วันช้างไทย กรุงไทย ให้ ‘โป่ง’ ช่วยช้าง - ลดบุกรุก

13 มีนาคม 2567 - 06:40

thai-elephant-day-2024-ktb-csr-salt-lickkhao-soi-dao-forest-SPACEBAR-Hero.jpg
  • ‘โป่ง’ เรื่องเล็กๆ ของคน แต่เป็นเรื่องใหญ่ ของช้าง

  • เหตุจาก เป็นทั้ง ‘แหล่งอาหาร-ยารักษาโรค’ ช่วยดูแลสุขภาพช้าง

  • ล่าสุด กรุงไทย ลุย สร้าง ‘โป่งเทียม’ ป่าเขาสอยดาว หวังลดปัญหาช้างบุกรุกชาวบ้านไปในตัว

แหล่งอาหาร จำเป็นสำหรับทุกสิ่งมีชีวิต ... เราพูดถึงการเป็น ฮับอาหาร ‘คน’ แต่ในท่ามกลางภาวะโลกร้อน ป่าไม้ถูกทำลาย ไฉนเลยช้างไทยก็เสมือนถูกไล่ที่ จนทำให้ต้องมาหาอาหารใกล้แหล่งชุมชนที่คนอาศัย กลายเป็นเหตุช้างป่าทำผลผลิตการเกษตรเสียหาย สร้างผลกระทบต่อเนื่องระหว่างคนกับช้าง ทั้งๆ ที่ช้างก็เป็นสัตว์ใหญ่ที่คนไทยรักและยกย่อง จะดีกว่าไหม? ถ้าทำให้ ‘ช้าง มีแหล่งอาหาร’ และสิ่งที่มนุษย์อย่างเราๆ จะช่วยช้างได้ คือการสร้าง ‘โป่งเทียม’ ให้ช้างนั่นเอง

กรุงไทยสร้างโป่งเทียมอนุรักษ์ช้าง เนื่องในวันช้างไทย

งานนี้ ธนาคารกรุงไทย จึงร่วมกับมูลนิธิพัชรสุธาคชานุรักษ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ สนับสนุนการทำโป่งเทียม เพิ่มแร่ธาตุ วิตามินที่จำเป็น ช่วยเสริมความแข็งแรง ปลอดภัยจากโรคต่างๆ สร้างแหล่งอาหารที่สมบูรณ์ให้แก่ช้างป่าและสัตว์ป่าอื่นๆ ในพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาสอยดาว จังหวัดจันทบุรี เนื่องในวันช้างไทย ซึ่งตรงกับวันที่ 13 มีนาคมของทุกปี

โดยเป็นไปเพื่อส่งเสริมให้ชุมชนและช้างป่าอยู่ร่วมกันได้อย่างสมดุล ลดปัญหาช้างป่าบุกรุก พื้นที่เกษตรเขตป่ารอยต่อ 5 จังหวัดในภาคตะวันออก ได้แก่ จังหวัดฉะเชิงเทรา จังหวัดสระแก้ว จังหวัดจันทบุรี จังหวัดระยอง และจังหวัดชลบุรี ช่วยให้คนและช้างป่าอยู่ร่วมกันได้อย่างยั่งยืน

thai-elephant-day-2024-ktb-csr-salt-lickkhao-soi-dao-forest-SPACEBAR-Photo02.jpg

‘โป่ง - โป่งเทียม’ จำเป็นกับช้างอย่างไร?

ข้อมูลจากกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช เผย ‘โป่ง’ เป็นแหล่งแร่ธรรมชาติที่ขาดไม่ได้ของสัตว์ป่า โดย ‘โป่ง’ คือ SALT LICK หรือคือ บริเวณหรือพื้นที่ที่สามารถพบแร่ธาตุชนิดต่างๆ มารวมกัน ซึ่งล้วนมีความจำเป็นต่อร่างกายและการดำรงชีวิตของสัตว์ป่า โดยเฉพาะสัตว์ป่าที่กินพืชเป็นอาหาร เช่น ช้าง กระทิง วัวแดง เก้ง กวาง นก เป็นต้น แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น เนื่องจากสัตว์ที่กินพืชเข้าไป ไม่มีส่วนประกอบของแร่ธาตุจำเป็นต่อร่างกาย สัตว์จึงต้องทดแทนโดยการกินดินหรือน้ำจากโป่งแทน แต่โป่ง ก็ไม่ได้มีมาก

โป่งที่พบโดยทั่วไปมีอยู่ 2 แบบ คือ #โป่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ และ #โป่งที่มนุษย์สร้างขึ้น (โป่งเทียม) โป่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ แบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด คือ 

1. โป่งดิน คือ บริเวณพื้นดินที่ประกอบด้วย แร่ธาตุต่างๆ โดยสัตว์มักจะใช้ปากขุดดิน เพื่อกินดินเหล่านั้น โดยจะเริ่มกินที่บริเวณผิวดินก่อนแล้วค่อยๆ กินลึกลงไปเรื่อยๆ จนเรามองเห็นเป็นแอ่งหรือเป็นบ่อ ซึ่งส่วนใหญ่มีความลึกไม่เกิน 1 เมตร ในฤดูฝนโป่งดินอาจจะถูกน้ำท่วมขัง สัตว์จะไม่กินส่วนที่เป็นดิน แต่จะกินน้ำที่ขังอยู่ในบริเวณโป่งดินแทน 

2. โป่งน้ำ คือ บริเวณที่เป็นต้นกำเนิดของลำธารหรือเป็นต้นน้ำ มีน้ำไหลซึมตลอดทั้งปี พบได้ในพื้นที่ที่เป็นน้ำซึมหรือน้ำซับหรือที่ไหลออกมาจากภูเขา แอ่งหรือบ่อที่เป็นโป่งดินมาก่อน โดยจะมีน้ำขังตลอดปี

thai-elephant-day-2024-ktb-csr-salt-lickkhao-soi-dao-forest-SPACEBAR-Photo03.jpg

ส่วนโป่งที่มนุษย์สร้างขึ้น หรือคือ ‘โป่งเทียม’ มีลักษณะเป็นโป่งดิน โดยการขุดดินในบริเวณที่เลือกไว้ให้เป็นแอ่ง แล้วนำเกลือสมุทรลงไปผสมกับดินบริเวณที่ขุดขึ้น เมื่อมีฝนตกหรือความชื้นจากน้ำค้างเกลือก็จะละลายทำให้ดินบริเวณนั้นเค็ม สัตว์ป่าชนิดต่างๆ ก็จะพากันมากินดินเหล่านี้นั่นเอง โดยโป่งเทียม 1 แห่ง สัตว์สามารถกินได้ต่อเนื่องประมาณ 3 เดือน

thai-elephant-day-2024-ktb-csr-salt-lickkhao-soi-dao-forest-SPACEBAR-Photo04.jpg
ข่าวที่น่าสนใจ

เรื่องเด่นประจำสัปดาห์