รู้จัก 'Sandwich Generation' กับ ปัญหาขาดการสื่อสารระหว่างรุ่น เสี่ยงทำธุรกิจล่มสลาย
พีระพัฒน์ เหรียญประยูร Managing Director, Wealth Planning and Non-Capital Market Head, Private Banking Group ธนาคารกสิกรไทย เปิดว่า การส่งต่อความมั่งคั่งครั้งใหญ่ (The Great Wealth Transfer) จะเกิดขึ้นทั่วโลกและรวมถึงประเทศไทยด้วย ซึ่งการส่งต่อทรัพย์สินเฉพาะในสหรัฐฯ จะมีมูลค่ากว่า 59 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 2 พันล้านล้านบาท ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อโครงสร้างเศรษฐกิจ นโยบายด้านภาษี การทำสาธารณกุศล และทำให้เกิดการศึกษาถึงวิธีการในการส่งต่อทรัพย์สินที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น
จากการศึกษาร่วมกันระหว่าง KBank Private Banking กับ Lombard Odier พบว่าหลังการระบาดของ Covid-19 ครอบครัวที่มีความมั่งคั่งสูงส่วนใหญ่หันมาให้ความสำคัญกับการวางแผนการส่งต่อทรัพย์สินและธุรกิจมากขึ้น
โดยพบว่าลูกค้าบุคคลสินทรัพย์สูงส่วนใหญ่ในเอเชียแปซิฟิก 5 ประเทศ ได้แก่ ไทย ฟิลิปปินส์ ฮ่องกง สิงคโปร์ และ ญี่ปุ่น สัดส่วน 50% มองว่าการสื่อสารระหว่างรุ่นเป็นเรื่องที่ยากและไม่ได้มีการสื่อสารกัน ซึ่งถือว่าเป็นสัดส่วนที่มากกว่าตะวันตกที่อยู่ที่ 30-40 % เพราะเอเชีย กับ ตะวันตก มีวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่สำคัญของคนที่เป็น Sandwich Generation ที่จะต้องเตรียมพร้อมและทำความเข้าใจความต้องการของทายาทที่จะต้องรับช่วงต่อ

3 มุมมอง ที่แตกต่างของทายาทรุ่นใหม่
Sandwich Generation ในครอบครัวที่อาจจะประกอบไปด้วยสมาชิกมากกว่า 3 รุ่นเป็นต้นไป รุ่นที่อยู่ตรงกลางต้องรับบทหนักในการสื่อสารระหว่างรุ่นพ่อ แม่ หลาน และเหลน และพบปัญหาในเรื่องอำนาจและบทบาทในการตัดสินใจ เพราะบางครั้ง ใน Gen Baby Boomer ซึ่งเป็นวัยที่ก่อตั้งธุรกิจ ก็มั่นใจในตัวเอง ไม่ปล่อยอำนาจให้ Gen X บริหารงานเต็มตัว ทำให้ Gen X ขาดประสบการณ์

โดยแต่ละ Generation ก็มุมมอง 3 ด้านที่แตกต่างกันไป อย่าง มุมมองต่อทรัพย์สิน เช่น Gen Baby Boomer มองว่า ที่ดิน เป็นทรัพย์สินปลอดภัย เป็นมรดกตกทอด มูลค่าเพิ่มขึ้นทุกปี ในขณะที่ Next Generation มองว่าเป็นภาระในการบริหารสินทรัพย์ เพราะมีต้นทุนที่ต้องถือไว้
ขณะที่ มุมมองด้านการลงทุน คนรุ่นใหม่ อยากลงทุนในธุรกิจ Sustainability Business และ Start up แต่คนรุ่นเก่า ยังมั่นใจในการฝากเงิน และลงทุนในพันธบัตร รวมถึง มุมมองด้านการจัดการในครอบครัว เช่น การส่งมอบธุรกิจที่รุ่นก่อนเคยทำไว้ ไม่ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์คนรุ่นใหม่ ดังนั้น กลุ่ม Gen y และ Gen Z จึงอยากให้ครอบครัวรับฟังข้อเสนอในการรับช่วงต่อในการทำธุรกิจ จัดการอย่างเป็นระบบ เพื่อให้การส่งมอบราบรื่น เพราะหากธุรกิจครอบครัวไม่จัดการด้านการสื่อสาร เพื่อส่งต่อความมั่งคงสู่รุ่นไม่ได้ กรณีที่แย่ที่สุด (worse case) ที่อาจจะเกิดขึ้น คือ ธุรกิจครอบครัวต้องปิดตัวลง

คนรุ่นเก่า มองที่ดินเป็น มรดก มูลค่าเพิ่ม แต่ ที่ดินแปลงใหญ่ๆ ก่อนขาย ต้องออกแบบแปลง เป็นสัดส่วนก่อนขาย ซึ่งมีต้นทุนโครงสร้างพื้นฐาน เช่น ถนน มีการบริหารจัดการที่ยุ่งยาก ซึ่ง เด็กรุ่นใหม่ อาจจะไม่ได้อยากได้ที่ดิน อยากได้ เงินมากกว่า เพื่อเอาไปทำอะไรที่อยากทำ ตอบโจทย์ชีวิตที่อิสระ
พีระพัฒน์ เหรียญประยูร Managing Director,Wealth Planning and Non-Capital Market Head, Private Banking Group ธนาคารกสิกรไทย

พีระพัฒน์ เหรียญประยูร เสริมว่า นอกจากนี้ยัง Next Generation ยังอยากให้ ผู้ใหญ่ สื่อสารใน 3 ประเด็นสำคัญๆ คือ ความโปร่งใสในการจัดการมรดก ทรัพย์สินต่างๆ เปิดโอกาสให้คนรุ่นใหม่ เสนอรูปแบบการลงทุนในสินทรัพย์ใหม่ๆ ตามเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไป และ สุดท้าย ก่อนถึงเวลาส่งมอบธุรกิจ ขอให้ ‘คนรุ่นเก่า’ สร้างกระบวนการในการสอนงานในการบริหารธุรกิจ เพื่อให้คนรุ่นใหม่เกิดความผูกพันกับธุรกิจ และยังถือเป็นการสร้างความสัมพันธ์ระหว่าง Generation อีกด้วย
ข่าวที่น่าสนใจ
TikTok เตือนผลิตข่าวปลอม เสี่ยงถูกแบน - ดำเนินคดี