ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” โดยสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลการสำรวจของประชาชน เรื่อง “กรุงเทพฯ เมืองในฝุ่น” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 27-28 มกราคม 2568 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร กระจายทุกระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ รวมจำนวนทั้งสิ้น 1,310 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับปัญหาวิกฤตฝุ่นละออง PM 2.5 ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร

คนกรุง 74.43% ระบุวิกฤตฝุ่นละออง PM 2.5 มีความรุนแรงมาก
จากการสำรวจเมื่อถามประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่กรุงเทพมหานครถึงความรุนแรงของวิกฤตฝุ่นละออง PM 2.5 ช่วงหลายวันที่ผ่านมา พบว่า
- ร้อยละ 74.43 ระบุว่า มีความรุนแรงมาก
- ร้อยละ 18.55 ระบุว่า ค่อนข้างมีความรุนแรง
- ร้อยละ 5.88 ระบุว่า ไม่ค่อยมีความรุนแรง
- ร้อยละ 1.14 ระบุว่า ไม่มีความรุนแรงเลย
ปิดเรียน-Work from Home ช่วยแก้ไขปัญหาวิกฤตฝุ่น PM 2.5 ได้พอสมควร
ด้านความคิดเห็นต่อการสั่งการหรือขอความร่วมมือให้ปิดสถานศึกษาและทำงานที่บ้าน (Work from Home) ช่วยแก้ไขปัญหาวิกฤตฝุ่นละออง PM 2.5 ในกรุงเทพมหานคร พบว่า
- ร้อยละ 33.82 ระบุว่า ช่วยแก้ไขปัญหาได้พอสมควร
- ร้อยละ 33.21 ระบุว่า ช่วยแก้ไขปัญหาได้น้อยมาก
- ร้อยละ 24.50 ระบุว่า ไม่ช่วยแก้ไขปัญหาเลย
- ร้อยละ 8.47 ระบุว่า ช่วยแก้ไขปัญหาได้มาก
รถเมล์และรถไฟฟ้าฟรี 7 วัน แก้ไขปัญหา PM 2.5 ได้น้อยมาก
สำหรับการให้ประชาชนใช้บริการรถเมล์และรถไฟฟ้า BTS-MRT ฟรี 7 วัน ช่วยแก้ไขปัญหาวิกฤตฝุ่นละออง PM 2.5 ในกรุงเทพมหานคร พบว่า
- ร้อยละ 34.89 ระบุว่า ช่วยแก้ไขปัญหาได้น้อยมาก
- ร้อยละ 33.89 ระบุว่า ไม่ช่วยแก้ไขปัญหาเลย
- ร้อยละ 24.50 ระบุว่า ช่วยแก้ไขปัญหาได้พอสมควร
- ร้อยละ 6.72 ระบุว่า ช่วยแก้ไขปัญหาได้มาก
ความพึงพอใจการแก้ไขปัญหาฝุ่นของหน่วยงานภาครัฐ
ด้านประสิทธิภาพในการแก้ไขปัญหาฝุ่นละออง PM 2.5 ในกรุงเทพมหานครของหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง พบว่า
- ร้อยละ 41.15 ระบุว่า ไม่ค่อยมีประสิทธิภาพ
- ร้อยละ 35.34 ระบุว่า ไม่มีประสิทธิภาพเลย
- ร้อยละ 20.38 ระบุว่า ค่อนข้างมีประสิทธิภาพ
- ร้อยละ 3.13 ระบุว่า มีประสิทธิภาพมาก
หน่วยงานที่ประชาชนคาดหวังให้แก้ไขปัญหาฝุ่นละออง PM 2.5 ในกรุงเทพมหานคร
- ร้อยละ 41.15 ระบุว่า กรมควบคุมมลพิษ
- ร้อยละ 34.27 ระบุว่า กรุงเทพมหานคร
- ร้อยละ 27.02 ระบุว่า กรมฝนหลวงและการบินเกษตร
- ร้อยละ 20.23 ระบุว่า กรมการขนส่งทางบก
- ร้อยละ 17.56 ระบุว่า ไม่มีความหวังกับหน่วยงานราชการใดๆ
- ร้อยละ 16.34 ระบุว่า กระทรวงอุตสาหกรรม
- ร้อยละ 13.89 ระบุว่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
- ร้อยละ 12.67 ระบุว่า สำนักนายกรัฐมนตรี
- ร้อยละ 12.44 ระบุว่า กระทรวงมหาดไทย
- ร้อยละ 10.46 ระบุว่า สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
- ร้อยละ 9.39 ระบุว่า กระทรวงการต่างประเทศ
- ร้อยละ 8.70 ระบุว่า กระทรวงกลาโหม
- ร้อยละ 8.47 ระบุว่า กระทรวงพาณิชย์
- ร้อยละ 7.79 ระบุว่า กระทรวงการคลัง

ทั้งนี้ คนกรุงเทพฯ เริ่มสัมผัสกับฝุ่น PM 2.5 มาหลายปี โดยในปี 2024 กรุงเทพฯ มีวันที่อากาศดี 43 วัน และพิษโลกเดือดและ PM2.5 ทำคนไทยป่วยด้วยโรคที่เกี่ยวข้องกับมลพิษทางอากาศ 12 ล้านคน

ขณะที่หลายฝ่ายกำลังรอความคืบหน้าของร่าง พ.ร.บ.อากาศสะอาด ที่มีสัญญาณว่าอาจล่าช้าออกไป ก็ใช่ว่า พ.ร.บ.ฉบับนี้จะเป็นแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์ ที่มาแก้วิกฤตทั้งหมดได้ เราทุกคนสามารถลงมือทำให้โลกใบนี้ดีขึ้นได้ด้วยสองมือกับหนึ่งใจ ติดตามการปรับตัวสู้โลกร้อน และเปลี่ยน Lifestyle ให้ Eco-friendly กับคอนเทนต์ซีรีส์ "ฮาวทูกู้โลก ฉบับพูดง่าย ทำยาก" ได้ที่ SPACEBAR แล้วจะรู้ว่า ONE POWER นี่แหละของแทร่!!