‘เอลนีโญ’ เติมความเสี่ยงไฟป่า กลุ่มอาเซียนเร่งเตรียมพร้อมรับมือหมอกควันข้ามพรมแดน

27 กรกฎาคม 2566 - 04:53

as-el-nino-fuels-fire-risk-SPACEBAR-Thumbnail
  • ประเทศต่างๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กำลังเตรียมพร้อมรับมือกับภัยคุกคามจากฤดูหมอกควันที่รุนแรงกว่าปกติ เนื่องจากปรากฏการณ์สภาพอากาศเอลนีโญทำให้อุณหภูมิเพิ่มสูงขึ้น

ประเทศต่างๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กำลังเตรียมพร้อมรับมือกับภัยคุกคามจากฤดูหมอกควันที่รุนแรงกว่าปกติ เนื่องจากปรากฏการณ์สภาพอากาศเอลนีโญทำให้อุณหภูมิเพิ่มสูงขึ้น 

กลุ่มรัฐมนตรีและเจ้าหน้าที่อาเซียนพบกันที่สิงคโปร์ในเดือนมิถุนายน โดยพวกเขาให้คำมั่นว่าจะเพิ่มการเฝ้าระวังไฟป่าและพยายามป้องกันมลพิษทางอากาศ และสรุปแผนใหม่เพื่อส่งเสริมความร่วมมือ 

ในช่วงฤดูแล้งในอินโดนีเซีย ซึ่งมักจะเริ่มในเดือนสิงหาคม การถางป่าเพื่อขยายการทำน้ำมันปาล์ม การทำฟาร์ม การผลิตเยื่อกระดาษ ครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ท่ามกลางหมอกควันหนาทึบเป็นเวลาหลายเดือน 

อ่านเรื่อง ‘เพื่อนบ้านเผาแต่เราสำลักฝุ่น สิงคโปร์ทำยังไงเมื่อเจอฝุ่นควันจากประเทศเพื่อนบ้าน’ ที่นี่

อย่างไรก็ตาม นักสิ่งแวดล้อมกังวลว่าฤดูหมอกควันนี้อาจเลวร้ายที่สุดในรอบหลายปี หลังจากที่องค์การอุตุนิยมวิทยาโลกเตือนว่าอุณหภูมิจะสูงขึ้นในพื้นที่ส่วนใหญ่ของโลก หลังจากเกิดปรากฏการณ์เอลนีโญในมหาสมุทรแปซิฟิกเขตร้อนเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 2016 

เฮเลนา วาร์คคีย์ รองศาสตราจารย์ด้านการเมืองสิ่งแวดล้อมและธรรมาภิบาลแห่งมหาวิทยาลัยมาลายาในกรุงกัวลาลัมเปอร์ กล่าวว่า การคาดการณ์คือเรากำลังจะเกิดปรากฏการณ์เอลนีโญที่รุนแรง เมื่อเกิดไฟไหม้แล้ว มีแนวโน้มจะคงอยู่เป็นเวลานานและเคลื่อนตัวข้ามพรมแดนของประเทศ หลังจากหลายปีที่ปราศจากหมอกควัน เนื่องจากการระบาดใหญ่ของโควิด-19 และสภาพอากาศที่เปียกชื้น แผนงานระดับภูมิภาคฉบับใหม่เพื่อแก้ไขปัญหานี้จะพิสูจน์ให้เห็นถึงความสำคัญก่อนฤดูกาลที่จะมาถึง  

“สิ่งสำคัญคือต้องให้ความสำคัญกับการสร้างมาตรฐานข้อมูล การแบ่งปันและการใช้ดัชนีคุณภาพอากาศ ข้อมูลฮอตสปอต เพื่อสนับสนุนการประสานงานข้ามพรมแดน” เธอกล่าวเสริม 

ด้วยสภาพอากาศที่ร้อนและแห้งแล้งเป็นเวลานาน ทำให้เกิดความเสี่ยงที่จะเกิดหมอกควันและมลพิษทางอากาศในวงกว้างหากไม่สามารถควบคุมการเผาป่าได้ อาเซียนจึงพยายามหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดวิกฤตหมอกควันซ้ำเช่นในปี 2019 และ 2015 

ในปี 2015 ระหว่างเดือนมิถุนายนถึงตุลาคม พื้นที่ประมาณ 2.6 ล้านเฮกตาร์ถูกเผาในอินโดนีเซีย ส่วนใหญ่บนเกาะสุมาตราและเกาะบอร์เนียว ตามรายงานของธนาคารโลกปี 2016 ไฟป่าสร้างความเสียหายให้กับประเทศราว 16,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 5.4 แสนล้านบาท 

การศึกษาของมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดเกี่ยวกับหมอกควันในปี 2015 กับการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรมากกว่า 100,000 รายในอินโดนีเซีย มาเลเซีย และสิงคโปร์ 

ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า ในช่วงฤดูหมอกควันก่อนหน้านี้ ประเทศต่างๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มักล้มเหลวในการทำงานร่วมกัน โดยรัฐบาลต่างกล่าวโทษกันและกันอย่างเปิดเผยและดำเนินการข้ามพรมแดนเพียงเล็กน้อย ในขณะที่นโยบายใดๆ ของอาเซียนถูกมองว่าอ่อนแอเกินไปที่จะสร้างผลกระทบอย่างแท้จริง 

เรื่องเด่นประจำสัปดาห์