ญี่ปุ่นจะเริ่มปล่อยน้ำหล่อเย็นจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะในวันพฤหัสบดี (24 ส.ค.) นี้ ซึ่งถือเป็นเวลากว่า 12 ปี หลังเหตุภัยพิบัติทางนิวเคลียร์ที่เลวร้ายที่สุดครั้งหนึ่งของโลก การประกาศดังกล่าวเกิดขึ้นแม้จะมีการต่อต้านจากชาวประมงและการประท้วงจากจีน ซึ่งได้สั่งห้ามการขนส่งอาหารจากหลายจังหวัดของญี่ปุ่นแล้ว
ขณะที่ญี่ปุ่นยืนยันว่าการปล่อยน้ำจะเป็นไปอย่างค่อยเป็นค่อยไปลงสู่ทะเล โดยน้ำที่สะสมอยู่ในโรงไฟฟ้านิวเคลียร์กว่า 500 สระนั้นปลอดภัย ความเห็นที่ได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานปรมาณูของสหประชาชาติ
นายกรัฐมนตรี ฟูมิโอะ คิชิดะ ของญี่ปุ่นประกาศถึงวันเริ่มต้น หลังจากการเจรจากับตัวแทนอุตสาหกรรมประมงที่ไม่เห็นด้วยหากสภาพอากาศและทะเลไม่เป็นอุปสรรค
โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะ-ไดอิจิพังทลายลงด้วยเหตุแผ่นดินไหวและสึนามิครั้งใหญ่ ซึ่งคร่าชีวิตผู้คนไปราว 18,000 รายในเดือนมีนาคมปี 2011 จากเครื่องปฏิกรณ์ 3 เครื่องของโรงไฟฟ้าพังทลาย
นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาผู้ปฏิบัติงานของบริษัทไฟฟ้าโตเกียว (TEPCO) ได้รวบรวมน้ำจำนวน 1.34 ล้านตันเพื่อบำบัดสิ่งที่เหลืออยู่ในเครื่องปฏิกรณ์ที่มีกัมมันตภาพรังสีสูง ผสมกับน้ำใต้ดินและน้ำฝนที่ซึมเข้าไป โดยน้ำถูกทำให้เจือจางและได้มีการคัดกรองแล้วเพื่อกำจัดสารกัมมันตภาพรังสีทั้งหมด ยกเว้นไอโซโทป ซึ่งมีระดับต่ำกว่าระดับอันตรายมาก
“ไอโซโทปถูกปล่อยออกมา (โดยโรงไฟฟ้านิวเคลียร์) มานานหลายทศวรรษ โดยไม่มีหลักฐานแน่ชัดว่ามีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมหรือสุขภาพ” โทนี่ ฮูเกอร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านนิวเคลียร์จากมหาวิทยาลัยแอดิเลดกล่าวกับ AFP
ญี่ปุ่นเลือกใช้วิธีแก้ปัญหาที่ผิดพลาด ซึ่งเป็นการจงใจสร้างมลพิษทางกัมมันตรังสีต่อสิ่งแวดล้อมทางทะเลมานานหลายทศวรรษ ในช่วงเวลาที่มหาสมุทรของโลกกำลังเผชิญกับความเครียดและความกดดันอันหนักหน่วงอยู่แล้ว
ด้านหน่วยเฝ้าระวังปรมาณูของสหประชาชาติกล่าวเมื่อเดือนกรกฎาคมว่า การปล่อยก๊าซดังกล่าวจะมีผลกระทบทางรังสีวิทยาต่อผู้คนและสิ่งแวดล้อมเล็กน้อย
เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ยุน ได้จัดการประชุมสุดยอดไตรภาคีครั้งแรกกับคิชิดะ และประธานาธิบดีโจ ไบเดนของสหรัฐฯ ที่แคมป์เดวิด ซึ่งทั้ง 3 คนเห็นพ้องต้องในความกังวลที่มีต่อความสัมพันธ์ของจีนและเกาหลีเหนือ
จีนกล่าวหาญี่ปุ่นว่า ปฏิบัติต่อมหาสมุทรเสมือนเป็น ‘ท่อระบายน้ำ’ โดยห้ามนำเข้าอาหารจาก 10 จังหวัดของญี่ปุ่นก่อนที่จะปล่อย และกำหนดให้มีการตรวจสอบรังสีอย่างเข้มงวด ขณะที่ฮ่องกง ซึ่งเป็นตลาดสำคัญสำหรับการส่งออกอาหารทะเลของญี่ปุ่น ก็ได้เปิดเผยข้อจำกัดเช่นกัน
สิ่งนี้สร้างความกังวลให้กับผู้คนที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมประมงของญี่ปุ่น เช่นเดียวกับที่ธุรกิจเริ่มฟื้นตัวมานานกว่าทศวรรษหลังภัยพิบัติทางนิวเคลียร์
“การปล่อยน้ำไม่มีอะไรที่เป็นประโยชน์ต่อเราเลย” ฮารุโอะ โอโนะ ชาวประมง วัย 71 ปี บอกกับ AFP ในเมืองชินชิมาจิ ซึ่งอยู่ห่างจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ไปทางเหนือ 60 กิโลเมตร
เจมส์ เบรดี ที่ปรึกษาความเสี่ยงของ Teneo กล่าวว่า แม้ว่าความกังวลด้านความปลอดภัยของจีนอาจดูจริงใจ แต่ก็มีความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์และการแข่งขันทางเศรษฐกิจอย่างชัดเจนจากปฏิกิริยาที่รุนแรง ทั้งนี้ปัญหาการปล่อยน้ำเสียที่ฟุกุชิมะมีหลายแง่มุม ทำให้จีนสามารถใช้ประโยชน์ได้ค่อนข้างมาก
“จีนสามารถใช้ประโยชน์จากแรงกดดันทางเศรษฐกิจในระดับการค้า เพิ่มความแตกแยกทางการเมืองภายในประเทศญี่ปุ่นให้รุนแรงขึ้น... และอาจถึงขั้นสร้างแรงกดดันในการปรับปรุงความสัมพันธ์ทางการฑูตระหว่างเกาหลีใต้และญี่ปุ่น” เบรดีกล่าว
นาโอยะ เซกิยะ จากมหาวิทยาลัยโตเกียวเมื่อปีที่แล้วได้ทำการสำรวจซึ่งพบว่า 90% ของชาวจีน และเกาหลีใต้คิดว่าอาหารฟุกุชิมะมีอันตรายมากหรืออยู่ในเกณฑ์ที่ค่อนข้างอันตราย พร้อมบอกว่านั่นเป็นเพราะญี่ปุ่นไม่ได้ขจัดข้อกังวลดังกล่าวอย่างเหมาะสม
อ่านเรื่อง “ทาสรัก ‘ปลาดิบ’ ยังกินได้อยู่มั้ย ถ้า ‘ญี่ปุ่น’ ปล่อยน้ำปนเปื้อนลงทะเล!?”
อ่านเรื่อง “ญี่ปุ่นพบสารกัมมันตรังสีในปลาฟุกุชิมะเกินมาตรฐาน 180 เท่า”
ขณะที่ญี่ปุ่นยืนยันว่าการปล่อยน้ำจะเป็นไปอย่างค่อยเป็นค่อยไปลงสู่ทะเล โดยน้ำที่สะสมอยู่ในโรงไฟฟ้านิวเคลียร์กว่า 500 สระนั้นปลอดภัย ความเห็นที่ได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานปรมาณูของสหประชาชาติ
นายกรัฐมนตรี ฟูมิโอะ คิชิดะ ของญี่ปุ่นประกาศถึงวันเริ่มต้น หลังจากการเจรจากับตัวแทนอุตสาหกรรมประมงที่ไม่เห็นด้วยหากสภาพอากาศและทะเลไม่เป็นอุปสรรค
โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะ-ไดอิจิพังทลายลงด้วยเหตุแผ่นดินไหวและสึนามิครั้งใหญ่ ซึ่งคร่าชีวิตผู้คนไปราว 18,000 รายในเดือนมีนาคมปี 2011 จากเครื่องปฏิกรณ์ 3 เครื่องของโรงไฟฟ้าพังทลาย
นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาผู้ปฏิบัติงานของบริษัทไฟฟ้าโตเกียว (TEPCO) ได้รวบรวมน้ำจำนวน 1.34 ล้านตันเพื่อบำบัดสิ่งที่เหลืออยู่ในเครื่องปฏิกรณ์ที่มีกัมมันตภาพรังสีสูง ผสมกับน้ำใต้ดินและน้ำฝนที่ซึมเข้าไป โดยน้ำถูกทำให้เจือจางและได้มีการคัดกรองแล้วเพื่อกำจัดสารกัมมันตภาพรังสีทั้งหมด ยกเว้นไอโซโทป ซึ่งมีระดับต่ำกว่าระดับอันตรายมาก
“ไอโซโทปถูกปล่อยออกมา (โดยโรงไฟฟ้านิวเคลียร์) มานานหลายทศวรรษ โดยไม่มีหลักฐานแน่ชัดว่ามีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมหรือสุขภาพ” โทนี่ ฮูเกอร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านนิวเคลียร์จากมหาวิทยาลัยแอดิเลดกล่าวกับ AFP
‘มหาศาล’
น้ำดังกล่าวจะถูกปล่อยลงสู่มหาสมุทรนอกชายฝั่งตะวันออกเฉียงเหนือของญี่ปุ่นในอัตราสูงสุด 500,000 ลิตร (132,000 แกลลอนสหรัฐ) ต่อวัน ด้านกลุ่มแรงกดดันด้านสิ่งแวดล้อมกรีนพีซกล่าวว่า กระบวนการกรองมีข้อบกพร่อง และวัสดุกัมมันรังสีในปริมาณ ‘มหาศาล’ จะถูกกระจายลงสู่ทะเลตลอดหลายทศวรรษข้างหน้าญี่ปุ่นเลือกใช้วิธีแก้ปัญหาที่ผิดพลาด ซึ่งเป็นการจงใจสร้างมลพิษทางกัมมันตรังสีต่อสิ่งแวดล้อมทางทะเลมานานหลายทศวรรษ ในช่วงเวลาที่มหาสมุทรของโลกกำลังเผชิญกับความเครียดและความกดดันอันหนักหน่วงอยู่แล้ว
ด้านหน่วยเฝ้าระวังปรมาณูของสหประชาชาติกล่าวเมื่อเดือนกรกฎาคมว่า การปล่อยก๊าซดังกล่าวจะมีผลกระทบทางรังสีวิทยาต่อผู้คนและสิ่งแวดล้อมเล็กน้อย
แพนิคเรื่อง ‘เกลือ’
ชาว ‘เกาหลีใต้’ จำนวนมากตื่นตระหนกกับการปล่อยน้ำบำบัด การทดลองต่างๆ หรือแม้กระทั่งการแห่กักตุน ‘เกลือทะเล’ เพราะกลัวว่าจะเกิดการปนเปื้อน แต่รัฐบาลของประธานาธิบดี ยุน ซุกยอล ของเกาหลีใต้ มองเห็นถึงความเสี่ยงทางการเมืองของประเทศ และได้พยายามที่จะปรับปรุงความสัมพันธ์ที่มีมาอย่างยาวนานกับญี่ปุ่น จึงไม่ได้คัดค้านแผนดังกล่าวเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ยุน ได้จัดการประชุมสุดยอดไตรภาคีครั้งแรกกับคิชิดะ และประธานาธิบดีโจ ไบเดนของสหรัฐฯ ที่แคมป์เดวิด ซึ่งทั้ง 3 คนเห็นพ้องต้องในความกังวลที่มีต่อความสัมพันธ์ของจีนและเกาหลีเหนือ
จีนกล่าวหาญี่ปุ่นว่า ปฏิบัติต่อมหาสมุทรเสมือนเป็น ‘ท่อระบายน้ำ’ โดยห้ามนำเข้าอาหารจาก 10 จังหวัดของญี่ปุ่นก่อนที่จะปล่อย และกำหนดให้มีการตรวจสอบรังสีอย่างเข้มงวด ขณะที่ฮ่องกง ซึ่งเป็นตลาดสำคัญสำหรับการส่งออกอาหารทะเลของญี่ปุ่น ก็ได้เปิดเผยข้อจำกัดเช่นกัน
สิ่งนี้สร้างความกังวลให้กับผู้คนที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมประมงของญี่ปุ่น เช่นเดียวกับที่ธุรกิจเริ่มฟื้นตัวมานานกว่าทศวรรษหลังภัยพิบัติทางนิวเคลียร์
“การปล่อยน้ำไม่มีอะไรที่เป็นประโยชน์ต่อเราเลย” ฮารุโอะ โอโนะ ชาวประมง วัย 71 ปี บอกกับ AFP ในเมืองชินชิมาจิ ซึ่งอยู่ห่างจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ไปทางเหนือ 60 กิโลเมตร
เจมส์ เบรดี ที่ปรึกษาความเสี่ยงของ Teneo กล่าวว่า แม้ว่าความกังวลด้านความปลอดภัยของจีนอาจดูจริงใจ แต่ก็มีความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์และการแข่งขันทางเศรษฐกิจอย่างชัดเจนจากปฏิกิริยาที่รุนแรง ทั้งนี้ปัญหาการปล่อยน้ำเสียที่ฟุกุชิมะมีหลายแง่มุม ทำให้จีนสามารถใช้ประโยชน์ได้ค่อนข้างมาก
“จีนสามารถใช้ประโยชน์จากแรงกดดันทางเศรษฐกิจในระดับการค้า เพิ่มความแตกแยกทางการเมืองภายในประเทศญี่ปุ่นให้รุนแรงขึ้น... และอาจถึงขั้นสร้างแรงกดดันในการปรับปรุงความสัมพันธ์ทางการฑูตระหว่างเกาหลีใต้และญี่ปุ่น” เบรดีกล่าว
นาโอยะ เซกิยะ จากมหาวิทยาลัยโตเกียวเมื่อปีที่แล้วได้ทำการสำรวจซึ่งพบว่า 90% ของชาวจีน และเกาหลีใต้คิดว่าอาหารฟุกุชิมะมีอันตรายมากหรืออยู่ในเกณฑ์ที่ค่อนข้างอันตราย พร้อมบอกว่านั่นเป็นเพราะญี่ปุ่นไม่ได้ขจัดข้อกังวลดังกล่าวอย่างเหมาะสม
อ่านเรื่อง “ทาสรัก ‘ปลาดิบ’ ยังกินได้อยู่มั้ย ถ้า ‘ญี่ปุ่น’ ปล่อยน้ำปนเปื้อนลงทะเล!?”
อ่านเรื่อง “ญี่ปุ่นพบสารกัมมันตรังสีในปลาฟุกุชิมะเกินมาตรฐาน 180 เท่า”