‘ออสโล’ เมืองหลวงคาร์บอนต่ำ! โมเดลเมืองสีเขียวเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

25 ธ.ค. 2567 - 00:00

  • ส่องโมเดล ‘ออสโล’ เมืองหลวงคาร์บอนต่ำ! เมืองสีเขียวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม มุ่งมั่นลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลง 90-95% ภายในปี 2030

  • เมืองแห่งนี้ให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมเป็นที่สุด แถมยังได้ชื่อว่าเป็นเมืองหลวงแห่งรถยนต์ไฟฟ้าด้วย และในปัจจุบันพบว่า รถยนต์ไฟฟ้านั้นมีมากกว่ารถยนต์น้ำมันเชื้อเพลิงฟอสซิลเสียอีก

oslo-norway-green-one-of-the-most-sustainable-city-SPACEBAR-Hero.jpg

ในยุคที่ ‘การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ’ เริ่มมีอิทธิพลต่อสิ่งมีชีวิตโดยเฉพาะมนุษย์อย่างเรามากขึ้นเรื่อยๆ เมื่อเป็นเช่นนั้นการปรับตัว และเตรียมพร้อมรับมือ จึงเป็นหนึ่งในวิธีต่อสู้กับภาวะเลวร้ายที่อาจเกิดขึ้น แม้แต่เวทีประชุมระดับโลกก็มักจะหยิบยกประเด็นสภาพอากาศมาพูดกันอยู่บ่อยครั้ง 

เป้าหมาย ‘การปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์’ อาจดูเป็นเรื่องยากสำหรับหลายๆ ประเทศ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะไม่มี เพราะบางเมือง บางประเทศก็ตระหนักถึงความสำคัญออกนโยบายจริงจังจนได้ชื่อว่าเป็นหนึ่งใน ‘เมืองสีเขียวที่มีความยั่งยืนมากที่สุด’ 

ในที่นี้ SPACEBAR จะหยิบยกโมเดลของ ‘กรุงออสโล’ เมืองหลวงของนอร์เวย์ มาเล่าว่าบ้านเมืองเขารับมือและปรับตัวอย่างไรถึงเนรมิตรให้เมืองเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม...ยินดีต้อนรับสู่กรุงออสโล! 

47% ของพื้นที่ในกรุงออสโลเป็น ‘พื้นที่สีเขียว’

oslo-norway-green-one-of-the-most-sustainable-city-SPACEBAR-Photo01.jpg

ออสโลใช้พลังงานหมุนเวียนจำนวนมาก เช่น พลังงานน้ำ ซึ่งคิดเป็นประมาณ 60% ของการใช้พลังงานทั้งหมด นอกจากนี้ การปล่อยก๊าซเรือนกระจกของเมืองนี้ยังลดลงอย่างมากตั้งแต่ปี 2013 และกำลังมุ่งหน้าที่จะบรรลุเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลง 90-95% ภายในปี 2030 (เมื่อเทียบกับระดับในปี 1990) อีกทั้งยังมีการบันทึกและตรวจสอบการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั่วทั้งเมือง 

กองทุนเทศบาลจะลงทุนทรัพยากรไปกับโครงการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากกว่าทางเลือกที่ใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล โดยเมืองตั้งเป้าหมายที่จะให้ออสโลเป็นศูนย์กลางปลอดรถยนต์์ สนับสนุนการเดินทางด้วยจักรยานไฟฟ้า การเข้าถึงช่องทางขนส่งสาธารณะที่ดีขึ้น รวมถึงการยกเว้นค่าธรรมเนียมสำหรับผู้ที่ใช้รถยนต์ไฟฟ้า 

ออสโลโดดเด่นในด้านการนำงบประมาณด้านสภาพอากาศมาใช้ และในปัจจุบันยังเป็นเมืองแรกในโลกที่นำงบประมาณด้านสภาพอากาศมาใช้ตามข้อตกลงปารีสด้วย งบประมาณดังกล่าวยังรวมถึงมาตรการหลายประการที่วัดการเปลี่ยนแปลงและการลดการปล่อยก๊าซที่จำเป็นภายในปี 2030 ด้วย 

เมืองนี้มีแต่รถไฟฟ้าเต็มไปหมด...

ออสโลใช้พลังงานหมุนเวียนจำนวนมาก เช่น พลังงานน้ำ ซึ่งคิดเป็นประมาณ 60% ของการใช้พลังงานทั้งหมด นอกจากนี้ การปล่อยก๊าซเรือนกระจกของเมืองนี้ยังลดลงอย่างมากตั้งแต่ปี 2013 และกำลังมุ่งหน้าที่จะบรรลุเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลง 90-95% ภายในปี 2030 (เมื่อเทียบกับระดับในปี 1990) อีกทั้งยังมีการบันทึกและตรวจสอบการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั่วทั้งเมือง 

กองทุนเทศบาลจะลงทุนทรัพยากรไปกับโครงการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากกว่าทางเลือกที่ใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล โดยเมืองตั้งเป้าหมายที่จะให้ออสโลเป็นศูนย์กลางปลอดรถยนต์์ สนับสนุนการเดินทางด้วยจักรยานไฟฟ้า การเข้าถึงช่องทางขนส่งสาธารณะที่ดีขึ้น รวมถึงการยกเว้นค่าธรรมเนียมสำหรับผู้ที่ใช้รถยนต์ไฟฟ้า 

ออสโลโดดเด่นในด้านการนำงบประมาณด้านสภาพอากาศมาใช้ และในปัจจุบันยังเป็นเมืองแรกในโลกที่นำงบประมาณด้านสภาพอากาศมาใช้ตามข้อตกลงปารีสด้วย งบประมาณดังกล่าวยังรวมถึงมาตรการหลายประการที่วัดการเปลี่ยนแปลงและการลดการปล่อยก๊าซที่จำเป็นภายในปี 2030 ด้วย 

เมืองนี้มีแต่รถไฟฟ้าเต็มไปหมด...

oslo-norway-green-one-of-the-most-sustainable-city-SPACEBAR-Photo02.jpg

ที่นี่ได้ชื่อว่าเป็นหนึ่งใน ‘เมืองชั้นนำของโลกด้านการใช้รถยนต์ไฟฟ้า’ เมืองหลวงออสโลกำลังนำนอร์เวย์สู่เส้นทางสีเขียว แถมยังครองสัดส่วนรถยนต์ไฟฟ้าสูงที่สุดในโลกจนมักถูกเรียกว่า ‘เมืองหลวงแห่งรถยนต์ไฟฟ้าของโลก’ 

รถยนต์ที่ใช้น้ำมันและดีเซลในนอร์เวย์จะมีราคาแพงกว่าในประเทศอื่นๆ มาก อีกทั้ง การเก็บภาษีรถยนต์ดังกล่าวยังกลายเป็นแรงจูงใจให้ชาวนอร์เวย์หันมาใช้รถยนต์ไฟฟ้าเพิ่มมากขึ้น   

รัฐบาลออสโลทั้งสนับสนุนทั้งโปรโมทการซื้อ และการเป็นเจ้าของรถยนต์ไฟฟ้า รวมถึงสร้างโรงจอดรถฟรีสำหรับรถยนต์ไฟฟ้า พร้อมสถานีชาร์จในเมือง ซึ่งช่วยกระตุ้นยอดขายตลาดรถยนต์ปลอดมลพิษของบริษัทเอกชน ทั้งนี้พบว่า 82% ของรถยนต์ส่วนบุคคลทั้งหมดที่ขายในออสโลในปี 2023 เป็นรถยนต์ไฟฟ้า ในปัจจุบันมีรถยนต์ไฟฟ้าขนาดเบา (light-duty electric cars) บนท้องถนนในออสโลมากกว่ารถยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์สันดาปน้ำมันเชื้อเพลิง 

เมืองนี้ยังมีระบบขนส่งมวลชนสาธารณะที่ยั่งยืน ไม่ว่าจะเป็นรถรางไฟฟ้า รถโดยสารที่ใช้พลังงานไฟฟ้าและเชื้อเพลิงชีวภาพ ขณะเดียวกัน จำนวนผู้คนในเมืองออสโลที่เดินทางด้วยระบบขนส่งสาธารณะ จักรยาน และการเดินเท้าก็เพิ่มขึ้นเช่นกัน 

ไม่เพียงเท่านี้แต่ออสโลยังมีเขตปล่อยมลพิษต่ำ (พื้นที่สำหรับรถไฟฟ้า หรือยานยนต์ไฮบริด) และมีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการจราจรคับคั่งสำหรับรถที่ขับเข้าสู่ใจกลางเมืองในช่วงกลางวันของวันธรรมดาแล้ว 

“ห้ามใช้รถยนต์เชื้อเพลิงฟอสซิล”

oslo-norway-green-one-of-the-most-sustainable-city-SPACEBAR-Photo03.jpg

เมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา เมืองหลวงของนอร์เวย์ได้ประกาศเจตนารมย์ที่จะทำให้ใจกลางเมืองออสโลเป็น ‘เขตปลอดรถยนต์’ ส่วนหนึ่งของข้อเสนอมีแนวโน้มว่าจะ ‘ห้ามใช้รถยนต์เชื้อเพลิงฟอสซิลประสิทธิภาพต่ำ’ ในประเทศ 

หากมาตรการนี้เกิดขึ้นจริง ออสโลจะกลายเป็น ‘เขตปลอดรถยนต์ถาวรแห่งแรกในเมืองใหญ่ของยุโรป’ แต่ถึงกระนั้น ในขณะนี้ก็ยังคงมีรถยนต์วิ่งอยู่บนท้องถนนในใจกลางเมืองออสโล เนื่องจากยังไม่มีการบังคับใช้กฎหมายห้ามใช้รถยนต์ในเมืองอย่างเป็นทางการ และเด็ดขาด 

แต่ในปัจจุบัน พื้นที่ส่วนใหญ่ของเมืองหลวงของนอร์เวย์เป็นเขตปลอดรถยนต์ โดยเฉพาะบริเวณสถานที่สำคัญ เช่น โรงเรียน และสวนสาธารณะ นอกจากนี้ ที่จอดรถกว่า 700 แห่งในใจกลางเมืองออสโลถูกแทนที่ด้วยเลนจักรยาน ต้นไม้ สวนสาธารณะขนาดเล็ก และที่นั่ง ซึ่งถือเป็นก้าวสำคัญในการบรรลุเป้าหมายของเมืองในการเป็นเมืองปลอดรถยนต์ 

สำนักข่าว The Guardian ระบุว่า ในปี 2020 เมืองออสโลและเฮลซิงกิ เมืองหลวงของฟินแลนด์ ไม่มีรายงานผู้เสียชีวิตจากคนเดินถนน หรือคนปั่นจักรยานในเมืองในช่วงปีที่ผ่านมา 

เมืองหลวงคาร์บอนต่ำ

oslo-norway-green-one-of-the-most-sustainable-city-SPACEBAR-Photo04.jpg

ไฟฟ้าส่วนใหญ่ที่จ่ายเข้าสู่ระบบไฟฟ้าในนอร์เวย์มาจากพลังงานน้ำ แต่ส่วนใหญ่แล้ว พลังงานในนอร์เวย์ยังมาจากชีวมวล พลังงานความร้อนใต้พิภพ พลังงานแสงอาทิตย์ และพลังงานลม 

เมืองออสโลจัดหาพลังงานหมุนเวียน (RE) ให้กับการขนส่งสาธารณะ เช่น เชื้อเพลิงชีวภาพในกองยานขนส่งมวลชน นอกจากนี้ เมืองยังใช้แหล่งพลังงานหมุนเวียนเพื่อผลิตไฟฟ้าสำหรับภาคส่วนอื่นๆ ของเศรษฐกิจในเมืองด้วยเช่นกัน รวมถึงระบบขนส่งสาธารณะที่ใช้ไฟฟ้า 

เมืองหลวงแห่งนี้ยังใช้กลยุทธ์ RE ได้อย่างสร้างสรรค์ เช่น การใช้ขยะอาหาร (food waste) และพลังงานจากขยะอื่นๆ (W2E) เพื่อผลิตพลังงานให้กับรถประจำทางในเมืองบางสาย ด้วยการแปลงขยะให้เป็นเชื้อเพลิงชีวภาพที่สามารถใช้งานได้ เช่น ไบโอมีเทนเหลว 

ทั้งนี้ เป้าหมายของเมืองออสโลคือ การดำเนินการขนส่งสาธารณะของเมืองด้วยไฟฟ้าหรือแหล่งพลังงานหมุนเวียนเท่านั้น ซึ่งออสโลตั้งเป้าให้ระบบขนส่งสาธารณะทั้งหมดปล่อยมลพิษเป็นศูนย์ 

อย่างไรก็ดี เมืองออสโลถือเป็นตัวอย่างที่ยอดเยี่ยมที่สามารถบรรลุเป้าหมายด้านความยั่งยืน และกำลังก้าวขึ้นสู่การเป็นเมืองที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก สำหรับเป้าหมายในอนาคตของเมืองนี้ถือว่าน่าประทับใจเป็นอย่างยิ่ง และยังไม่มีเมืองอื่นใดที่จะเดินตามรอยเมืองนี้

เรื่องเด่นประจำสัปดาห์