ทำความเข้าใจ 2 สัญญาก่อนกู้ซื้อบ้าน

4 พ.ย. 2566 - 05:47

  • สัญญาแบบผ่อนขั้นบันได (step up) ช่วงแรก คือ ดอกเบี้ยโปรโมชั่น

  • หนี้บ้าน คือ สัญญาแบบลดต้นลดดอกเสมอ

  • เลือกให้เหมาะกับไลฟ์สไตล์-กำลังซื้อ

Economy- Must-know-before-borrowing-buy-house, know-contract-thailand-SPACEBAR-Hero.jpg

จากกรณี เมื่อวันที่ 2 พ.ย. 2566 มีผู้ใช้เฟซบุ๊กรายหนึ่ง โพสต์ข้อความว่า ชาติไหนหมดเนี่ย หนักเลยวันนี้ ไปตัดต้น 5฿ ฝากถึงคนที่จะกู้บ้าน5555555ตาย 2ปีแรกชิว พอปีที่3…. รอรีไฟแนนซ์!!!”

พร้อมกับโชว์รูปภาพการชำระเงิน 10,900 บาท แบ่งชำระเงินต้น 5.50 บาท และชำระดอกเบี้ยสูงถึง 10,849.50 บาท โดยมียอดเงินต้นคงเหลือกว่า 2.1 ล้านบาท

news-dac4bec.jpg

โดยก่อนหน้านี้ ธนาคารพาณิชย์ปรับขึ้นดอกเบี้ย ตามมติคณะกรรมการนโยบายการเงิน หรือ กนง. ของธนาคารกลางแห่งประเทศไทย หรือ ธปท. ที่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ทำให้ปัจจุบันอยู่ที่ 2.50% ต่อปี หรือ เรียกได้ว่า อยู่ในช่วงอัตราดอกเบี้ยขาขึ้น 

ทีมข่าว SPACEBAR  พามาทำความเข้าใจหลักการ ของ สัญญากู้บ้าน หรือ สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย ซึ่งหนี้บ้านส่วนใหญ่เป็นหนี้ระยะยาวที่มีอายุตั้งแต่ 10-30 ปี  ตามหลักการแล้วจะมี 2  รูปแบบ ดังนี้

1.สัญญาแบบผ่อนขั้นบันได (step up) คือ ช่วงปีแรกๆจะผ่อนเงินงวดน้อย หลังจากนั้นจะผ่อนสูงขึ้นเท่ากันทุกงวดจนชำระเสร็จสิ้น

โดยดอกเบี้ยของสัญญารูปแบบนี้ จะแบ่งออกเป็น ช่วงแรกจะคิดเป็นอัตราดอกเบี้ยเงินกู้แบบคงที่ หรือ Fix rate  หรือ เรียกว่า ดอกเบี้ยโปรโมชั่น

หลังจากนั้นดอกเบี้ยจะเป็นอัตราเดียวจนสิ้นสุดสัญญา หรือ อัตราดอกเบี้ยแบบลอยตัว หรือ Floating Rate (คิดอ้างอิงจากอัตราดอกเบี้ย MRR) การผ่อนแบบนี้ จะเน้นแค่งวดผ่อนให้พอชำระดอกเบี้ย และตัดต้นน้อยๆเพื่อแบ่งเบาภาระผู้กู้ช่วงแรก และจะค่อยๆขยับสัดส่วนของอัตราเงินต้นเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

2.สัญญาแบบผ่อนแบบเท่ากับทุกงวด คือ หรือ ดอกเบี้ยแบบเฉลี่ยตลอดอายุสัญญา เรียกว่า  Effactive Interest Rate หรือ EIR  โดยสัญญาประเภทนี้ จะกำหนดงวดผ่อนให้เท่ากันทุกงวด 

โดยสัญญาประเภทนี้ จะมีสัดส่วนเงินต้นในเงินงวดมากกว่า สัญญาแบบผ่อนขั้นบันได (step up) 

สำหรับสัญญา 2  สินเชื่อที่อยู่อาศัย มี'ข้อดี' และ 'ข้อเสีย' แตกต่างกัน

1.สัญญาแบบผ่อนขั้นบันได (step up)

ยกตัวอย่างเช่น กู้บ้านราคา 1 ล้านบาท ปีที่หนึ่ง ปีที่สอง และปีที่สามเป็นดอกเบี้ยคงที่ 1%  2% และ 3% ตามลำดับ หลังจากนั้นปีที่สี่ต้นไป จนครบอายุสัญญา 20 ปี เป็น MRR-2%

หรือ คิดเป็นปีที่หนึ่งผ่อนเงินงวด 4,600 บาท/เดือน ปีที่สองผ่อน 5,100 บาทน/เดือน ปีที่สามผ่อน 5,500 บาท/เดือน และปีที่สี่เป็นต้นไปผ่อนเดือนละ 6,400 บาท/เดือน ไปจนครบอายุสัญญา

สำหรับ ข้อดี  คือ ลูกหนี้จะจ่ายเงินต่องวดต่ำช่วงแรก เหมาะสำหรับคนที่อาจจะมีภาระเยอะ ต้องกันเงินสดไว้ใช้ ไม่สามารถผ่อนในอัตราที่สูงได้  แต่ ข้อเสีย คือ สัดส่วน เงินต้น จะถูกตัดน้อย หลังจากนั้นเมื่อผ่อนไปถึงสักระยะ เงินต้น ก็จะค่อยๆขยับสัดส่วนขึ้น

2.สัญญาแบบผ่อนแบบเท่ากับทุกงวด 

ยกตัวอย่างเช่น กู้บ้านราคา 1 ล้านบาท อาจจะต้องผ่อนที่ประมาณ 6,400บาท/เดือน ไปจนครบอายุสัญญา

ข้อดีของสัญญาแบบนี้ คือ จดจำได้ง่าย และ สัดส่วนเงินต้นจะถูกตัดมากกว่าสัญญาแบบผ่อนขั้นบันได เหมาะกับคนที่มีความสามารถในการชำระหนี้ ไม่ต้องการโปรโมชั่นผ่อนถูกในช่วงปีแรก  

สำหรับทั้งสัญญาทั้ง  2 รูปแบบ ใข้วิธีการคำนวนแบบลดต้น ลดดอก หมายความว่า ยิ่งเงินต้นเหลือน้อย ลูกหนี้ก็จะเสียดอกเบี้ยน้อยลง ดังนั้น ถ้าลูกหนี้ อยากให้หมดหนี้เร็วๆ ก็ต้องโปะบ้านเยอะๆ และทำการขอรีไฟแนนซ์ หรือ รีเทนชั่นทุกๆ 3 ปี 

อ้างอิง : ธนาคารกรุงศรีอยุธยา

ข่าวที่น่าสนใจ

ผ่อนบ้าน 3 พัน/เดือน ดอกเบี้ย 0% 3 เดือน

ส่อง..แบงก์ไหน ปรับขึ้นดอกเบี้ยแล้วบ้าง ?

คนไทย 3 ใน 5 ชะลอซื้อบ้าน เหตุเงินเฟ้อ

เรื่องเด่นประจำสัปดาห์