วิธีการรักษาคนเก่งในองค์กร สไตล์ ‘ยูนิลีเวอร์’

1 ธ.ค. 2566 - 03:57

  • เบื้องหลัง 2 รางวัลด้าน Digital ล้วนเริ่มต้นจาก ‘People’

  • คนเก่ง ต้องการพื้นที่เรียนรู้ (Learn) และสนุก (Fun) กับงาน

  • ยูนิลีเวอร์’ กับการตลาดแบบ Mass Customization สื่อสารแบบเฉพาะกลุ่มแต่ครอบคลุม

Economy-How-to-treat-Talent-people-In-the-organization-SPACEBAR-Hero.jpg

‘ยูนิลีเวอร์’ ผู้นำ Digital Transformation ในกลุ่มสินค้า FMCG ของประเทศไทย ยกความสำเร็จนี้เกิดขึ้นได้ด้วย ‘People’ พร้อมเผย วิธีการรักษาคนเก่งในสไตล์ ‘ยูนิลีเวอร์’

Unilever_Digital_Hub_05_2.jpg

นิดารัตน์ อุไรเลิศประเสริฐ  ผู้นำกลยุทธ์ฝ่ายข้อมูลของผลิตภัณฑ์ในครัวเรือน และกลุ่มบริษัทยูนิลีเวอร์ ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เปิดเผยว่า จากความมุ่งมั่นที่ ยูนิลีเวอร์ สร้างการเปลี่ยนแปลงอย่างครอบคลุมทั้งในด้านผลิตภัณฑ์กลยุทธ์การตลาด จนทำให้เป็นหนึ่งในผู้นำด้านการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล (Digital Transformation) ล่าสุด ยูนิลีเวอร์ ประเทศไทยได้รับรางวัล Thailand Digital Excellence Awards 2023 สาขา Digital Retail Innovator จาก สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย หรือ Thailand Digital Excellence Awards (TMA) ถือเป็นปีที่ 2 ปีติดต่อกันที่ได้รับรางวัลจาก TMA (พ.ศ. 2565 - 2566)

unnamed.jpg
Photo: ล่าสุด ยูนิลีเวอร์ ประเทศไทย รับรางวัล Thailand Digital Excellence Awards 2023 สาขา Digital Retail Innovator จาก TMA

โดยที่ผ่านมาตลอด 90 ปีที่ ยูนิลีเวอร์ เป็นผู้นำของอุตสาหกรรมกลุ่มธุรกิจ Fast-moving Consumer Goods (FMCG) หรือสินค้าอุปโภคบริโภค ได้รับความไว้วางใจจาก 98% ของ 25 ล้านครัวเรือนทั่วประเทศที่ใช้ผลิตภัณฑ์คุณภาพของยูนิลีเวอร์ไม่น้อยกว่า 3 ครั้งในแต่ละวัน ซึ่งมีมากกว่า 30 แบรนด์ ทุกเพศทุกวัย

โดย ยูนิลีเวอร์ มีการนำข้อมูลมาใช้ขับเคลื่อนการดำเนินธุรกิจอย่างเต็มรูปแบบ ครอบคลุม 3 มิติสำคัญ ประกอบด้วย 

1.การเปลี่ยนแปลงจากผู้บริโภคทั่วไปสู่ผู้บริโภคที่มีศักยภาพมากขึ้น (Traditional Consumers to Hyper Empowered Consumers) หมายถึง ลูกค้ามีทางเลือกมีอำนาจในการตัดสินใจซื้อ รวมถึงเปรียบเทียบการซื้อสินค้าแบบ Harmonize channels หรือ การรวมทั้งออนไลน์และออฟไลน์ทำให้แบรนด์ต้องปรับรูปแบบการการตลาด เพื่อให้เข้าถึงลูกค้าแบบ End-to-End journey หรือ กลยุทธ์ตลาดที่เน้นการควบคุมทุกขั้นตอนของการขายสินค้าและการตลาด ตั้งแต่เริ่มจนจบ นอกจากนี้ยังปรับรูปแบการโฆษณา เพื่อสื่อสารไปให้ถูกกลุ่มลูกค้า ถูกเวลา และถูกพื้นที่ (Right Consumerat the right time and at the right place) ด้วยวิธีการสร้างโฆษณา Fit to platform เพื่อให้มีประสิทธิภาพสูงสุด

2.การเปลี่ยนแปลงจากการสื่อสารเป็นวงกว้างสู่การสื่อสารแบบเฉพาะกลุ่มแต่ครอบคลุม (Mass Communication to Mass Customization) สำหรับสิ่งที่ ยูนิลีเวอร์ ให้ความสำคัญ คือ การแบ่งลูกค้าเป็น Segmetation ตามความต้องการที่ไม่เหมือนกัน จากนั้นก็นำส่งโฆษณาไปในรูปแบบ Mass Personalization 

ยกตัวอย่าง การยิงโฆษณา บรีซ 2 เวอร์ชั่น โดยกลุ่มแรก คือ กลุ่มลูกค้าที่ตากผ้าในร่ม อยู่คอนโด กลุ่มที่สอง คือ คนที่ต้องการตากผ้า ตอนกลางคืน แต่กลัวเหม็นอับ โดยทีม Marketing ส่งข้อความที่ดีที่สุด เพื่อให้ลูกค้าแต่ละกลุ่มที่มีไลฟ์สไตล์ชีวิตต่างกัน ทำให้ลูกค้ารู้สึกว่า ‘แบรนด์กำลังสื่อสารกับเรา’ นำมาสู่การตัดสินใจซื้อสินค้ามากขึ้น

Slide 3_0 (1).jpg
Photo: ยูนิลีเวอร์ ใช้การสื่อสารการตลาดแบบ Mass Customizationการเฉพาะกลุ่มแต่ครอบคลุม

3. การเปลี่ยนแปลงองค์กรด้วยการนำคลังข้อมูลมาใช้อย่างชาญฉลาดมากยิ่งขึ้น (Data Rich Organization to Data Smart Organization) ตลอด 5 ปีที่ผ่านมา ยูนิลีเวอร์ ประเทศไทย ทรานส์ฟอร์มรูปแบบการทำงานภายใต้หลักการ Single Source of Truth ซึ่งบุคลากรจากแต่ละแผนกสามารถเข้าถึงและอ้างอิงแหล่งข้อมูลชุดเดียวกันในการทำงานได้อย่างราบรื่น และไร้รอยต่อ พร้อมนำเทคโนโลยีดิจิทัล มายกระดับประสิทธิภาพการ ขณะที่ในฝั่งของลูกค้า มีการ Data มาใช้ ทำให้เกิดการสร้าง Engagement กับแบรนด์ได้มากขึ้น

info_Economy-How-to-treat-Talent-people-In-the -organization-Unil [Recovered].jpg

ผู้นำกลยุทธ์ฝ่ายข้อมูลของผลิตภัณฑ์ในครัวเรือน และกลุ่มบริษัทยูนิลีเวอร์ ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ย้ำว่า ทั้ง 3 แกนหลักทั้ง  Hyper Empowered Consumers , Mass Customization และ Data Smart Organization จะเกิดขึ้นไม่ได้เลย ถ้า ยูนิลีเวอร์ ไม่มี‘People’ หรือ บุคลากร โดยเฉพาะ Talent สาย Technology ซึ่งเป็นคนที่ขับเคลื่อนนวัตกรรมเหล่านี้ให้เกิดขึ้น 

โดยหัวใจสำคัญที่ ยูนิลีเวอร์ สามารถ Maintain พนักงานที่สร้างผลงานที่โดดเด่น (Talent) ให้อยู่ในองค์กรได้ เพราะมีการเปิดพื้นที่ในเรียนรู้ (Learn) ผลักดัน Pilot project ให้เป็น Business as usual ขยายความสำเร็จไปสู่ประเทศอื่นๆภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เนื่องจากคนทำงานรุ่นใหม่ในสาย Digital มีนิสัยชอบเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ รวมถึงที่นี่มีโปรแกรม Cross lane Career เปิดโอกาสให้พนักงานสามารถร่วมโปรเจ็คข้ามสายงานได้ทำให้พนักงานได้เรียนรู้ข้ามสาย

และสุดท้าย คือ การสร้างความสนุก (Fun) ในการทำงาน ผ่านรูปแบบการทำงานที่ยืดหยุ่น Hybrid working ให้เข้ากับไลฟ์สไตล์คนรุ่นใหม่ เช่น การเข้าออฟฟิศอย่างน้อยแค่ 2 วันต่อสัปดาห์ ทั้งหมดนี้ทำให้อัตราการลาออกของพนักงานสายเทคฯค่อนข้างต่ำ

Unilever-Quote.jpg

เรื่องเด่นประจำสัปดาห์