พระราชพิธีบรมราชาภิเษกพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 3 ที่กำลังจะมีขึ้นในวันที่ 6 พฤษภาคมนี้ เป็นพระราชพิธีสำคัญในหน้าประวัติศาสตร์อังกฤษที่ซึ่งกษัตริย์อังกฤษทุกพระองค์ที่ผ่านมา ต้องผ่านการประกอบพิธีราชาภิเษกภายในมหาวิหารเวสต์มินสเตอร์ ซึ่งนัยสำคัญของพิธีการนี้คือเป็น ‘ศาสนพิธี' มากกว่าที่จะเป็น 'รัฐพิธี’
สิ่งสะท้อนอย่างชัดเจนคือ บุคคลสำคัญที่จะเป็นผู้ประกอบพิธีนั้นคือ อาร์ชบิชอปแห่งแคนเทอร์เบอรี อัครมุขนายกและผู้นำหลักของคริสตจักรแห่งอังกฤษ และอาร์ชบิชอปแห่งยอร์ก ซึ่งเป็นตำแหน่งสูงสุดรองจากอาร์ชบิชอปแห่งแคนเทอร์เบอรี มีฐานะเป็นบิชอปประจำมุขมณฑลยอร์ก
ตามประวัติศาสตร์นับหลายศตวรรษ สองตำแหน่งนี้นอกจากจะเป็นผู้นำหลักของคริสต์จักรอังกฤษแล้ว ยังมีความสำคัญในฐานะผู้ทำหน้าที่ประกอบพิธีราชาภิเษกกษัตริย์อังกฤษองค์ใหม่ ตั้งแต่การเจิมน้ำมันศักดิ์สิทธิ์ การถวายเครื่องราชกกุธภัณฑ์ ตลอดจนการสวมมงกุฎให้กษัตริย์และพระราชินีองค์ใหม่
ไฮไลต์สำคัญที่เราจะได้เห็นการประกอบพระราชพิธีตามธรรมเนียมโบราณของอังกฤษคือ การเจิมน้ำมันศักดิ์สิทธิ์ และการสวมมงกุฎพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 3 ซึ่งก่อนหน้านี้ผู้เขียนเคยอธิบายถึงประวัติอันน่าสนใจของ 2 มงกุฎคู่บัลลังก์กษัตริย์อังกฤษแล้วนั่นคือ มงกุฎเซนต์เอ็ดเวิร์ด (St Edward's Crown) และ มงกุฎอิมพีเรียลสเตต (Imperial State Crown) อ่าน ‘เบื้องหลัง 2 มงกุฎสำคัญในพิธีครองราชย์กษัตริย์ชาร์ลส์ที่ 3’ ที่นี่
และยังมีอีกหนึ่งธรรมเนียมสำคัญของพิธีการนี้ซึ่งถูกเก็บไว้เป็นความลับมานานนับศตวรรษ นั่นคือ พิธีการเจิมน้ำมันศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งตลอดประวัติศาสตร์พิธีราชาภิเษกที่ผ่านมา ไม่เคยมีใครเคยเห็นภาพการประกอบพิธีนี้มาก่อน และทุกคนอาจจะได้เห็นพิธีการนี้เป็นครั้งแรกในพิธีราชาภิเษกพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 3
สิ่งสะท้อนอย่างชัดเจนคือ บุคคลสำคัญที่จะเป็นผู้ประกอบพิธีนั้นคือ อาร์ชบิชอปแห่งแคนเทอร์เบอรี อัครมุขนายกและผู้นำหลักของคริสตจักรแห่งอังกฤษ และอาร์ชบิชอปแห่งยอร์ก ซึ่งเป็นตำแหน่งสูงสุดรองจากอาร์ชบิชอปแห่งแคนเทอร์เบอรี มีฐานะเป็นบิชอปประจำมุขมณฑลยอร์ก
ตามประวัติศาสตร์นับหลายศตวรรษ สองตำแหน่งนี้นอกจากจะเป็นผู้นำหลักของคริสต์จักรอังกฤษแล้ว ยังมีความสำคัญในฐานะผู้ทำหน้าที่ประกอบพิธีราชาภิเษกกษัตริย์อังกฤษองค์ใหม่ ตั้งแต่การเจิมน้ำมันศักดิ์สิทธิ์ การถวายเครื่องราชกกุธภัณฑ์ ตลอดจนการสวมมงกุฎให้กษัตริย์และพระราชินีองค์ใหม่
ไฮไลต์สำคัญที่เราจะได้เห็นการประกอบพระราชพิธีตามธรรมเนียมโบราณของอังกฤษคือ การเจิมน้ำมันศักดิ์สิทธิ์ และการสวมมงกุฎพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 3 ซึ่งก่อนหน้านี้ผู้เขียนเคยอธิบายถึงประวัติอันน่าสนใจของ 2 มงกุฎคู่บัลลังก์กษัตริย์อังกฤษแล้วนั่นคือ มงกุฎเซนต์เอ็ดเวิร์ด (St Edward's Crown) และ มงกุฎอิมพีเรียลสเตต (Imperial State Crown) อ่าน ‘เบื้องหลัง 2 มงกุฎสำคัญในพิธีครองราชย์กษัตริย์ชาร์ลส์ที่ 3’ ที่นี่
และยังมีอีกหนึ่งธรรมเนียมสำคัญของพิธีการนี้ซึ่งถูกเก็บไว้เป็นความลับมานานนับศตวรรษ นั่นคือ พิธีการเจิมน้ำมันศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งตลอดประวัติศาสตร์พิธีราชาภิเษกที่ผ่านมา ไม่เคยมีใครเคยเห็นภาพการประกอบพิธีนี้มาก่อน และทุกคนอาจจะได้เห็นพิธีการนี้เป็นครั้งแรกในพิธีราชาภิเษกพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 3

กษัตริย์อันบริสุทธิ์
ตามที่ระบุไว้ข้างต้นว่า พระราชพิธีบรมราชาภิเษกกษัตริย์ชาร์ลส์ที่ 3 ในวันที่ 6 พฤษภาคมเป็นพิธีในลักษณะศาสนพิธีมากกว่ารัฐพิธี เป็นพิธีเชิงสัญลักษณ์ว่าอังกฤษมีกษัตริย์องค์ใหม่อย่างเป็นทางการ ขณะที่พิธีเชิงรัฐพิธีซึ่งคือ ประกาศการขึ้นครองราชย์ของสมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 3 (Proclamation of accession of Charles III) ได้กระทำเสร็จสิ้นในพระราชวังเซนต์เจมส์ตั้งแต่ 10 กันยายน 2022หากย้อนกลับไปในช่วงพิธีบรมราชาภิเษกสมเด็จพระราชินีเอลิซาเบธที่ 2 เมื่อ 2 มิถุนายน 1953 นับเป็นครั้งแรกที่มีการถ่ายทอดสดพระราชพิธีดังกล่าวผ่านทางโทรทัศน์ ในครั้งนั้นยอดขายและยอดเช่าโทรทัศน์ในสหราชอาณาจักรพุ่งสูงสุดในประวัติศาสตร์ เนื่องจากผู้คนต้องการชมการถ่ายทอดพิธีสำคัญนี้เป็นครั้งแรก
อย่างไรก็ตามมีบางช่วงของพิธีที่กล้องจะไม่จับภาพสมเด็จพระราชินีขณะทรงประกอบพิธีบรมราชาภิเษก นั่นคือ ช่วงที่อาร์ชบิชอปแห่งแคนเทอร์เบอรีทำการเจิมน้ำมันศักดิ์สิทธิ์บริเวณหน้าผาก หน้าอก และมือ ของพระราชินีขณะทรงฉลองพระองค์ชุดผ้าขาวล้วน ซึ่งในช่วงเวลาดังกล่าวจะมีการนำผ้าม่านสีทองมาปิดไว้
เหตุที่ต้องมีผ้าม่านปิดและกล้องไม่จับภาพ ไม่ใช่ด้วยเหตุผลที่เกรงว่าควีนจะโป๊หรือหมิ่นพระเกียรติแต่อย่างใด แต่เพราะน้ำมันศักดิ์เป็นการเชื่อมโยงโดยตรงถึงพระเจ้า
การเจิมน้ำมันศักดิ์สิทธิ์เป็นสัญลักษณ์ที่หมายถึงพระเจ้าได้เลือกสรรผู้ที่ให้มีบทบาทเป็นผู้ปกครอง กษัตริย์ หรือสงฆ์สาวก ตามพระคัมภีร์เก่า (Old Testament) หนึ่งในบุคคลสำคัญที่ได้รับการเจิมน้ำมันคือ พระเมสสิยาห์หรือพระคริสต์ ดังนั้นการเจิมน้ำมันคือพิธีการเชิงสัญลักษณ์ที่ล้างบาปมลทิน และเพื่อแสดงถึงความเชื่อมโยงระหว่างกษัตริย์กับพระเจ้า ในฐานะที่กษัตริย์คือตัวแทนของพระเจ้าทำหน้าที่ปกครองบนโลกมนุษย์

ช่วงพิธีราชาภิเษกของสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 ในปี 1953 เพื่อรักษาความศักดิ์สิทธิ์ดังกล่าว ขุนนางทั้งสี่ที่ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์อัศวินแห่งการ์เตอร์ (Order of the Garter) จะถือหลังคาผ้าม่านสีทองคลุมไว้รอบๆ พระมหากษัตริย์ เพื่อป้องกันการกระทำจากการมองเห็น ในระหว่างการเจิม พระมหากษัตริย์จะทรงถอดฉลองพระองค์สีแดงเข้มและถอดเครื่องเพชรพลอยใดๆ ออก ทำให้สัญลักษณ์ของสถานะทั้งหมดหมดไป ประทับนั่งอยู่บนเก้าอี้ของเซนต์เอ็ดเวิร์ด (เก้าอี้พิธีราชาภิเษก) สวมเสื้อคลุมหรือเสื้อคลุมสีขาว
สำหรับในพิธีครองราชย์ของพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 3 ในรอบนี้ อาจเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ที่เราจะได้เห็นพิธีศักดิ์สิทธิ์อันไม่เคยเปิดเผยที่ไหนมาก่อนก็เป็นได้ ส่วนพระราชินีคามิลลา ก็จะได้รับการเจิมน้ำมันนี้เช่นกัน แต่จะเจิมเฉพาะที่หน้าผากเท่านั้น
สำหรับในพิธีครองราชย์ของพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 3 ในรอบนี้ อาจเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ที่เราจะได้เห็นพิธีศักดิ์สิทธิ์อันไม่เคยเปิดเผยที่ไหนมาก่อนก็เป็นได้ ส่วนพระราชินีคามิลลา ก็จะได้รับการเจิมน้ำมันนี้เช่นกัน แต่จะเจิมเฉพาะที่หน้าผากเท่านั้น

ในบทความเกี่ยวกับพิธีเจิมน้ำมันศักดิ์สิทธิ์ของ ดร.จอร์จ กรอส นักวิจัยด้านเทววิทยาจาก King's College ลอนดอน ระบุว่า การเจิมน้ำมันศักดิ์สิทธิ์ในพิธีราชาภิเษกมีความคล้ายกับการพิธีสรงน้ำพระมุรธาภิเษกของกษัตริย์ในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
พิธีนี้ถูกมองว่าเป็นช่วงเวลาศักดิ์สิทธิ์และทางศาสนา (คล้ายกับพิธีล้างบาป) โดยน้ำมันดังกล่าวจะถูกบรรจุอยู่ในคนโททองคำรูปนกอินทรีย์พร้อมกับช้อนทองคำ อาร์ชบิชอปแห่งแคนเทอร์เบอรีจะเทน้ำมันผ่านคนโททองคำลงบนช้อนทองคำ ก่อนจะใช้นิ้วเจิมน้ำมันศักดิ์สิทธิ์ลงบนหน้าผาก หน้าอก และฝ่ามือของกษัตริย์เป็นรูปกางเขน พร้อมกับกล่าวว่า “จงเจิมศีรษะของท่านด้วยน้ำมันบริสุทธิ์ ดังที่กษัตริย์และผู้เผยพระวจนะได้รับการเจิม และโซโลมอนที่เคยรับการเจิมตั้งเป็นกษัตริย์โดยปุโรหิตศาโดกและผู้เผยพระวจนะนาธาน ดังนั้นจงได้รับการเจิม ได้รับพร และอุทิศตนเป็นกษัตริย์/ราชินีเหนือประชาชน ผู้ซึ่งพระยาห์เวห์พระเจ้าของคุณประทานให้ปกครอง”
การเจิมน้ำมันศักดิ์สิทธิ์ในพิธีราชาภิเษกของกษัตริย์อังกฤษ ไม่ชัดเจนว่าเริ่มต้นตั้งแต่เมื่อใด แต่ปรากฏหลักฐานว่ามีพิธีเจิมน้ำมันในราชาภิเษกตั้งแต่ยุคสมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 4 แห่งอังกฤษ ค.ศ. 1399 เรื่อยมา แต่ก็ไม่ใช่ว่ากษัตริย์ทุกพระองค์จะชอบกับพิธีการนี้ ครั้งหนึ่งในพิธีราชาภิเษก สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 1 ในปี 1559 พระองค์เรียกน้ำมันศักดิ์สิทธิ์ว่า “ไขมันที่มีกลิ่นเหม็น”
พิธีนี้ถูกมองว่าเป็นช่วงเวลาศักดิ์สิทธิ์และทางศาสนา (คล้ายกับพิธีล้างบาป) โดยน้ำมันดังกล่าวจะถูกบรรจุอยู่ในคนโททองคำรูปนกอินทรีย์พร้อมกับช้อนทองคำ อาร์ชบิชอปแห่งแคนเทอร์เบอรีจะเทน้ำมันผ่านคนโททองคำลงบนช้อนทองคำ ก่อนจะใช้นิ้วเจิมน้ำมันศักดิ์สิทธิ์ลงบนหน้าผาก หน้าอก และฝ่ามือของกษัตริย์เป็นรูปกางเขน พร้อมกับกล่าวว่า “จงเจิมศีรษะของท่านด้วยน้ำมันบริสุทธิ์ ดังที่กษัตริย์และผู้เผยพระวจนะได้รับการเจิม และโซโลมอนที่เคยรับการเจิมตั้งเป็นกษัตริย์โดยปุโรหิตศาโดกและผู้เผยพระวจนะนาธาน ดังนั้นจงได้รับการเจิม ได้รับพร และอุทิศตนเป็นกษัตริย์/ราชินีเหนือประชาชน ผู้ซึ่งพระยาห์เวห์พระเจ้าของคุณประทานให้ปกครอง”
การเจิมน้ำมันศักดิ์สิทธิ์ในพิธีราชาภิเษกของกษัตริย์อังกฤษ ไม่ชัดเจนว่าเริ่มต้นตั้งแต่เมื่อใด แต่ปรากฏหลักฐานว่ามีพิธีเจิมน้ำมันในราชาภิเษกตั้งแต่ยุคสมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 4 แห่งอังกฤษ ค.ศ. 1399 เรื่อยมา แต่ก็ไม่ใช่ว่ากษัตริย์ทุกพระองค์จะชอบกับพิธีการนี้ ครั้งหนึ่งในพิธีราชาภิเษก สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 1 ในปี 1559 พระองค์เรียกน้ำมันศักดิ์สิทธิ์ว่า “ไขมันที่มีกลิ่นเหม็น”

Holy Oil จากอิสราเอล
แม้ชื่อจะบอกว่าเป็น ‘น้ำมันศักดิ์สิทธิ์’ แต่แท้จริงแล้วมันก็คือ essential oil หรือน้ำมันหอมระเหยที่ปรุงจากส่วนผสมหลากชนิด และถูกทำให้ ‘ศักดิ์สิทธิ์’ โดยพิธีกรรมทางศาสนาสูตรน้ำมันศักดิ์สิทธิ์ที่ใช้ในพิธีราชาภิเษกถูกเก็บเป็นความลับตลอดประวัติศาสตร์ สำหรับพิธีราชาภิเษกของพระเจ้าจอร์จที่ 1 ในปี 1714 ถูกสร้างขึ้นโดย James Chase และ Daniel Malthus สองเภสัชกรธรรมดา ในราคา 206 ปอนด์ ส่วนประกอบจำนวนมากของน้ำมันเข้มข้นเอสเซนเชียล มีกลิ่นฉุนเฉพาะตัว
ในสารคดีปี 2018 ที่นำเสนอพระราชประวัติของสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 มีการเปิดเผยว่าน้ำมันที่ใช้ในพิธีบรมราชาภิเษกของสมเด็จพระราชินี ได้แก่ น้ำมันงาและน้ำมันมะกอก แอมเบอร์กริส ชะมด ดอกส้ม ดอกกุหลาบ ดอกมะลิ อบเชย มัสค์ และกำยาน สูตรลับนี้คล้ายกับที่ใช้กับพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1 เคยใช้ในปี 1625
เดิมทีน้ำมันศักดิ์สิทธิ์จะนำบางส่วนที่เหลือจากรัชกาลก่อน มาผสมใหม่ ทว่าช่วงปี 1902 กษัตริย์จอร์จที่ 5 ในปี 1911 และพระเจ้าจอร์จที่ 6 ในปี 1937 ขวดน้ำมันที่เหลือซึ่งถูกซ่อนอย่างระมัดระวัง ถูกระเบิดทำลายจนเสียหายในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ในพิธีราชาภิเษกของสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 ราชสำนักจึงได้ว่าจ้างบริษัทเอกชนผสมน้ำมันขึ้นมาใหม่ตามสูตรเดิม โดยใช้ส่วนผสมจากแหล่งต่างๆ ที่อยู่ในประเทศอิสราเอลซึ่งเชื่อมโยงกับตำนานพระคริสต์
สำหรับน้ำมันที่ใช้ในพิธีราชาภิเษกของกษัตริย์ชาร์ลส์ที่ 3 นอกจากจะมีการนำน้ำมันที่เหลือจากพิธีสมัยพระราชมารดาแล้ว ยังมีการผสมน้ำมันขึ้นมาใหม่โดยใช้ส่วนผสมน้ำมันมะกอกจากมะกอกที่เก็บเกี่ยวจากสวนบนภูเขามะกอก เนินเขาเก่าแก่ชานกรุงเยรูซาเล็ม ซึ่งมีสัญลักษณ์ทางศาสนาที่สำคัญสำหรับชาวคริสต์และชาวยิว โดยเชื่อว่าเทือกเขานี้เป็นสถานที่ซึ่งโมเสสได้รับบัญญัติ 10 ประการ จากพระยาห์เวห์
มะกอกเหล่านี้ถูกเก็บจากอาราม Mary Magdalene และ Monastery of the Ascension สองอารามอันเก่าแก่ที่สุดของคริสตจักร จากนั้นถูกนำไปคั้นน้ำมันที่เมืองเบธเลเฮมอันเป็นเมืองประสูติของพระเยซู ก่อนนำไปปรุงกลิ่นด้วยงา กุหลาบ ดอกมะลิ อบเชย เนโรลี กำยาน อำพัน และดอกส้ม
ขณะที่ส่วนผสมเดิมตามสูตรโบราณอย่างเช่น ต่อมของอีเห็นแมว แอมเบอร์กริส (เยื่อบุท้องของวาฬสเปิร์ม) และสารคัดหลั่งของชะมด ถูกยกเลิกไปเนื่องจากไม่ต้องการให้ถูกมองว่า กษัตริย์กำลังหักล้างการทารุณกรรมสัตว์
หลังผสมเสร็จ น้ำมันจะได้รับการทำพิธีในโบสถ์แห่งสุสานศักดิ์สิทธิ์ในกรุงเยรูซาเล็ม โดยพระสังฆราชแห่งเยรูซาเล็ม พระสังฆราชเทโอฟิลอสที่ 3 และพระอัครสังฆราชชาวอังกฤษในกรุงเยรูซาเล็ม โฮซัม นาอูม โดยอิสราเอลสนับสนุนด้านการรวบรวมวัตถุดิบสำคัญสำหรับการปรุงน้ำมันดังกล่าว

ตลอดรัชสมัยสมเด็จพระราชินีเอลิซาเบธที่ 2 พระองค์เสด็จเยือนทั้งสิ้น 117 ประเทศ ขณะที่อิสราเอลแม้จะมีบทบาทสำคัญในการปรุงน้ำมันศักดิ์สิทธิ์สำหรับพิธีราชาภิเษกในครั้งนี้ แต่สมัยสมเด็จพระราชินีเอลิซาเบธพระองค์ไม่เคยเสด็จเยือนอิสราเอลเลยแม้แต่ครั้งเดียว เนื่องด้วยปัจจัยด้านการเมืองระหว่างอิสราเอลกับปาเลสไตน์ ทำให้ควีนทรงต้องวางพระองค์เป็นกลางต่อทุกฝ่าย
อย่างไรก็ตามมีหลายครั้งที่ผู้นำอิสราเอลทั้งระดับประมุขของรัฐอย่างประธานาธิบดี และนายกรัฐมนตรีอิสราเอล เข้าเฝ้าฯ สมเด็จพระราชินีที่พระราชวังบักกิงแฮมเพื่อสานสัมพันธไมตรีของสองชาติ
ขณะที่พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 3 ช่วงที่ยังเป็นเจ้าฟ้าชายชาร์ลส์ก็ไม่เคยเดินทางเยือนอิสราเอลอย่างเป็นทางการเลยแม้แต่ครั้งเดียว มีแค่การเสด็จเยือนเป็นการส่วนพระองค์ 2 ครั้ง เพื่อร่วมงานศพของอดีตนายกรัฐมนตรียิตซัค ราบิน และอดีตประธานาธิบดีชิมอน เปเรส สองบุคคลสำคัญในกระบวนการสันติภาพอิสราเอล-ปาเลสไตน์
กระทั่งเดือนมกราคม 2020 เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์กว่า 75 ปีนับตั้งแต่อังกฤษสถาปนาความสัมพันธ์กับอิสราเอล เป็นครั้งแรกที่เจ้าฟ้าชายชาร์ลส์นับเป็นพระราชวงศ์อังกฤษพระองค์แรกที่เสด็จเยือนอิสราเอลอย่างเป็นทางการ
อย่างไรก็ตามมีหลายครั้งที่ผู้นำอิสราเอลทั้งระดับประมุขของรัฐอย่างประธานาธิบดี และนายกรัฐมนตรีอิสราเอล เข้าเฝ้าฯ สมเด็จพระราชินีที่พระราชวังบักกิงแฮมเพื่อสานสัมพันธไมตรีของสองชาติ
ขณะที่พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 3 ช่วงที่ยังเป็นเจ้าฟ้าชายชาร์ลส์ก็ไม่เคยเดินทางเยือนอิสราเอลอย่างเป็นทางการเลยแม้แต่ครั้งเดียว มีแค่การเสด็จเยือนเป็นการส่วนพระองค์ 2 ครั้ง เพื่อร่วมงานศพของอดีตนายกรัฐมนตรียิตซัค ราบิน และอดีตประธานาธิบดีชิมอน เปเรส สองบุคคลสำคัญในกระบวนการสันติภาพอิสราเอล-ปาเลสไตน์
กระทั่งเดือนมกราคม 2020 เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์กว่า 75 ปีนับตั้งแต่อังกฤษสถาปนาความสัมพันธ์กับอิสราเอล เป็นครั้งแรกที่เจ้าฟ้าชายชาร์ลส์นับเป็นพระราชวงศ์อังกฤษพระองค์แรกที่เสด็จเยือนอิสราเอลอย่างเป็นทางการ