กยศ. แจง นศ.พยาบาลยังไม่ได้รับอนุมัติเงินกู้ เหตุบางรายมีรายได้ พบสถาบันนี้ ตัวเลขขอทุนพุ่งจากหลักพันเป็นหมื่น เตรียมลงพื้นที่ตรวจสอบสัปดาห์หน้า
กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) ชี้แจงข่าวกรณีที่กลุ่มตัวแทนของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งได้ยื่นหนังสือร้องทุกข์กับศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดศรีสะเกษ ว่ายังไม่ได้รับอนุมัติเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษา โดยกองทุนได้ตรวจสอบพบความไม่สอดคล้องของข้อมูลและพบความผิดปกติในการยื่นขอกู้ยืม ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการตรวจสอบและรอการชี้แจงข้อมูลเพิ่มเติมจากทางสถานศึกษา
ชัยณรงค์ กัจฉปานันท์ ผู้จัดการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) ได้เปิดเผยว่า จากกรณีที่นักศึกษาพยาบาลเข้ายื่นหนังสือร้องทุกข์กับศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดศรีสะเกษ ว่ายังไม่ได้รับอนุมัติการให้เงินกู้ยืมจากกองทุนนั้น กองทุนขอชี้แจงว่าสถานศึกษาดังกล่าว มีผู้กู้ยืมเงินในปีการศึกษา 2564 จำนวน 9,199 ราย ปีการศึกษา 2565 จำนวน 14,937 ราย
และปีการศึกษา 2566 มีผู้ยื่นขอกู้ยืม จำนวน 23,136 ราย ซึ่งผู้กู้ที่ได้ยื่นขอกู้ยืมเงินในปี 2566 ได้รับการอนุมัติให้กู้ยืมเงินแล้ว จำนวน 16,313 ราย คงเหลือยังไม่อนุมัติให้กู้ยืม จำนวน 6,823 ราย เนื่องจากได้ตรวจสอบพบว่าในกลุ่มที่ยังไม่อนุมัตินี้เป็นผู้ที่มีงานทำ 2,644 ราย ซึ่งไม่เป็นไปตามคุณสมบัติของการกู้ยืม

ทั้งนี้ กองทุนตรวจพบความไม่สอดคล้องของข้อมูลหลายประการ เช่น ผู้กู้ยืมบางรายแจ้งว่าไม่ทราบข้อมูลของบิดามารดา และเมื่อกองทุนขอข้อมูลเพิ่มเติม บางรายแจ้งว่าไม่สะดวกในการเตรียมเอกสาร รับรองรายได้นอกจากนั้นผู้รับรองรายได้บางรายมีการให้กับครอบครัวของผู้กู้ยืมจำนวนมากที่มีภูมิลำเนาต่างจังหวัดกัน และเมื่อกองทุนติดต่อไปตามหมายเลขโทรศัพท์ที่ได้ให้ไว้แต่ติดต่อไม่ได้
ทีมข่าว SPCAEBAR ตรวจสอบเพิ่มเติมไปยัง กยศ. พบ ข้อสังเกตว่า นศ.สถานศึกษาดังกล่าว มีตัวเลขการขอทุนที่เพิ่มขึ้นผิดปกติ ในช่วงปี 2564-2566 โดยปี 2564 จำนวน 9,199 ราย ปีการศึกษา 2565 จำนวน 14,937 ราย และปี 2566 มีผู้ยื่นขอกู้ยืม จำนวน 23,136 ราย แต่ในจำนวนนี้เป็นผู้ที่มีงานผู้ที่มีงานทำ หรือ มีรายได้ถึง 2,644 ราย
นอกจากนี้ยังพบความผิดปกติว่า นักศึกษาบางราย มีคนเซ็นรับรองการกู้เงินข้ามพื้นที่ เช่น นศ.อาศัยอยู่ที่จ.ศรีสะเกษ แต่คนเซ็นรับรองอยู่จว.อุดรธานี อุบลธานี รวมถึง คนที่เซ็นรับรองการกู้เงินยังเซ็นลงนามให้กับนักศึกษาหลายคน ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการตรวจสอบและรอการชี้แจงข้อมูลเพิ่มเติมจากทางสถานศึกษา
โดยสัปดาห์หน้าทาง ผู้บริหารกยศ. และ ผู้บริหารกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (อว.) ซึ่งเป็นต้นสังกัดของสถานศึกษาให้ทราบแล้ว จะลงพื้นที่เพื่อไปตรวจสอบและรับฟังคำชี้แจงของสถานศึกษาในสัปดาห์หน้า ยืนยันว่า ผู้กู้ยืมที่มีคุณสมบัติครบถ้วน ไม่มีลักษณะต้องห้ามและดำเนินการตามระเบียบที่กองทุนกำหนดจะมีสิทธิได้กู้ยืมอย่างแน่นอน เตรียมลงพื้นที่ตรวจสอบสถานศึกษาดังกล่าว
ทั้งนี้ กองทุนได้แจ้งกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
ทั้งนี้ กองทุนได้กำหนดคุณสมบัติของผู้กู้ยืมเงินคือ
- มีสัญชาติไทย
- ศึกษาหรือได้รับการตอบรับให้เข้าศึกษาอยู่ในสถานศึกษาที่ร่วมดำเนินงานกับกองทุน
- เป็นผู้ขอกู้ยืมเงินเพื่อการศึกษาในการเข้าศึกษาที่สถานศึกษาเพียงแห่งเดียวในคราวภาคการศึกษาเดียวกัน
- มีผลการเรียนดีหรือผ่านเกณฑ์การวัดและประเมินผลของสถานศึกษา
- มีความประพฤติดี ไม่ฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับของสถานศึกษาขั้นร้ายแรงหรือไม่เป็นผู้ที่มีความประพฤติเสื่อมเสีย และ
กองทุนได้กำหนดลักษณะต้องห้าม ดังนี้
- ไม่เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีในสาขาใดสาขาหนึ่งมาก่อน
- ไม่เป็นผู้ปฏิบัติงานและรับเงินเดือนหรือค่าจ้างประจำในหน่วยงานของรัฐหรือเอกชน ในลักษณะเต็มเวลา เว้นแต่จะได้กำหนดเป็นอย่างอื่นในคุณสมบัติเฉพาะสำหรับการให้เงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาลักษณะหนึ่งลักษณะใด
- ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย
- ไม่เป็นหรือเคยเป็นผู้ได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
- ไม่เป็นหรือเคยเป็นผู้ที่ผิดนัดชำระหนี้กับกองทุน เว้นแต่ได้ชำระหนี้ดังกล่าวครบถ้วนแล้ว
ข่าวที่น่าสนใจ
แม็คโคร โดน DSI ตรวจ ยอมรับขายหมูเถื่อน