รู้จัก SSF-RMF วางแผนภาษีสิ้นปี

6 พ.ย. 2566 - 10:35

  • เปิดเกณฑ์การลงทุนกองทุน SSF และ RMF

  • เลือกความเสี่ยงที่รับได้ ดูผลงานในอดีต

Economy-Get-to-know-SSF-RMF-year-end-tax-planning-SPACEBAR-Hero.jpg

รู้จัก SSF-RMF วางแผนภาษีสิ้นปี 

ใกล้ช่วงสิ้นปี หลายคนคงกำลังเริ่มต้นวางแผนลดหย่อนภาษี วันนี้พาทุกคนมาทำความเข้าใจเรื่องกองทุน  SSF และ RMF ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้เป็นเครื่องมือในการลดหย่อนภาษี จะมีความเหมือน และแตกต่างกันยังไง ทีมข่าว SPACEBAR นำข้อมูลจาก ธนาคารกรุงศรีอยุธยา มาเปรียบเทียบใด้ดู

กองทุนรวมเพื่อการออม (Super Savings Fund : SSF) คือ กองทุนที่จัดตั้งขึ้นเพื่อส่งเสริมให้ ประชาชนมีการออมแบบผูกพันระยะยาว เพื่อสร้างความมั่นคงทางการเงินในอนาคต โดยเงินลงทุนใน SSF สามารถนำไปหักลดหย่อนภาษีได้สูงสุดไม่เกิน 30% ของเงินได้พึงประเมินที่ต้องเสียภาษี แต่ไม่เกิน 200,000 บาท และเมื่อรวมกับการออมเพื่อเกษียณอื่น ๆ แล้ว ต้องไม่เกิน 500,000 บาท ในปีภาษีนั้น ซึ่งจะนำเงินค่าซื้อมาหักลดหย่อนภาษีได้เป็นระยะเวลา 5 ปี (ปี 2563 - 2567) 

โดยมีเงื่อนไขว่า ต้องถือหน่วยลงทุนไม่น้อยกว่า 10 ปี นับจากวันที่ซื้อ

สำหรับนโยบายการลงทุนของ SSF นั้น มีหลากหลาย ลงทุนในสินทรัพย์ได้ทุกประเภท ทั้งในประเทศและต่างประเทศ เช่น หุ้น ตราสารหนี้ กองทุนดัชนี ทองคำ อสังหาริมทรัพย์ ฯลฯ มีความเสี่ยงตั้งแต่ระดับต่ำ-กลาง-สูง ซึ่ง SSF มีทั้งกองทุนที่มีนโยบายการจ่ายปันผลและไม่จ่ายปันผล

กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (Retirement Mutual Fund : RMF) คือ กองทุนที่จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการออมการลงทุนระยะยาวไว้สำหรับใช้จ่ายยามเกษียณ โดยเงินลงทุนใน RMF สามารถนำไปหักลดหย่อนภาษีได้สูงสุดไม่เกิน 30% ของเงินได้พึงประเมินที่ต้องเสียภาษี และเมื่อรวมกับการออมเพื่อเกษียณอื่น ๆ แล้ว ต้องไม่เกิน 500,000 บาท ในปีภาษีนั้น 

โดยมีเงื่อนไขว่าต้องถือหน่วยลงทุนไม่น้อยกว่า 5 ปี นับตั้งแต่วันที่ซื้อครั้งแรก และอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ จึงจะขายคืนกองทุนได้ 

สำหรับนโยบายการลงทุนของ RMF นั้น มีหลากหลาย ลงทุนในสินทรัพย์ได้ทุกประเภท ทั้งในประเทศและต่างประเทศ เช่น หุ้น ตราสารหนี้ กองทุนดัชนี ทองคำ อสังหาริมทรัพย์ ฯลฯ มีความเสี่ยงตั้งแต่ระดับต่ำ-กลาง-สูง ซึ่ง RMF ทุกกองทุน ไม่มีนโยบายการจ่ายปันผล

Economy-Get-to-know-SSF-RMF-year-end-tax-planning-SPACEBAR-Photo01.jpg
Photo: ขอบคุณภาพ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา

กอง SSF หรือ RMF ควรเลือกให้เหมาะสมกับตัวเอง

แนะนำให้ทุกคนประเมินความเสี่ยงตัวเองเพื่อเลือกกองทุนให้เหมาะสมกับความเสี่ยงที่ตนเองรับได้ และสามารถดูประวัติผลตอบแทนย้อนหลังของกองทุนนั้นด้วย

 อ้างอิง : ธนาคารกรุงศรีอยุธยา

ข่าวที่น่าสนใจ 

บ้านแพง เกินไป ! คนรุ่นใหม่ เช่าแทนซื้อ ?

คนไทย 15-30 ปี ออมเงิน 300 บาท รัฐช่วยออม 150 บาท

ลูกหนี้ 2 แบงก์ เตรียมจ่ายขั้นต่ำบัตร 8 %

เรื่องเด่นประจำสัปดาห์