) เล่าถึงประสบการณ์การทำงานในฐานะแพทย์เพิ่มพูนทักษะในจังหวัดสงขลาให้ฟังว่า ปีแรกเธอฝึกงานเป็นอินเทิร์นหนึ่งที่โรงพยาบาลศูนย์ ซึ่งเป็นโรงพยาบาลที่มีขนาดค่อนข้างใหญ่ และเป็นศูนย์กลางที่รับเคสคนไข้จากโรงพยาบาลชุมชนต่างๆ มาดูแลรักษา จึงขึ้นชื่อว่า ‘งานเยอะ’ จึงมีอุปกรณ์ค่อนข้างครบถ้วนและมีหมอเฉพาะทาง
“พอเป็นเครือข่ายโรงพยาบาลรัฐ งานจะหนักค่ะ เพราะรับคนไข้ไม่จำกัดจำนวน จะมีเตียงเสริมให้เรื่อยๆ โดยเฉพาะแผนกอายุรกรรม เสริมได้ถึง 20-30 เตียงเลย บางทีมีคนไข้นอนอยู่หน้าลิฟต์ ต่างจากโรงพยาบาลและโรงเรียนแพทย์ที่จะจำกัดจำนวนเตียง ด้วยเรื่องสิทธิการรักษา และทรัพยากรที่ไม่อาจไม่เพียงพอด้วย โรงเรียนแพทย์จะรับเฉพาะเคสที่ซับซ้อน หมอเฉพาะทางที่โรงพยาบาลศูนย์ดูแลไม่ไหว ก็จะส่งต่อไปที่นี่”

เมื่อจำนวนคนไข้เยอะ แพทย์ไม่สามารถดูแลได้ทั่วถึง อินเทิร์นจึงต้องอยู่เวร 15 วันต่อเดือน ซึ่งเป็นไปตามโควต้าสูงสุดที่แพทยสภากำหนดไว้ (อยู่เวรไม่เกิน 15 วัน)
“ใน 15 เวร จะมีทั้งวันที่เราอยู่วอร์ดผู้ป่วยและเวรแผนกฉุกเฉิน เราทำงานตลอดเลย เพราะคนไข้ค่อนข้างเยอะ ช่วงแรกปรับตัวยากมาก บางวันอยู่เวรดึกตอนเที่ยงคืนครึ่งจนถึง 8 โมงเช้า แล้วต้องไปทำงานต่อในวอร์ดผู้ป่วย”
จากคำบอกเล่าของเอ (นามสมมติ) เวลาทำงานปกติเริ่มตั้งแต่ 7.30 - 17.30 น. แต่ละแผนกเลิกไม่ตรงกัน ตกวันละประมาณ 10-11 ชั่วโมง และยังต้องอยู่เวร 15 ครั้ง โดยมีทั้งการอยู่เวรในหอพักผู้ป่วยและห้องฉุกเฉิน
“งานของเราค่อนข้างเยอะ ถ้าขอลาครึ่งวันไปพัก คนที่ทำงานอยู่ก็จะทำงานหนักขึ้นเป็นสองเท่า ทำให้เรารู้สึกเกรงใจ ก็เลยต้องฝืนช่วยกันไป มีเวลางีบประมาณครึ่งชั่วโมง-หนึ่งชั่วโมง ก็ต้องไปทำงานต่อจนถึงเย็น” เธอเล่าถึงการทำงานในแต่ละวัน
“ในหนึ่งปี เราได้หยุดจริงๆ ไม่ถึง 10 วันด้วยซ้ำ หมอในโรงพยาบาลศูนย์ทำงานกัน 7 วัน ถึงจะเป็นวันหยุด เราก็ต้องมาดูคนไข้ช่วงเช้า เวลาพักผ่อนจึงค่อนข้างน้อย”
เธอเผยว่าถึงจะมีวันลาประจำปี 10 วัน (ไม่นับลาป่วย) แต่ด้วยภาระที่เยอะ ทำให้หลายๆ คนไม่กล้าลาหรือรู้สึกผิดที่ต้องลา เนื่องจากงานที่รับผิดชอบจะไปตกอยู่กับเพื่อนร่วมงาน แม้ว่าอาจารย์แพทย์จะให้ลาได้ แต่ถ้าไม่จำเป็น ก็ไม่ต้องการให้ลาติดต่อกันเกิน 2 วัน
“ใน 15 เวร จะมีทั้งวันที่เราอยู่วอร์ดผู้ป่วยและเวรแผนกฉุกเฉิน เราทำงานตลอดเลย เพราะคนไข้ค่อนข้างเยอะ ช่วงแรกปรับตัวยากมาก บางวันอยู่เวรดึกตอนเที่ยงคืนครึ่งจนถึง 8 โมงเช้า แล้วต้องไปทำงานต่อในวอร์ดผู้ป่วย”
จากคำบอกเล่าของเอ (นามสมมติ) เวลาทำงานปกติเริ่มตั้งแต่ 7.30 - 17.30 น. แต่ละแผนกเลิกไม่ตรงกัน ตกวันละประมาณ 10-11 ชั่วโมง และยังต้องอยู่เวร 15 ครั้ง โดยมีทั้งการอยู่เวรในหอพักผู้ป่วยและห้องฉุกเฉิน
“งานของเราค่อนข้างเยอะ ถ้าขอลาครึ่งวันไปพัก คนที่ทำงานอยู่ก็จะทำงานหนักขึ้นเป็นสองเท่า ทำให้เรารู้สึกเกรงใจ ก็เลยต้องฝืนช่วยกันไป มีเวลางีบประมาณครึ่งชั่วโมง-หนึ่งชั่วโมง ก็ต้องไปทำงานต่อจนถึงเย็น” เธอเล่าถึงการทำงานในแต่ละวัน
ชีวิตไร้บาลานซ์ งานท็อกซิก เพิ่มความเสี่ยงของหมอและคนไข้
เป็นที่รู้กันว่าการทำงานหนักเกินไปทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของคนเราลดลง ประเด็นนี้ไม่เว้นแม้แต่วงการสาธารณสุข ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญที่คนส่วนใหญ่เห็นตรงกัน“ในหนึ่งปี เราได้หยุดจริงๆ ไม่ถึง 10 วันด้วยซ้ำ หมอในโรงพยาบาลศูนย์ทำงานกัน 7 วัน ถึงจะเป็นวันหยุด เราก็ต้องมาดูคนไข้ช่วงเช้า เวลาพักผ่อนจึงค่อนข้างน้อย”
เธอเผยว่าถึงจะมีวันลาประจำปี 10 วัน (ไม่นับลาป่วย) แต่ด้วยภาระที่เยอะ ทำให้หลายๆ คนไม่กล้าลาหรือรู้สึกผิดที่ต้องลา เนื่องจากงานที่รับผิดชอบจะไปตกอยู่กับเพื่อนร่วมงาน แม้ว่าอาจารย์แพทย์จะให้ลาได้ แต่ถ้าไม่จำเป็น ก็ไม่ต้องการให้ลาติดต่อกันเกิน 2 วัน

นอกจากนี้ตอนที่เธอต้องย้ายไปฝึกงานที่โรงพยาบาลอำเภอ ยังไม่สามารถลาเพื่อเก็บของและขนย้าย หรือเลี้ยงส่งกับเพื่อนๆ เหมือนกับอาชีพทั่วไปได้เลย เพราะเธอต้องเริ่มงานใหม่ในวันถัดไปทันที
อินเทิร์นทำหน้าที่เหมือนกับแพทย์ทั่วไป (General Practitioner แพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป) และต้องตัดสินใจหน้างานว่าควรส่งคนไข้ไปที่แผนกไหน
“ซึ่งค่อนข้างกดดัน เพราะบางเรื่องเราไม่ได้รู้ 100% ซึ่งส่วนใหญ่เราต้องแยกให้ออกทันทีว่าเคสนี้มีผลต่อชีวิตคนไข้หรือเปล่า ต้องรีบดำเนินการรักษาทันที หรือบางเคสไม่ได้รีบ เพราะไม่ได้มีผลให้คนไข้เสียชีวิต ซึ่งตอนอยู่โรงพยาบาลศูนย์ เราสามารถโทรขอคำปรึกษาจากแพทย์พี่เลี้ยงและให้เขาลงมาดูทันทีได้ แต่พออยู่โรงพยาบาลชุมชน เราไม่มีแพทย์เฉพาะทาง แต่มีระบบการขอคำปรึกษาจากแพทย์และติดต่อไปยังแผนกเฉพาะทาง หรือถ้าไม่ไหวจริงๆ เขาจะให้เราส่งต่อคนไข้มาที่โรงพยาบาลศูนย์ได้เลย ข้อดีของโรงพยาบาลศูนย์คือ มีแพทย์เฉพาะทางเยอะ”
นอกจากต้องรับมือกับความกดดันแล้ว อีกประเด็นหนึ่งที่ส่งผลกระทบต่ออินเทิร์นและแพทย์จำนวนมากคือ การเจอสตาฟฟ์หรืออาจารย์แพทย์ที่พูดจาทำร้ายจิตใจและปฏิบัติไม่ดี ซึ่งเปรียบเหมือนกับ ‘ฟางเส้นสุดท้าย’ ที่ทำให้ตัดสินใจลาออกในที่สุด
“เพื่อนรุ่นเดียวกันลาออกไปประมาณ 2-3 คน มีทั้งคนที่ลาออกตอนเป็นนักศึกษาแพทย์ และเป็นอินเทิร์น ด้วยเรื่องความกดดัน ความเครียดจากการเรียนและการสอบ บางคนซึมเศร้าและต้องพบจิตแพทย์ บางคนขอคำปรึกษาจากอาจารย์ แต่โดนเหวี่ยงกลับ พูดด้วยน้ำเสียงไม่ดี โดนต่อว่า ด่า ทำให้เสียความมั่นใจ เกิดความเครียด จนดร็อปเรียนไปก่อน แล้วกลับมาเรียนใหม่ มันมีทั้งอาจารย์ที่ดีต่อใจและเป็นแรงบันดาลใจให้เราอยากเป็นแบบเขา มีตัวอย่างที่ดีและไม่ดี เพื่อนร่วมงานที่โดนกระทำก็เสียความรู้สึก คนไข้ก็เป็นอันตรายไปด้วย”
“แต่ก็มีเพื่อนที่ลาออก เพราะมีปัญหาสุขภาพ อาชีพหมอส่งผลต่อความเครียด ทั้งเรื่องภาระงาน แรงกดดัน และเวลาพักผ่อนน้อย ทำให้เขาเลือกลาออกจากระบบราชการไปทำงานในโรงพยาบาลเอกชนแทน ซึ่งสวัสดิการและค่าตอบแทนค่อนข้างดีกว่า
“ดังนั้นคนที่ยังอยู่ในระบบ (ของรัฐ) ได้ก็ต้องเข้มแข็งมาก”
“ถ้าคนไข้อาการแย่ เราจะส่งต่อไปยังโรงพยาบาลศูนย์ได้เลย เพราะโรงพยาบาลชุมชนจะไม่ดูเคสที่เกินศักยภาพ ส่วนเคสที่นอนในห้องฉุกเฉินจะเป็นเคสที่มีอาการค่อนข้างทรงตัว”
อินเทิร์นทำหน้าที่เหมือนกับแพทย์ทั่วไป (General Practitioner แพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป) และต้องตัดสินใจหน้างานว่าควรส่งคนไข้ไปที่แผนกไหน
“ซึ่งค่อนข้างกดดัน เพราะบางเรื่องเราไม่ได้รู้ 100% ซึ่งส่วนใหญ่เราต้องแยกให้ออกทันทีว่าเคสนี้มีผลต่อชีวิตคนไข้หรือเปล่า ต้องรีบดำเนินการรักษาทันที หรือบางเคสไม่ได้รีบ เพราะไม่ได้มีผลให้คนไข้เสียชีวิต ซึ่งตอนอยู่โรงพยาบาลศูนย์ เราสามารถโทรขอคำปรึกษาจากแพทย์พี่เลี้ยงและให้เขาลงมาดูทันทีได้ แต่พออยู่โรงพยาบาลชุมชน เราไม่มีแพทย์เฉพาะทาง แต่มีระบบการขอคำปรึกษาจากแพทย์และติดต่อไปยังแผนกเฉพาะทาง หรือถ้าไม่ไหวจริงๆ เขาจะให้เราส่งต่อคนไข้มาที่โรงพยาบาลศูนย์ได้เลย ข้อดีของโรงพยาบาลศูนย์คือ มีแพทย์เฉพาะทางเยอะ”
นอกจากต้องรับมือกับความกดดันแล้ว อีกประเด็นหนึ่งที่ส่งผลกระทบต่ออินเทิร์นและแพทย์จำนวนมากคือ การเจอสตาฟฟ์หรืออาจารย์แพทย์ที่พูดจาทำร้ายจิตใจและปฏิบัติไม่ดี ซึ่งเปรียบเหมือนกับ ‘ฟางเส้นสุดท้าย’ ที่ทำให้ตัดสินใจลาออกในที่สุด
“เพื่อนรุ่นเดียวกันลาออกไปประมาณ 2-3 คน มีทั้งคนที่ลาออกตอนเป็นนักศึกษาแพทย์ และเป็นอินเทิร์น ด้วยเรื่องความกดดัน ความเครียดจากการเรียนและการสอบ บางคนซึมเศร้าและต้องพบจิตแพทย์ บางคนขอคำปรึกษาจากอาจารย์ แต่โดนเหวี่ยงกลับ พูดด้วยน้ำเสียงไม่ดี โดนต่อว่า ด่า ทำให้เสียความมั่นใจ เกิดความเครียด จนดร็อปเรียนไปก่อน แล้วกลับมาเรียนใหม่ มันมีทั้งอาจารย์ที่ดีต่อใจและเป็นแรงบันดาลใจให้เราอยากเป็นแบบเขา มีตัวอย่างที่ดีและไม่ดี เพื่อนร่วมงานที่โดนกระทำก็เสียความรู้สึก คนไข้ก็เป็นอันตรายไปด้วย”
“แต่ก็มีเพื่อนที่ลาออก เพราะมีปัญหาสุขภาพ อาชีพหมอส่งผลต่อความเครียด ทั้งเรื่องภาระงาน แรงกดดัน และเวลาพักผ่อนน้อย ทำให้เขาเลือกลาออกจากระบบราชการไปทำงานในโรงพยาบาลเอกชนแทน ซึ่งสวัสดิการและค่าตอบแทนค่อนข้างดีกว่า
“ดังนั้นคนที่ยังอยู่ในระบบ (ของรัฐ) ได้ก็ต้องเข้มแข็งมาก”
โรงพยาบาลชุมชน: ข้อดีและข้อจำกัด
ปัจจุบันเธอทำงานเป็นแพทย์เพิ่มพูนทักษะ 2 ในโรงพยาบาลชุมชนแห่งหนึ่งในจังหวัดสงขลา ด้วยปริมาณเตียงที่มีจำกัด คนไข้ไม่เยอะ ภาระงานจึงลดลงและจัดการได้อย่างเป็นระบบ มีเวลาพักผ่อนจริงๆ และมีสภาพแวดล้อมการทำงานที่ดี เนื่องจากเป็นโรงพยาบาลขนาดเล็ก จึงเน้นการทำงานเป็นทีม ขณะเดียวกันก็เจอปัญหาอื่นๆ เช่น ขาดแคลนอุปกรณ์การรักษา ต้องส่งผลตรวจเลือดไปยังห้องแล็บซึ่งใช้เวลา 3 วัน ถึงจะรู้ผล ทำให้การตรวจวินิจฉัยและการรักษาล่าช้าไปด้วย ต่างจากโรงพยาบาลศูนย์ที่มีอุปกรณ์ค่อนข้างครบครัน และรู้ผลตรวจเลือดภายใน 1 ชั่วโมง“ถ้าคนไข้อาการแย่ เราจะส่งต่อไปยังโรงพยาบาลศูนย์ได้เลย เพราะโรงพยาบาลชุมชนจะไม่ดูเคสที่เกินศักยภาพ ส่วนเคสที่นอนในห้องฉุกเฉินจะเป็นเคสที่มีอาการค่อนข้างทรงตัว”

ปัจจุบันมีการแก้ปัญหานี้ด้วยการเปิดทุนให้แพทย์ในโรงพยาบาลชุมชนไปเรียนต่อด้านแพทย์เฉพาะทาง และกลับมาทำงานในโรงพยาบาลชุมชน เพราะเพิ่มจำนวนแพทย์เฉพาะทางในระดับชุมชน เมื่อมีผู้เชี่ยวชาญ ทางโรงพยาบาลก็สามารถทำเรื่องขยายโรงพยาบาล เบิกยา และอุปกรณ์เครื่องมือรักษาได้มากขึ้น และลดความล่าช้าของการรักษา
อย่างไรก็ตาม การผลิต ‘แพทย์’ แบบเน้นจำนวนไม่ได้แก้ปัญหาระบบสาธารณสุขไทยที่ต้นเหตุ แต่ควรทำควบคู่กันไปกับการปรับปรุงระบบราชการที่ล่าช้าให้มีประสิทธิภาพ เพิ่มสวัสดิการ ค่าตอบแทน และความปลอดภัย
รวมถึงนำความคิดจากอินเทิร์นและผู้เกี่ยวข้องไปพัฒนาระบบการปรึกษาและการฝึกอบรมแพทย์ เพื่อให้แพทย์และบุคลากรที่เกี่ยวข้องยังสามารถทำงานในระบบของภาครัฐได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีความสุข
คำถามคือ แล้วจะทำอย่างไร ติดตามได้ในบทความต่อไป
อย่างไรก็ตาม การผลิต ‘แพทย์’ แบบเน้นจำนวนไม่ได้แก้ปัญหาระบบสาธารณสุขไทยที่ต้นเหตุ แต่ควรทำควบคู่กันไปกับการปรับปรุงระบบราชการที่ล่าช้าให้มีประสิทธิภาพ เพิ่มสวัสดิการ ค่าตอบแทน และความปลอดภัย
รวมถึงนำความคิดจากอินเทิร์นและผู้เกี่ยวข้องไปพัฒนาระบบการปรึกษาและการฝึกอบรมแพทย์ เพื่อให้แพทย์และบุคลากรที่เกี่ยวข้องยังสามารถทำงานในระบบของภาครัฐได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีความสุข
คำถามคือ แล้วจะทำอย่างไร ติดตามได้ในบทความต่อไป