ธีออส-2 ทะยานแล้ว ความหวังเศรษฐกิจอวกาศไทย

10 ต.ค. 2566 - 02:58

  • ธีออส-2 ขึ้นปฏิบัติภารกิจบนอวกาศเรียบร้อยแล้ว

  • ชี้ เป็นกุญแจสำคัญ ในการเพิ่มขีดความสามารถด้านการสำรวจทรัพยากรโลกให้ไทย

  • เป็นความหวังของกิจการอวกาศไทย

gistda-theos-2-vega-explore-world-space-business-thailand-SPACEBAR-Hero.jpg

ธีออส-2 (THEOS-2) ดาวเทียมสำรวจทรัพยากรธรรมชาติโลกที่ผลิตขึ้นโดยแอร์บัส ถูกปล่อยขึ้นไปกับจรวดนำส่งเวก้า (Vega) ที่เมืองคูรู (Kourou) ในจังหวัดเฟรนช์เกียนา (French Guiana) เป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยโครงการนี้สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ จิสด้า (GISTDA) ได้เลือกแอร์บัสเป็นพันธมิตรในการพัฒนาระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์แห่งชาติรุ่นใหม่เมื่อปี 2561 

ฌอง-มาร์ค นาซร์ (Jean-Marc Nasr) หัวหน้าฝ่ายระบบอวกาศของแอร์บัส กล่าวว่า ความสำเร็จในการปล่อย THEOS-2 ดาวเทียมถ่ายภาพที่มีรายละเอียดสูงถึง 50 เซนติเมตร ตอกย้ำว่าประเทศไทยเป็นส่วนหนึ่งในกลุ่มประเทศเพียงไม่กี่ประเทศ ที่สามารถเข้าถึงข้อมูลเชิงยุทธภูมิยุทธศาสตร์แบบความละเอียดสูงได้

“เราจะยังคงเดินหน้าสนับสนุนความมุ่งมั่นของ GISTDA ในการพัฒนาระบบข้อมูลรอบด้านทางภูมิศาสตร์ที่จะมอบผลประโยชน์ให้แก่อาณาจักรไทยได้”

THEOS-2 เป็นดาวเทียมที่ดำเนินตามแบบดาวเทียม THEOS-1 ที่แอร์บัสสร้างขึ้นและปล่อยขึ้นสู่วงโคจรในปี 2551 ที่ยังสามารถส่งข้อมูลภาพถ่ายได้อย่างคมชัดแม้อายุการใช้งานจะผ่านมากว่า 10 ปี ภายใต้กรอบการทำงานของโครงการ THEOS-2 นี้ ระบบข้อมูลทางภูมิศาสตร์ของ GISTDA จะได้ประโยชน์จากภาพถ่ายดาวเทียมที่กลุ่มดาวเทียมสำรวจโลกที่ถ่ายภาพแบบออฟติคคอล (Optical) และเรดาร์ (Radar) เช่น เปลยาด (Pléiades) และ เทอร์ร่าซาร์-เอ็กซ์ (TerraSAR-X)

สัญญาดังกล่าวยังครอบคลุมดาวเทียมสำรวจทรัพยากรธรรมชาติโลกดวงที่สองอย่าง THEOS-2 SmallSAT จากบริษัท Surrey Satellite Technology (SSTL) รวมกับโครงการพัฒนาขีดความสามารถของวิศวกรชาวไทยในการพัฒนาแอปพลิเคชัน สถานีรับสัญญาณภาคพื้นดิน และตัวยานอวกาศ SmallSAT เอง ดาวเทียม THEOS-2 SmallSAT ได้ถูกพัฒนามาจากยานอวกาศสำรวจโลกซีรีส์ CARBONITE ของ SSTL และถูกส่งมายังประเทศไทย

ดร.เจษฎา ศิวรักษ์ หัวหน้าฝ่ายรัฐกิจและธุรกิจสัมพันธ์ บริษัทอิริคสันประเทศไทย ให้ความเห็นว่า ถ้าสถานการณ์เอื้ออำนวย จะนับได้ว่าเป็นอีกเหตุการณ์ประวัติศาสตร์อวกาศของประเทศไทยที่สำคัญครั้งหนึ่งในการที่ดาวเทียมสำรวจโลกของไทยที่นับได้ว่ามีเทคโนโลยีล้ำหน้าที่สุดในอาเซียน ดาวเทียม THEOS-2 เข้าสู่ห้วงอวกาศ ณ ท่าอวกาศยานยุโรปเฟรนช์เกียนา (Guiana Space Center) ในทวีปอเมริกาใต้ โดยจรวด VEGA ขององค์กรอวกาศยุโรป  

ทั้งนี้ จะทำให้ประเทศไทยมีความสามารถในการแข่งขันในตลาดซื้อขายภาพถ่ายจากดาวเทียมทั่วโลกอยู่ที่ 4.41 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปีนี้ และคาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 7.72 พันล้านดอลลาร์สหรัฐใน พ.ศ.2571 โดยภูมิภาคที่มีการเติบโตเร็วที่สุดคือ ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เนื่องจากที่ผ่านมาภาพถ่ายจากดาวเทียมยังคงได้รับความนิยม เนื่องจากคุณสมบัติครอบคลุมพื้นที่ได้ความคุ้มค่ากว่าวิธีการอื่นๆ ซึ่งนับเป็น ‘สารตั้งต้น’ ซึ่งสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในแอพพลิเคชั่นต่างๆ เช่น การติดตามการเพาะปลูก การทำแผนที่และผังเมือง ภัยพิบัติ ความมั่นคง ฯลฯ นี่คือจุดเริ่มต้นและโอกาสของเศรษฐกิจอวกาศของไทย

THEOS-2 จะเป็นกุญแจสำคัญสำหรับระบบการสำรวจทรัพยากรธรรมชาติโลกของประเทศไทยของ GISTDA ในอนาคต ที่สามารถนำไปใช้สนับสนุนภาคส่วนต่างๆ ตั้งแต่การจัดการทางสังคมและความมั่นคง การจัดการเมืองและระเบียงเศรษฐกิจ การบริหารทรัพยากรธรรมชาติและระบบนิเวศ การบริหารทรัพยากรน้ำ การจัดการภัยพิบัติ การบริหารด้านการเกษตร เป็นต้น 

ข่าวน่าสนใจ

คลัง แจงเหตุผล เดินหน้าแจกดิจิทัล 1 หมื่น

ค้าปลีก ชง รัฐเดินหน้านโยบายเงินดิจิทัล แนะร่วมหารือเอกชน

ร้อง ป.ป.ช.ตรวจแจกเงินดิจิทัล หวั่นความเสียหายซ้ำรอยจำนำข้าว

เรื่องเด่นประจำสัปดาห์