13 สิงหาคม 2566 ปีนี้ ครบ 69 ปีการหายตัวไปของหะยีสุหลง ที่ต่อมามีคำยอมรับในบันทึกปากคำให้การของพันตำรวจเอกพุฒ บูรณะสมภพ หนึ่งในนายตำรวจอัศวินยุคพลตำรวจเอกเผ่า ศรียานนท์ ว่าหะยีสุหลง และอาหมัด โต๊ะมีนา บุตรชายคนโต ถูกทีมเจ้าหน้าที่ชุดหนึ่ง ‘อุ้ม’ ไปสังหารและถ่วงศพลงก้นทะเลสงขลา บริเวณระหว่างเกาะหนูและเกาะแมว
เหตุการณ์ก่อนการหายตัวไปหะยีสุหลง และบุตรชาย ทั้งที่ก่อนหน้านี้พ้นโทษในข้อหาแบ่งแยกดินแดน และปล่อยตัวกลับมาเปิดโรงเรียนสอนศาสนาที่จังหวัดปัตตานีตามปกติแล้วนั้น ถูกตั้งข้อสังเกตและเป็นปริศนามาตลอดว่า อะไรเป็นเหตุแห่งความหวาดระแวงของภาครัฐ โดยเฉพาะจากผู้มีอำนาจในยุคนั้น
ย้อนกลับไปการจับกุมหะยีสุหลงครั้งแรก เกิดขึ้นหลังจากหะยีสุหลงส่งจดหมายที่มีข้อเรียกร้อง 7 ข้อไปยังตนกูมูฮัยยิดดิน ซึ่งเป็นบุตรของตนกู อับดุลกอเดร์ อดีตเจ้าเมืองปาตานี หลังทราบว่าตนกูมูฮัยยิดดิน จะเดินทางไปพบตัวแทนของรัฐบาลไทยที่กรุงเทพฯ
หนังสือ ปาตานี ประวัติศาสตร์และการเมืองในโลกมลายู ซึ่งเขียนโดยอารีฟีน บินจิ, อับดุลลอฮ และซูฮัยมีย์ อิสมาแอล อ้างถึงบันทึกของหะยีสุหลงที่ระบุถึงรายละเอียดการจับกุมในครั้งนั้นอย่างละเอียด
หะยีสุหลงระบุรายละเอียดการจับกุมครั้งนั้นว่า...
“ผู้กำกับการตำรวจมาที่บ้านข้าพเจ้าพร้อมตำรวจอีกหลายคน เมื่อเวลาห้าโมงเย็นของวันศุกร์ที่ 5 เดือนรอบีอุลอาวัล อ.ศ.1367 หรือตรงกับปฏิทินไทย คือวันที่ 16 มกราคม พ.ศ.2491 (ค.ศ.1948) โดยได้รับคำสั่งจาก พระยารัตนภักดี ผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานีมาให้จับข้าพเจ้าและตรวจค้นในบ้านของข้าพเจ้า เพราะทำหนังสือร้องเรียนไปยังตนกูมูฮัยยิดดิน (หรือเติงกูมะห์มุด มูฮัยยิดดิน) เกี่ยวกับข้อเรียกร้อง 7 ข้อของราษฎรปัตตานีต่อรัฐบาลไทย”
เหตุการณ์ก่อนการหายตัวไปหะยีสุหลง และบุตรชาย ทั้งที่ก่อนหน้านี้พ้นโทษในข้อหาแบ่งแยกดินแดน และปล่อยตัวกลับมาเปิดโรงเรียนสอนศาสนาที่จังหวัดปัตตานีตามปกติแล้วนั้น ถูกตั้งข้อสังเกตและเป็นปริศนามาตลอดว่า อะไรเป็นเหตุแห่งความหวาดระแวงของภาครัฐ โดยเฉพาะจากผู้มีอำนาจในยุคนั้น
ย้อนกลับไปการจับกุมหะยีสุหลงครั้งแรก เกิดขึ้นหลังจากหะยีสุหลงส่งจดหมายที่มีข้อเรียกร้อง 7 ข้อไปยังตนกูมูฮัยยิดดิน ซึ่งเป็นบุตรของตนกู อับดุลกอเดร์ อดีตเจ้าเมืองปาตานี หลังทราบว่าตนกูมูฮัยยิดดิน จะเดินทางไปพบตัวแทนของรัฐบาลไทยที่กรุงเทพฯ
หนังสือ ปาตานี ประวัติศาสตร์และการเมืองในโลกมลายู ซึ่งเขียนโดยอารีฟีน บินจิ, อับดุลลอฮ และซูฮัยมีย์ อิสมาแอล อ้างถึงบันทึกของหะยีสุหลงที่ระบุถึงรายละเอียดการจับกุมในครั้งนั้นอย่างละเอียด
หะยีสุหลงระบุรายละเอียดการจับกุมครั้งนั้นว่า...
“ผู้กำกับการตำรวจมาที่บ้านข้าพเจ้าพร้อมตำรวจอีกหลายคน เมื่อเวลาห้าโมงเย็นของวันศุกร์ที่ 5 เดือนรอบีอุลอาวัล อ.ศ.1367 หรือตรงกับปฏิทินไทย คือวันที่ 16 มกราคม พ.ศ.2491 (ค.ศ.1948) โดยได้รับคำสั่งจาก พระยารัตนภักดี ผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานีมาให้จับข้าพเจ้าและตรวจค้นในบ้านของข้าพเจ้า เพราะทำหนังสือร้องเรียนไปยังตนกูมูฮัยยิดดิน (หรือเติงกูมะห์มุด มูฮัยยิดดิน) เกี่ยวกับข้อเรียกร้อง 7 ข้อของราษฎรปัตตานีต่อรัฐบาลไทย”

การตรวจค้นจับกุมวันนั้น ตำรวจพบเครื่องพิมพ์ดีดภาษามลายู และเอกสารที่กำลังพิมพ์ค้างอยู่ในเครื่อง ที่ต่อมากลายเป็นหลักฐานชิ้นสำคัญที่ทางการอ้างว่า หะยีสุหลงมีแนวคิดแบ่งแยกดินแดน และชักชวนให้ต่างประเทศเข้ามาแทรกแซงในประเทศไทย
หนังสือ ปาตานี ประวัติศาสตร์และการเมืองในโลกมลายู ยังเปิดบันทึกหะยีสุหลงเพิ่มเติมว่า ตัวหะยีสุหลง เชื่อมั่นว่าการถูกจับกุมครั้งนั้น มีสาเหตุมาจากการถูกกลั่นแกล้งจากผู้มีอำนาจ มากกว่าที่จะมาจากสาเหตุแนวคิดการแบ่งแยกดินแดน เพราะความเคลื่อนไหวตลอดเวลาที่ผ่านมาของหะยีสุหลง รวมทั้งข้อเรียกร้องทั้ง 7 ข้อ ล้วนมีเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับหลักศาสนาและความเท่าเทียมแทบทั้งสิ้น
และนี่คือ ถ้อยคำในบันทึกหะยีสุหลง ที่ปรากฏในหนังสือเล่มนี้
“ด้วยหนังสือฉันทานุมัติ ข้าหลวงได้สั่งจับข้าพเจ้า แต่เหตุผลที่แท้จริง เนื่องจากในขณะที่เขาอยู่ที่กรุงเทพฯ นั้น เขาได้เขียนจดหมายไปยังข้าพเจ้าขอให้ช่วยหาเสียงในจังหวัดปัตตานี เพื่อเขาจะมาสมัครรับเลือกตั้งเป็นผู้แทนราษฎร เพราะข้าพเจ้ารู้จักกับเขา เพราะเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานีเมื่อ 18 ปีก่อน แต่ในเวลานั้นข้าพเจ้ารับปาก ขุนเจริญ สืบแสง ไว้แล้ว ข้าพเจ้าจึงไม่สามารถช่วยเหลือเขาได้ เขาจึงโกรธข้าพเจ้าและหาเรื่องจับข้าพเจ้า”
หนังสือ ปาตานี ประวัติศาสตร์และการเมืองในโลกมลายู ยังเปิดบันทึกหะยีสุหลงเพิ่มเติมว่า ตัวหะยีสุหลง เชื่อมั่นว่าการถูกจับกุมครั้งนั้น มีสาเหตุมาจากการถูกกลั่นแกล้งจากผู้มีอำนาจ มากกว่าที่จะมาจากสาเหตุแนวคิดการแบ่งแยกดินแดน เพราะความเคลื่อนไหวตลอดเวลาที่ผ่านมาของหะยีสุหลง รวมทั้งข้อเรียกร้องทั้ง 7 ข้อ ล้วนมีเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับหลักศาสนาและความเท่าเทียมแทบทั้งสิ้น
และนี่คือ ถ้อยคำในบันทึกหะยีสุหลง ที่ปรากฏในหนังสือเล่มนี้
“ด้วยหนังสือฉันทานุมัติ ข้าหลวงได้สั่งจับข้าพเจ้า แต่เหตุผลที่แท้จริง เนื่องจากในขณะที่เขาอยู่ที่กรุงเทพฯ นั้น เขาได้เขียนจดหมายไปยังข้าพเจ้าขอให้ช่วยหาเสียงในจังหวัดปัตตานี เพื่อเขาจะมาสมัครรับเลือกตั้งเป็นผู้แทนราษฎร เพราะข้าพเจ้ารู้จักกับเขา เพราะเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานีเมื่อ 18 ปีก่อน แต่ในเวลานั้นข้าพเจ้ารับปาก ขุนเจริญ สืบแสง ไว้แล้ว ข้าพเจ้าจึงไม่สามารถช่วยเหลือเขาได้ เขาจึงโกรธข้าพเจ้าและหาเรื่องจับข้าพเจ้า”

หะยีสุหลงเอ่ยถีงบุคคลสองคน คนหนึ่งคือ ผู้ที่เคยดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี และกำลังจะสมัครรับเลือกตั้ง อีกคนหนึ่ง คือ ขุนเจริญ สืบแสง หรือนายแพทย์เจริญ สืบแสง อดีตแพทย์ประจำหวัดปัตตานี ที่ต่อมาลงสมัครรับเลือกตั้งและได้รับเลือกเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฏร จังหวัดปัตตานี 3 สมัย
หะยีสุหลงเชื่อว่า การปฏิเสธไม่ช่วยเหลืออดีตข้าหลวงปัตตานีในครั้งนั้น คือสาเหตุที่ถูกตั้งข้อหาและจับกุม
อย่างไรก็ตาม แม้ส่วนหนึ่งของบันทึกหะยีสุหลงจะเชื่อว่า ถูกกลั่นแกล้ง แต่ข้อมูลที่ปรากฏในหนังสือ ปาตานี ประวัติศาสตร์และการเมืองในโลกมลายู ที่ระบุถึงความเคลื่อนไหวของตนกูมูฮัยยิดดิน และตนกูอับดุลยาลาล์ นาเซร์ (อดุลย์ ณ สายบุรี ต่อมาได้รับเลือกเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฏร จังหวัดนราธิวาส)
โดยตนกูอับดุลยาลาล์ นาเซร์ ทำจดหมายเรียกร้องไปยังสหประชาชาติให้เข้ามาแทรกแซงการจับกุมหะยีสุหลง เพราะเกรงว่าการจับกุมครั้งนี้จะทำให้ลุกลามบานปลาย และก่อให้เกิดการชุมนุม ต่อสู้ที่หลั่งเลือด
หะยีสุหลงเชื่อว่า การปฏิเสธไม่ช่วยเหลืออดีตข้าหลวงปัตตานีในครั้งนั้น คือสาเหตุที่ถูกตั้งข้อหาและจับกุม
อย่างไรก็ตาม แม้ส่วนหนึ่งของบันทึกหะยีสุหลงจะเชื่อว่า ถูกกลั่นแกล้ง แต่ข้อมูลที่ปรากฏในหนังสือ ปาตานี ประวัติศาสตร์และการเมืองในโลกมลายู ที่ระบุถึงความเคลื่อนไหวของตนกูมูฮัยยิดดิน และตนกูอับดุลยาลาล์ นาเซร์ (อดุลย์ ณ สายบุรี ต่อมาได้รับเลือกเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฏร จังหวัดนราธิวาส)
โดยตนกูอับดุลยาลาล์ นาเซร์ ทำจดหมายเรียกร้องไปยังสหประชาชาติให้เข้ามาแทรกแซงการจับกุมหะยีสุหลง เพราะเกรงว่าการจับกุมครั้งนี้จะทำให้ลุกลามบานปลาย และก่อให้เกิดการชุมนุม ต่อสู้ที่หลั่งเลือด

ขณะที่ตนกูมูฮัยยิดดินส่งโทรเลขไปถึง จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี ลงวันที่ 16 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1948 เรียกร้องให้ปล่อยตัวหะยีสุหลงโดยเร็ว เพราะเป็นการจับกุมโดยมิชอบ และเกิดจากการสร้างพยานเท็จ เพื่อสร้างหลักฐานที่นำไปสู่การจับกุม
ความเคลื่อนไหวของทั้งสองคน ที่ต่อมาทั้งคู่มีบทบาทในขบวนการแบ่งแยกดินแดนใน 3 จังหวัดภาคใต้ของไทย ไม่เพียงไม่เป็นผลดีต่อหะยีสุหลงแล้ว ท้ายที่สุดยังเป็นสาเหตุที่ถูกหยิบยกขึ้นมาตอกย้ำว่า หะยีสุหลงมีความสัมพันธ์กับขบวนการแบ่งแยกดินแดน ที่ขณะนั้นได้รับการสนับสนุนจากประเทศในโลกตะวันตก
บันทึกที่ปรากฏจากการสืบค้นข้อมูลของ อารีฟีน บินจิ, อับดุลลอฮ และซูฮัยมีย์ อิสมาแอล เริ่มปรากฏชัดมากขึ้นว่า หะยีสุหลง ครูสอนศาสนาที่ศรัทธาอย่างยิ่งในวิถีอิสลาม และปวารณาตัวที่จะรับใช้ศาสดา อาจตกเป็นเครื่องมือของกลุ่มมหาอำนาจตะวันตก ที่วันนั้นอยากผนวกพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้กลับมาอยู่ภายใต้การดูแลอีกครั้ง
หลังความพยายามที่จะผนวกแผ่นดินผืนนี้ล้มเหลวมาแล้วครั้งหนึ่ง เมื่อสัมพันธมิตรชนะในสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งครั้งนั้นอังกฤษขอเจรจาแก้ไขสัญญาชายแดนระหว่างอังกฤษกับสยาม ที่ทำไว้เมื่อปี ค.ศ.1909 หรือตรงกับ พ.ศ.2452 เพื่อขอผนวกดินแดนปัตตานีเข้ากับแผ่นดินส่วนใหญ่ของมลายู ทว่ารัฐบาลสหรัฐอเมริกาไม่เห็นด้วย และกดดันอย่างหนักที่จะล้มเลิกการเจรจาครั้งนั้น
ความเคลื่อนไหวของทั้งสองคน ที่ต่อมาทั้งคู่มีบทบาทในขบวนการแบ่งแยกดินแดนใน 3 จังหวัดภาคใต้ของไทย ไม่เพียงไม่เป็นผลดีต่อหะยีสุหลงแล้ว ท้ายที่สุดยังเป็นสาเหตุที่ถูกหยิบยกขึ้นมาตอกย้ำว่า หะยีสุหลงมีความสัมพันธ์กับขบวนการแบ่งแยกดินแดน ที่ขณะนั้นได้รับการสนับสนุนจากประเทศในโลกตะวันตก
บันทึกที่ปรากฏจากการสืบค้นข้อมูลของ อารีฟีน บินจิ, อับดุลลอฮ และซูฮัยมีย์ อิสมาแอล เริ่มปรากฏชัดมากขึ้นว่า หะยีสุหลง ครูสอนศาสนาที่ศรัทธาอย่างยิ่งในวิถีอิสลาม และปวารณาตัวที่จะรับใช้ศาสดา อาจตกเป็นเครื่องมือของกลุ่มมหาอำนาจตะวันตก ที่วันนั้นอยากผนวกพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้กลับมาอยู่ภายใต้การดูแลอีกครั้ง
หลังความพยายามที่จะผนวกแผ่นดินผืนนี้ล้มเหลวมาแล้วครั้งหนึ่ง เมื่อสัมพันธมิตรชนะในสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งครั้งนั้นอังกฤษขอเจรจาแก้ไขสัญญาชายแดนระหว่างอังกฤษกับสยาม ที่ทำไว้เมื่อปี ค.ศ.1909 หรือตรงกับ พ.ศ.2452 เพื่อขอผนวกดินแดนปัตตานีเข้ากับแผ่นดินส่วนใหญ่ของมลายู ทว่ารัฐบาลสหรัฐอเมริกาไม่เห็นด้วย และกดดันอย่างหนักที่จะล้มเลิกการเจรจาครั้งนั้น

ดังนั้นดินแดนภาคใต้ของไทยคือ ปัตตานี ยะลา นราธิวาส สตูล และบางส่วนของจังหวัดสงขลา จึงยังเป็นของราชอาณาจักรไทย จวบจนปัจจุบัน

69 ปี หะยีสุหลง ในตอนหน้าจะลงรายละเอียดคำให้การของนายตำรวจแหวนอัศวินว่า หะยีสุหลงหายไปอย่างไร และท้ายที่สุด เมื่อการต่อสู้ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ยังคงคุกรุ่น และมีแนวโน้มที่จะรุนแรงมากขึ้น อะไรเป็นต้นเหตุสำคัญ...