ทส. VS กษ. เคลียร์ปมทีดิน 'ส.ป.ก.' ทับ 'ป่าอนุรักษ์'

4 มีนาคม 2567 - 07:12

Ministry-of-Natural-Resources-and-Environment-VS-Ministry-of-Agriculture-and- Cooperatives-SPACEBAR-Hero.jpg
  • อ่านมิติการหารือร่วม 'กระทรวงทรัพย์ฯ - กระทรวงเกษตรฯ' ปมคลี่คลาย 'ที่ดิน ส.ป.ก.' ซ้อนทับ 'ป่าอนุรักษ์' และมุมมองที่สอดแทรกระหว่างทางสำหรับ 'ศึกสองกระทรวง' ที่ดุดันทั้ง 'กัปตัน' และ 'ต้นหน'

ความเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้น ณ ทำเนียบรัฐบาล วันนี้ (4 มีนาคม 2567) นับเป็นเผชิญหน้าครั้งสำคัญระหว่าง ‘กระทรวงทรัพยากรธรรมขาติและสิ่งแวดล้อม’ (ทส.) กับ ‘กระทรวงเกษตรและสหกรณ์’ (กษ.) เพื่อพูดคุยถกปัญหา ‘พื้นที่ ส.ป.ก.’ ทับซ้อนผืนป่าอนุรักษ์หลายแห่งทั่วประเทศ โดยเฉพาะ ‘หมุดนิรนาม’ ที่ปรากฏอยู่ในพื้นที่ ‘อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่’ ตำบลหมูสี อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา โดยการหารือวันนี้ นำทีมโดย ‘หัวเรือราชการ’ ฝ่ายกระทรวง อย่าง 'จตุพร บุรุษพัฒน์’ ปลัดกระทรวงทรัพย์ฯ และ ‘ประยูร อินสกุล’ ปลัดกระทรวงเกษตรฯ

มีการตั้งข้อสังเกตว่า กรณีการทับซ้อนของพื้นที่ที่เกิดขึ้น มีมิติทางการเมืองแทรกซ้อนอยู่ ทำให้การหาทางออกของ ‘ศึกสองกระทรวง’ จึงไม่อาจแก้ได้ที่ ‘เจ้ากระทรวง’ หรือ ‘รัฐมนตรี’ สังกัด ‘พรรคพลังประชารัฐ’

จึงเป็นไปตามภาพที่ปรากฎคือ ‘ปลัดกระทรวง’ เป็นตัวแทนในการพูดคุยเพื่อนำไปสู่ความคลี่คลายของปัญหา แม้ก่อนหน้านี้ (20 กุมภาพันธ์ 2567) จะมีการพูดคุยเพื่อหาทางออกไปแล้วระหว่าง ‘พัชรวาท วงษ์สุวรรณ’ รัฐมนตรีกระทรวงทรัพย์ฯ และ ‘ธรรมนัส พรหมเผ่า’ รัฐมนตรีกระทรวงเกษตรฯ ที่มีการยืนยันจากทั้งสองว่า ‘ไม่ใช่ศึกระหว่างกระทรวง’ หรือ ‘ความบาดหมางระหว่างพี่กับน้อง’ แต่ต่างฝ่ายต่างทำเพื่อประเทศ

Ministry-of-Natural-Resources-and-Environment-VS-Ministry-of-Agriculture-and- Cooperatives-SPACEBAR-Photo06.jpg
Photo: 'ปลัดสองกระทรวง' นั่งหัวโต๊ะถกหาข้อยุติ
Ministry-of-Natural-Resources-and-Environment-VS-Ministry-of-Agriculture-and- Cooperatives-SPACEBAR-Photo03.jpg
Photo: บรรยากาศการหารือที่เต็มไปด้วยเจ้าหน้าที่จาก 'กระทรวงทรัพย์ฯ' และ 'กระทรวงเกษตรฯ' โดยมีสื่อมวลชนร่วมสังเกตการณ์

จะจบอย่างไรในเมื่อ ‘ยึดหลักคนละทาง’

แม้ปัญหาในช่วงที่ผ่านมา ทั้งสองฝ่ายจะพยายามตกผนึกแนวทางการแก้ปัญหา แต่สิ่งที่ปรากฏชัดเจนคือ ‘แนวทาง’ ที่ต่างฝ่ายต่างยังเชื่อมั่นว่าจะนำไปสู่การคลี่คายข้อพิพาทได้อย่างเป็นธรรม หากมองในมิติของ ‘ร้อยเอกธรรมนัส’ ที่ให้สัมภาษณ์วานนี้ (3 มีนาคม 2567) ที่ทำเนียบรัฐบาลว่า ตอนนี้ได้สั่งการให้เพิกถอนการออกโฉนดพื้นที่ 5 แปลง ในส่วนที่ทับซ้อนกับ ‘เขาใหญ่’ ออกไปแล้ว เนื่องจากเป็นพื้นที่ต้องกันไว้เป็น ‘แนวกันชน’ พร้อมทั้งยืนยันว่า เมื่อปัญหาแล้วไม่สามารถเคลียร์กันได้ ก็ควรใช้ ‘หลักแกนกลาง’ ที่ออกโดยรัฐ อย่าง ‘วันแมป’ ที่จัดทำขึ้นโดยกรมแผนที่ทหาร

“ผมขอยืนยันว่าหากกรมแผนที่ทหารทำงานไม่ได้เรื่อง เวลาทำศึกสงครามสมัยก่อน หน่วยงานที่จะให้ปืนใหญ่หรืออากาศยานยิงลงจุดไหน ก็ใช้พิกัดแผนที่ของกรมแผนที่ทหารเป็นหลัก เพราะฉะนั้นเขามีความชำนาญ ฉะนั้นก็ควรให้เกียรติเขา” ธรรมนัส กล่าว

ธรรมนัส พรหมเผ่า กล่าว

ซึ่งแนวทางการใช้แผนที่ที่จัดทำโดยกองทัพ มาเป็นกรอบให้ทั้ง 2 กระทรวงยึดถือ เป็นหลักเกณฑ์ที่ ‘ชัยวัฒน์ ลิ้มลิขิตอักษร’ ผู้อำนวยการสำนักอุทยานแห่งชาติ กรมอุทยานฯ รับไม่ได้ อ้างอิงจากคำให้สัมภาษณ์ของเขาในวันที่ เสวนา ‘จากทับลานถึงเขาใหญ่’ ผืนป่าที่ถูกเฉือน เมื่อวันที่ 29 กุมภาพันธุ์ที่ผ่านมาว่า ตอนจัดทำอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ก็ไม่ได้คำสั่งให้กรมแผนที่ทหาร เข้ามาเป็นกรรมการของหรือตรวจสอบแผนที่แนวเขต และทางกรมได้ดำเนินการตามสภาพพื้นที่ป่า ยึดหลักของ ‘พระราชกฤษฎีกา’

อีกทั้ง กรมแผนที่ทหารมีหน้าที่ทำหมุดแนวพื้นที่ที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงของประเทศ ดังนั้นการถ่ายทอดจากหนังสือรังวัดนั้น ต้องมาจากการลงพื้นที่จริง ต้องยึดแนว ‘พระราชกฤษฎีกาตั้งเขาใหญ่เป็นอุทยานแห่งชาติแห่งแรกของประเทศไทยใน พ.ศ. 2505’ ถ้าทางขัดแย้งยังยืนยัน ว่าแผนที่ฉบับนี้ถูกต้อง คงพิสูจน์ในกระบวนการยุติธรรมใน ‘ชั้นศาล’ ต่อไป (อ่านต่อได้ที่ : Photo Story : น้องขอพี่ อย่าเหมารวม 'ส.ป.ก.' เลวทุกคน)

Ministry-of-Natural-Resources-and-Environment-VS-Ministry-of-Agriculture-and- Cooperatives-SPACEBAR-Photo01.jpg
Photo: 'ชัยวัฒน์ ลิ้มลิขิจอักษร' ผู้อำนวนการสำนักอุทยานแห่งชาติ
Ministry-of-Natural-Resources-and-Environment-VS-Ministry-of-Agriculture-and- Cooperatives-SPACEBAR-Photo02.jpg
Photo: จังหวะการโอบไหล่ 'ชัยวัฒน์' ของ 'ปลัดทส.' โดยมี 'ปลัดกษ.' ยืนอยู่ด้านขวา

ทางออกคือ ‘วันแมป’ จริงหรือ

มีการตั้งข้อสังเกตต่อกรณีการหาทางออก ที่เหมือนไม่ได้ฟังเสียงสะท้อนจาก ‘วงการอนุรักษ์’ เท่าที่ควร ในมิติที่แสดงถึงความกังวลต่อความ ‘เที่ยงตรง’ ในการทำรังวัด เพื่อยุติข้อพิพาท ทั้งรูปแบบกระบวนการจัดทำแผนที่ และ ‘การตัดหัวต่อหาง’ ที่ ‘ดำรงค์ พิเดช’ อดีตอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติเคยให้สัมภาษณ์ไว้  (อ่านต่อได้ที่ : เตือนขบวนการ 'รุกป่าเขาใหญ่' อย่าทำแบบ 'ลักหลับ')

โดยเฉพาะการยืนยันว่า ‘ศึกสองกระทรวง’ จำเป็นต้องใช้แผนที่ ที่ถูดจัดทำโดยกรมแผ่นที่ทหาร ตามคำสัมภาษณ์ของ ‘เศรษฐา ทวีสิน’ นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ที่สื่อสารก่อนหน้าที่ก่อนการหารือร่วมระหว่างสองกระทรวงในเช้าวันนี้

Ministry-of-Natural-Resources-and-Environment-VS-Ministry-of-Agriculture-and- Cooperatives-SPACEBAR-Photo05.jpg
Photo: 'วิณะโรจน์ ทรัพย์ส่งสุข' เลขาธิการสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.)
Ministry-of-Natural-Resources-and-Environment-VS-Ministry-of-Agriculture-and- Cooperatives-SPACEBAR-Photo04.jpg
Photo: จังหวะการเผชิญหน้าระหว่าง 'ชัยวัฒน์' และ 'วิณะโรจน์'

โดยนายกฯ ระบุความว่า ช่วงบ่ายวันนี้ ทางปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จะประชุมภายในเพื่อแก้ปัญหาเรื่องนี้ โดยยึดเรื่องที่ดินทำกินประชาชนเป็นที่ตั้ง เพราะเป็นเรื่องใหญ่ และเป็นเรื่องละเอียดอ่อน ทั้งประเด็นกฎหมาย และเรื่องการทับซ้อน ที่ต้องเอาแผนที่ทหาร 1 ต่อ 4,000 เป็นหลัก ตรงไหนเป็นที่ป่าต้องปล่อยให้เป็นที่ป่า ไม่ไปก้าวก่ายอยู่แล้ว มองว่าการทะเลาะกันก็ดีจะได้เห็นปัญหาของนโยบาย และแก้ไขให้ถูกต้อง มองว่าปัญหาที่เกิดขึ้นกับ 2 กระทรวงไม่ได้เป็นปัญหาใหญ่ เพียงแค่ต้องทำให้ถูกกฎหมาย

ต้องจับตาดูกันต่อว่าไป ‘การหารือ’ ในวันนี้จะออกมาในทิศทางไหน และประโยชน์เรื่องที่ทำกิน จะถึงมือ ‘ประชาชนชายขอบ’ ได้ตามที่รัฐบาลและราชการให้คำมั่นหรือไม่ และสุดท้าย ‘ผืนป่า’ ที่นับวันยิ่งน้อยนิด จะถูด ‘เฉือด’ ออกไปอย่างไม่เป็นธรรมกับธรรมชาติหรือเปล่า

ศึกสองกระทรวงนี้ นับวันยิ่งร้อนแรง ทั้งระดับ ‘กัปตัน’ และ ‘ต้นหน’ ทีเดียว

Ministry-of-Natural-Resources-and-Environment-VS-Ministry-of-Agriculture-and- Cooperatives-SPACEBAR-Photo08.jpg

เรื่องเด่นประจำสัปดาห์