จีน-เกาหลีใต้เล่นใหญ่ว่าแต่ญี่ปุ่นปล่อยน้ำเสีย ประเทศตัวเองก็ปล่อยเหมือนกัน

28 สิงหาคม 2566 - 04:52

china-south-korea-release-nuclear-plant-wastewater-into-oceans-too-SPACEBAR-Thumbnail
  • ระหว่างปี 2018 โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ลาเฮกในฝรั่งเศสเคยปล่อยทริเทียมประมาณ 11,400 ล้านล้านเบคเคอเรลลงสู่มหาสมุทร และประมาณ 60 ล้านล้านเบคเคอเรลสู่ชั้นบรรยากาศ

  • ในปี 2019 โรงงานนิวเคลียร์อเนกประสงค์เซลาฟิลด์ในสหราชอาณาจักรปล่อยทริเทียมในรูปของเหลวประมาณ 423 ล้านล้านเบคเคอเรล และไอระเหยประมาณ 56 ล้านล้านเบคเคอเรลลงสู่ทะเลและชั้นบรรยากาศ

  • ขณะที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฝูชิงของจีนในมณฑลฝูเจี้ยนก็ปล่อยในรูปของเหลวประมาณ 52 ล้านล้านเบคเคอเรลเมื่อปี 2020 อีกด้วย

นับตั้งแต่รัฐบาลญี่ปุ่นประกาศแผนการที่จะปล่อยน้ำเสียที่ผ่านการบำบัดแล้วจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะ ไดอิชิลงสู่มหาสมุทร ซึ่งปัจจุบันได้รับการอนุมัติให้ปล่อยแล้วท่ามกลางกระแสตีกลับและความกังวลของประเทศเพื่อนบ้านอย่างจีนและเกาหลีใต้ที่ออกมาวิพากษ์วิจารณ์ว่าไม่ควรปล่อยบ้าง ขู่ว่าจะไม่นำเข้าอาหารทะเลจากญี่ปุ่นบ้าง 

ทั้งๆ ที่ทางการญี่ปุ่นและผู้เชี่ยวชาญบางรายก็ออกมาคอนเฟิร์มแล้วว่ามันไม่ได้เป็นอันตรายต่อสัตว์และอาหารทะเล แต่ญี่ปุ่นก็ยังโดนโจมตีประเด็นนี้ไม่เลิก 

แต่ทำไมจีน-เกาหลีใต้ต้องวิจารณ์ญี่ปุ่นขนาดนี้ทั้งๆ ที่ประเทศตัวเองก็ปล่อยน้ำจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เหมือนกัน

เกาหลีใต้เป็นหนึ่งในประเทศที่ใช้พลังงานนิวเคลียร์ที่โดดเด่นที่สุดของโลก ทั้งยังมีการปล่อยน้ำเสียที่มี ‘ทริเทียม’ ผสมอยู่ลงสู่ทะเลใกล้กับเมืองปูซาน ซึ่งก็มีชื่อเสียงด้านผลิตภัณฑ์อาหารทะเลเหมือนกัน จากข้อเท็จจริงนี้ ผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงานนิวเคลียร์กลับพบว่า การคัดค้านของเกาหลีใต้นั้น ‘ขาดพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์’ 

ดังนั้น ผู้เชี่ยวชาญจึงมองว่า ‘ตัวอย่างของปูซานแสดงให้เห็นถึงสิ่งที่เป็นไปได้สำหรับฟุกุชิมะ’ แต่ก็ยังเน้นย้ำถึงความจำเป็นด้านความโปร่งใสและการชดเชยสำหรับฝ่ายต่างๆ ที่ได้รับผลกระทบจากน้ำเสีย 

น้ำเสียที่ผ่านการบำบัดแล้วจากโรงไฟฟ้าฟุกุชิมะซึ่งถูกเก็บไว้ในแท็งก์มีทริเทียมประมาณ 860 ล้านล้านเบคเคอเรล โดยตามแผนของรัฐบาลญี่ปุ่นนั้นจะมีการเจือจางน้ำเสียก่อน จากนั้นจึงปล่อยลงสู่มหาสมุทรอย่างช้าๆ ในอัตราสูงสุด 22 ล้านล้านเบคเคอเรลต่อปีตลอดช่วงหลายทศวรรษนับจากนี้ ขณะที่บางประเทศปล่อยทริเทียมลงทะเลในปริมาณที่สูงกว่าทริเทียมที่อยู่ในน้ำเสียของฟุกุชิมะที่เก็บไว้ในแท็งก์เสียอีก 

ประเทศอื่นก็ปล่อยน้ำจากโรงงานนิวเคลียร์ลงทะเลเหมือนกัน…บางประเทศปล่อยมากกว่าญี่ปุ่นอีก 

กระทรวงเศรษฐกิจ การค้าและอุตสาหกรรมของญี่ปุ่น (METI) เปิดเผยรายงานต่อสาธารณะเมื่อวันที่ 13 เมษายน 2021 ซึ่งพบว่า ประเทศอื่นๆ ก็ปล่อยน้ำเสียเหล่านี้ลงทะเลด้วยเช่นเดียวกัน 
  • ระหว่างปี 2018 โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ลาเฮก (La Hague nuclear fuel) ในฝรั่งเศสก็เคยปล่อยทริเทียมประมาณ 11,400 ล้านล้านเบคเคอเรล (Bq) ลงสู่มหาสมุทร และประมาณ 60 ล้านล้านเบคเคอเรลสู่ชั้นบรรยากาศ 
  • ในปี 2019 โรงงานนิวเคลียร์อเนกประสงค์เซลาฟิลด์ (Sellafield) ในสหราชอาณาจักรก็ปล่อยทริเทียมในรูปของเหลวประมาณ 423 ล้านล้านเบคเคอเรล และไอระเหยประมาณ 56 ล้านล้านเบคเคอเรลลงสู่ทะเลและชั้นบรรยากาศ 
  • ขณะที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฝูชิง (Fuqing) ของจีนในมณฑลฝูเจี้ยนก็ปล่อยในรูปของเหลวประมาณ 52 ล้านล้านเบคเคอเรลเมื่อปี 2020 อีกด้วย 
แต่สิ่งที่น่าสังเกตเป็นพิเศษก็คือ…
  • สถานการณ์ในประเทศเพื่อนบ้านอย่างเกาหลีใต้ โดยเฉพาะโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์ขนาดใหญ่ ‘โคริ’ ซึ่งอยู่ห่างจากท่าเรือปูซานเพียงประมาณ 30 กิโลเมตรเท่านั้นคยปล่อยทริเทียม 50 ล้านล้านเบคเคอเรลลงสู่ทะเลในปี 2018 
  • โรงไฟฟ้านิวเคลียร์โวลซองที่อยู่ห่างออกไปประมาณ 80 กิโลเมตรก็ปล่อยทริเทียมอีก 25 ล้านล้านเบคเคอเรลลงสู่ทะเลและ 110 ล้านล้านเบคเคอเรลสู่ชั้นบรรยากาศ 
ทั้งนี้ นอกจากปูซานจะเป็นเมืองใหญ่เป็นอันดับ 2 ของเกาหลีใต้ และศูนย์กลางอุตสาหกรรมแล้ว ยังเป็นแหล่งท่องเที่ยวชั้นนำที่มีชื่อเสียงด้านตลาดอาหารทะเลที่ใหญ่ที่สุดของประเทศอีกด้วย  
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/2FRZM9HbM7TyLUz5o2f3Mw/20303d4e365663beca0ce731fd193eeb/_________-_________-___________________________1_
โคจิ โอคาโมโตะ ศาสตราจารย์ด้านวิศวกรรมนิวเคลียร์แห่งบัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยโตเกียวกล่าวว่า “ไม่มีเหตุผลว่าทำไมสิ่งที่ได้รับอนุญาตในปูซานจึงไม่ควรได้รับอนุญาตที่ฟุกุชิมะ” 

“เนื่องจากจีนและเกาหลีใต้ต่างปล่อยทริเทียมเป็นประจำ พวกเขาจึงควรตอบสนองต่อแผนการของญี่ปุ่นในรูปแบบทางวิทยาศาสตร์ที่มีเหตุผลกว่านี้…การปล่อยน้ำเสียที่ผ่านการบำบัดจะช่วยอำนวยความสะดวกในกระบวนการรื้อถอนโดยการกำจัดเศษที่เหลือ รวมถึงเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ที่ละลายออกจากเครื่องปฏิกรณ์ด้วย” 

อย่างไรก็ตาม จนถึงขณะนี้ แผนการปล่อยน้ำเสียกลับมีการตอบโต้อย่างรุนแรงมากขึ้น “รัฐบาลจำเป็นต้องใช้ภาษาที่เข้าใจง่ายเพื่ออธิบายให้สาธารณชนทราบว่าสถานการณ์จริงเป็นอย่างไร…เรายังจำเป็นต้องสร้างกรอบการทำงานเพื่อให้แน่ใจว่ามีการจ่ายค่าชดเชยในกรณีที่ข่าวลือสร้างความเสียหายต่อชื่อเสียง” โอคาโมโตะกล่าวเสริม 

อ่านข่าวเพิ่มเติม 

เรื่องเด่นประจำสัปดาห์