สำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร กรมวิชาการเกษตร ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ดำเนินการตรวจสอบทุเรียนสดส่งออกไปจากอย่างเข้มงวด หลังจากที่จีนสั่งระงับการนำเข้าหากไม่มีผลการตรวจในเปื้อน และใบรับรองสาร Basic Yellow 2 และได้ทางกรมวิชาการเกษตรได้แก้ปัญหาด้วยการจัดหาห้องตรวจที่รับรองการตรวจและใบรับรองได้ 14 แห่ง
ทางการจีนจึงผ่อนปรนยอมรับการตรวจ Basic Yellow 2 จากไทยและให้นำเข้าได้ แต่ทางการจีนยังคงเข้มงวดการตรวจเช่นเดิม โดยทุเรียนที่ส่งออกชุดแรกจะได้รับการตรวจและใบรับรอง Basic Yellow 2 ส่งไปถึงจีน ซึ่งอยู่ระหว่างการตรวจของทางการจีนว่าเป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนดหรือไม่

มาตรการหลังจากนี้ ผู้ผลิต และล้ง รับซื้อทุเรียน ต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดอย่างเคร่งครัด ล่าสุดด่านตรวจพืช ในสังกัดสำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร ในพื้นที่ภาคตะวันออก และภาคใต้ได้แจ้งแนวทางการปฏิบัติ กรณีพบว่า ผลการตรวจทุเรียนส่งออกจากห้องแลปมีการปนเปื้อน Basic Yellow 2 ดังนี้
1. ยึด-อายัดตู้ส่งออก
- ระงับการส่งออกของล้ง ใช้อำนาจตามข้อ 2 ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง มาตรการควบคุมการปนเปื้อนสารห้ามใช้ในทุเรียนผลสด พ.ศ. 2568 ลงวันที่ 9 มกราคม 2568
- ส่งเจ้าหน้าที่เข้าตรวจสอบ ณ ล้ง หากพบการปนเปื้อนใช้อำนาจตามข้อ 3 ของประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง มาตรการควบคุมการปนเปื้อนสารห้ามใช้ในทุเรียนผลสด พ.ศ. 2568 ลงวันที่ 9 มกราคม 2568
- หากพบทุเรียนปนเปื้อน Basic Yellow 2 และตู้ที่ถูกอายัด จะรวบรวมหลักฐานส่งให้ สำนักงานอาหารและยา (อย.) ดำเนินการตามพ.ร.บ.อาหาร พ.ศ. 2522 ถือเป็นอาหารผิดมาตรฐานในมาตรา 6 (4) ประกอบมาตรา 25 (3) มีบทกำหนดโทษ ในมาตรา 47 คือ ปรับไม่เกิน 20,000 บาท และมาตรา 60 คือปรับไม่เกิน 50,000 บาท โดยในมาตรา 25 (3) คือ ห้ามไม่ให้นำเข้าเพื่อจำหน่ายหรือจำหน่ายอาหารผิดมาตรฐาน
2. กรณีเจ้าหน้าที่ GMP Inspector เข้าไปตรวจสอบ ณ ล้ง
- พบล้งครอบครองสารสีหรือสารห้ามใช้ ให้ระงับการส่งออกของล้งตามข้อ 2 ของประกาศกรมฯ เรื่อง มาตรการควบคุมการปนเปื้อนสารห้ามใช้ในทุเรียนผลสด พ.ศ. 2568 ลงวันที่ 9 มกราคม 2568
- จากนั้นนำทุเรียนไปตรวจวิเคราะห์กับ Lab ตามข้อ 3 ของประกาศกรมฯ หากตรวจพบ Basic Yellow 2 ให้อายัดและรวบรวมหลักฐาน ส่งให้ อย. ดำเนินการตาม พ.ร.บ.อาหาร พ.ศ. 2522 ถือเป็นอาหารผิดมาตรฐานในมาตราที่ 6 (4) ประกอบมาตรา 25 (3) มีบทกำหนดโทษ ในมาตรา 47 คือ ปรับไม่เกิน 20,000 บาท และมาตรา 60 คือปรับไม่เกิน 50,000 บาท
3. กรณีทุเรียนที่ถูกส่งกลับจากจีนถือว่าเป็นอาหารผิดมาตรฐานให้ส่งทำลาย ตาม พ.ร.บ.อาหาร พ.ศ. 2522 ถือเป็นอาหารผิดมาตรฐานในมาตราที่ 6 (4) ประกอบมาตรา 25 (3) มีบทกำหนดโทษ ในมาตรา 47 คือ ปรับไม่เกิน 20,000 บาท และมาตรา 60 คือปรับไม่เกิน 50,000 บาท โดยในมาตรา 25 (3) คือห้ามไม่ให้นำเข้าเพื่อจำหน่ายหรือจำหน่ายอาหารผิดมาตรฐาน

กรมวิชาการเกษตร จะรวบรวมหลักฐานส่งให้ อย. พิจารณาตามกฏหมาย หากคณะกรรมการอาหารและยา ตัดสินว่า สินค้าผิดมาตรฐานจริงสินค้าก็จะถูกทำลาย และเปรียบเทียบปรับตามกฏหมาย
สำหรับมาตรการตรวจสอบที่เข้มงวด เพื่อปกป้องตลาดส่งออกทุเรียนไทยไปจีน เนื่องจากมูลค่าการส่งออกแต่ละปีกว่า 1 แสนล้านบาท และทำตามนโยบายการตรวจ 100%ที่ประกาศออกมาเพื่อให้ทางการจีนยอมรับการตรวจของไทย