ค่าเงินบาทอ่อน จากปัจจัยต่างประเทศ

3 ต.ค. 2566 - 09:31

  • ธนาคารกลางสหรัฐฯ คงดอกเบี้ยไว้นานกว่าที่คาด

  • เศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ดีกว่าประเทศอื่น ๆ

  • ค่าเงินบาท มีแรงกดดันจากราคาทองคำที่ปรับลดลงต่ำสุดในรอบ 7 เดือน

  • ราคาน้ำมันที่ปรับเพิ่มขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบปี

economy-finance-money-baht-value-bot-SPACEBAR-Hero.jpg

สักกะภพ พันธ์ยานุกูล ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายตลาดการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ช่วงที่ผ่านมา เงินบาทเคลื่อนไหวผันผวนมากขึ้น และอ่อนค่าผ่านระดับ 37.00 บาทต่อดอลลาร์ โดยปรับอ่อนค่าลงร้อยละ 6.75 จากต้นปี สอดคล้องกับค่าเงินในภูมิภาค

โดยการอ่อนค่าในช่วงหลังได้รับผลจากปัจจัยภายนอกเป็นหลักโดยเฉพาะการแข็งค่าของเงินดอลลาร์ จากความเป็นไปได้ที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ (FED) จะคงดอกเบี้ยไว้นานกว่าที่คาด ประกอบกับแนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ดีกว่าประเทศอื่นๆ โดยเปรียบเทียบ

นอกจากนี้ ค่าเงินบาทยังมีแรงกดดันเพิ่มเติมจากราคาทองคำที่ปรับลดลงต่ำสุดในรอบ 7 เดือน และราคาน้ำมันที่ปรับเพิ่มขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบปี ซึ่งตลาดมองว่าอาจกระทบต่อดุลบัญชีเดินสะพัดของไทย ประกอบกับนักลงทุนยังรอความชัดเจนของนโยบายการคลังและการระดมทุนของภาครัฐ

ทั้งนี้ ธปท. ได้ติดตามสถานการณ์การเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทอย่างใกล้ชิด และอาจพิจารณาเข้าดูแลหากเงินบาทเคลื่อนไหวผันผวนมากผิดปกติ เพื่อไม่ให้กระทบต่อการปรับตัวของภาคเศรษฐกิจ และในช่วงที่สถานการณ์ยังมีความไม่แน่นอนสูง ภาคเอกชนควรบริหารความเสี่ยงอย่างสม่ำเสมอเพื่อลดผลกระทบจากความผันผวนของตลาดการเงิน

ข่าวน่าสนใจ

เงินบาทอ่อนค่า ไม่ก้าวก่าย ไม่แทรกแซง

เตือนสรรพากร เก็บภาษีรายได้ต่างประเทศ ป่วนนักลงทุน

ส่อง..แบงก์ไหน ปรับขึ้นดอกเบี้ยแล้วบ้าง ?

เรื่องเด่นประจำสัปดาห์