ฮาวทูกู้โลกรวน - วิธีที่ 7: ถุงผ้า (อยากใช้...แต่ลืมไว้ในรถ)

7 ม.ค. 2568 - 09:55

  • ประเทศไทยใช้ถุงพลาสติก 45,000 ล้านใบต่อปี 1 มกราคม 2020 ไทยออกกฎหมายบังคับใช้ควบคู่การรณรงค์ให้ห้างร้านงดแจกถุงพลาสติก (อยากได้ต้องซื้อ!) ผ่านมา 5 ปี ทำไมยังได้ถุงแจก

  • ใช้แล้วทิ้ง! วัฒนธรรมการทิ้งขว้าง เดินทางมาถึงขอบเหว เมื่อเกิด “วิกฤตพลาสติกล้นโลก”

  • “ถุงผ้า” คือพระเอกของเรื่องนี้ หรือว่าไม่อาจมีสิ่งใดมาทดแทนพลาสติก

ecoeyes-how-to-heal-the-planet-cloth-bag-want-to-use-it-but-forgot-it-in-the-car-SPACEBAR-Hero.jpg

ฮาวทูกู้โลกรวน ฉบับพูดง่าย ทำยาก

วิธีที่ 7: ถุงผ้า (อยากใช้...แต่ลืมไว้ในรถ)

“ถุงกระดาษ” ต้องโค่นป่า “ถุงพลาสติก” ทำขยะล้นโลก แล้ว “ถุงผ้า” ล่ะดีจริงหรือ?

แนะนำ: Reuse is The Best Solution เปลี่ยนพฤติกรรม เพราะ “เรา” คือผู้กำหนดอนาคต (ไม่ใช่ถุง)

WHAT (เกิดอะไรขึ้นอ่ะ?)

ย้อนกลับไปก่อนที่ “ถุงผ้า” จะเป็นตัวเลือกที่ใช่ ในอดีต (ปลายศตวรรษที่ 19) โลกเราใช้ ถุงกระดาษ ทางเลือกที่สวยงาม ย่อยสลายได้ และดูท่าว่าจะเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม แต่ฉากหลังคือการตัด! โค่น! ต้นไม้ เพราะการผลิตกระดาษ 1 ตัน ใช้ต้นไม้มากถึง  17 ต้น (ถ้ายังใช้บูมๆ อยู่ ภูเขาหัวโล้น คนหัวร้อน ต้องเยอะกว่านี้แน่)

ecoeyes-how-to-heal-the-planet-cloth-bag-want-to-use-it-but-forgot-it-in-the-car-SPACEBAR-Photo01.jpg

ทางแก้ที่ถูกยกย่องว่าเป็นสิ่งประดิษฐ์สุดเจ๋งในยุคนั้นจึงเกิดขึ้น เมื่อ Sten Gustaf Thulin คิด “ถุงก๊อบแก๊บ” ที่น้ำหนักเบา ทนทาน (กว่าจะย่อยสลายก็นานเป็นร้อยปี) ขึ้นมาในฐานะตัวเลือกทดแทนถุงกระดาษ และจดสิทธิบัตรในปี 1962 โดยหวังให้คนเราใช้มันซ้ำๆ (ใบเดิมนะ) เพื่อลดการตัดไม้ทำลายป่า หลังจากยุค 80 ถุงพลาสติกก็เข้ามาแทนที่ถุงกระดาษจนสมบูรณ์แบบ

ecoeyes-how-to-heal-the-planet-cloth-bag-want-to-use-it-but-forgot-it-in-the-car-SPACEBAR-Photo02.jpg

แต่เดี๋ยว! มันกลับไม่เป็นเหมือนที่คิดไว้ เพราะเราใช้ ใช้ ใช้! …แค่ครั้งเดียว ก็ทิ้ง ทิ้ง ทิ้ง! ก่อวัฒนธรรมการทิ้งขว้าง จนเดินทางมาถึงขอบเหว เมื่อเกิด “วิกฤตพลาสติกล้นโลก”

ecoeyes-how-to-heal-the-planet-cloth-bag-want-to-use-it-but-forgot-it-in-the-car-SPACEBAR-Photo03.jpg

ข้อมูลที่น่าตกใจจาก World Economic Forum เผยว่า ถ้าเรายังใช้พลาสติกเหมือนเดิม ภายในปี 2050 (เบญจเพสของเด็ก Gen Beta) ในทะเลจะมี “พลาสติก” มากกว่า “ปลา”…ถึงเวลาแล้วที่ต้องคิดใหม่! 

WHY (ทำไมโลกร้อนล่ะ, เกี่ยวไร?)

หลังโลกรู้ว่าเกิดวิกฤตพลาสติก ทุกคนก็กระตือรือร้น ชวนลดละเลิกถุงพลาสติก แล้วหันมาใช้ “ถุงผ้า” โดยกรมควบคุมมลพิษ เก็บสถิติการใช้ถุงหูหิ้ว ปี 2016 ประเทศไทยใช้ถุงพลาสติก 45,000 ล้านใบต่อปี โดย 40% (18,500 ล้านใบ) มาจากตลาดสดและร้านค้าแผงลอย อีก 30% (13,500 ล้านใบ) มาจากห้างสรรพสินค้าและร้านสะดวกซื้อ ส่วน 30% ที่เหลือ (13,500 ล้านใบ) มาจากร้านขายของชำทั่วไป

ecoeyes-how-to-heal-the-planet-cloth-bag-want-to-use-it-but-forgot-it-in-the-car-SPACEBAR-Photo04.jpg
Photo: สถิติการใช้ถุงหูหิ้วในประเทศไทย ปี 2016

ประเทศไทยจึงออกกฎหมายบังคับใช้ควบคู่การรณรงค์ให้ห้างสรรพสินค้า ซูเปอร์มาร์เก็ต และร้านสะดวกซื้อ งดแจกถุงพลาสติก (อยากได้ต้องซื้อ!) เพื่อลดปัญหาสิ่งแวดล้อม โดยดีเดย์เริ่มต้นวันที่ 1 มกราคม 2020 แล้วปีนั้นคนไทยก็สามารถลดใช้ถุงพลาสติกหูหิ้วรวม 11,958 ล้านใบ หรือกว่า 108,220 ตัน (เทียบเท่ากับน้องหมูเด้ง 2.3 ล้านตัว!!) ซึ่งเยอะมาก 

จำได้เลยว่าช่วงนั้น ห้างร้าน หน่วยงาน หรืออีเว้นต์รายวัน ผุดแคมเปญรักษ์โลก ครีเอตโฆษณา ประเคนแจก “ถุงผ้าลดโลกร้อน” หลากสีหลายแบรนด์ ประหนึ่งว่าถุงผ้าที่แจกให้เราจะใช้ยันโลกแตก

ecoeyes-how-to-heal-the-planet-cloth-bag-want-to-use-it-but-forgot-it-in-the-car-SPACEBAR-Photo V01.jpg
Photo: ภาพ 7-11 Fanclub

โดยเฉพาะสปันบอนด์ ถุงผ้า (จำแลง) ที่มีเนื้อสัมผัสใกล้เคียงผ้า แต่ไม่ได้ทำมาจากเส้นใยธรรมชาติ เพราะทำจากพลาสติกกลุ่ม Polypropylene (PP) พิมพ์ขึ้นรูป เมื่อย่อยสลายหรือโดนรังสี UV ก็จะแตกตัวกลายเป็นไมโครพลาสติก (Microplastic)

และอย่างที่รู้กันดีว่าในกระบวนการผลิต “ถุงผ้า” ต้องใช้ทรัพยากรและพลังงาน ผ่านการฟอกสี ย้อมสี สกรีน ใช้น้ำดี ปล่อยน้ำเสีย เพื่อแปรรูปจากฝ้ายให้กลายมาเป็นถุงผ้า ซึ่งกว่าจะปลูกฝ้ายได้ 1 กิโลกรัมจะต้องใช้น้ำ 7,000-23,000 ลิตร ใช้ปุ๋ย ยาฆ่าแมลง หรือถ้าเป็นถุงผ้าแบบโพลีเอสเตอร์ ก็ต้องใช้ก๊าซธรรมชาติถึง 1.5 กิโลกรัม ต่อ 1 กิโลกรัม เกิดคาร์บอนฟุตพริ้นท์ (Carbon Footprint) ไม่ใช่น้อยๆ

ประเด็นหลักไม่ได้อยู่ที่คาร์บอนฯ ที่ปล่อย แต่อยู่ที่ “อายุการใช้งาน” เพราะหากเทียบแล้วแม้การผลิตถุงพลาสติกจะปล่อยคาร์บอนฯ น้อย มีต้นทุนทางสิ่งแวดล้อมน้อย (กว่า) แต่อายุการใช้งานจริงแสนสั้นเฉลี่ยเพียง 12 นาที ขณะที่ถุงผ้านำกลับมาใช้ได้ซ้ำแล้วซ้ำเล่า

แบบนี้ถ้าคิดจะใช้ถุงผ้าให้คุ้มค่ากับสิ่งที่เสียไป เราต้องใช้กี่ครั้งกันนะ เรื่องนี้มีงานวิจัยที่ตีพิมพ์ใน Environmental Science & Technology ระบุว่า 

  • ถุงกระดาษ ต้องใช้ซ้ำอย่างน้อย 3 ครั้ง
  • ถุงพลาสติกแบบหนา (Reusable bag) ต้องใช้ซ้ำอย่างน้อย 4 ครั้ง
  • ถุงสปันบอนด์ (Non-woven PP bag) ต้องใช้ซ้ำอย่างน้อย 11 ครั้ง
  • ถุงผ้า (Cotton) ต้องใช้ซ้ำอย่างน้อย 131 ครั้ง ถึงคุ้มกับที่เราทำเพื่อโลก

HOW (ทำอย่างไรล่ะทีนี้?)

แนวทางแห่งความยั่งยืนของเรื่องนี้ ภาพใหญ่ไม่ใช่การแจกถุงผ้า การบังคับซื้อถุงพลาสติก หรือผลิตถุงรักษ์โลก แต่แท้จริงแล้วมันคือการเปลี่ยนพฤติกรรมเราให้หันมา “ใช้ซ้ำ” (Reuse is The Best Solution) เพราะ “เรา” คือผู้กำหนดอนาคต (ไม่ใช่ถุง) 

แค่ผู้ขายลดให้ ผู้ใช้ลดรับ ทุกคนเลิกใช้ Single-Use แล้ว Reuse จริงจัง ความขลังของ “ถุง” ก็บังเกิด

ecoeyes-how-to-heal-the-planet-cloth-bag-want-to-use-it-but-forgot-it-in-the-car-SPACEBAR-Photo05.jpg

โดยเฉพาะสปันบอนด์ ถุงผ้า (จำแลง) ที่มีเนื้อสัมผัสใกล้เคียงผ้า แต่ไม่ได้ทำมาจากเส้นใยธรรมชาติ เพราะทำจากพลาสติกกลุ่ม Polypropylene (PP) พิมพ์ขึ้นรูป เมื่อย่อยสลายหรือโดนรังสี UV ก็จะแตกตัวกลายเป็นไมโครพลาสติก (Microplastic)

และอย่างที่รู้กันดีว่าในกระบวนการผลิต “ถุงผ้า” ต้องใช้ทรัพยากรและพลังงาน ผ่านการฟอกสี ย้อมสี สกรีน ใช้น้ำดี ปล่อยน้ำเสีย เพื่อแปรรูปจากฝ้ายให้กลายมาเป็นถุงผ้า ซึ่งกว่าจะปลูกฝ้ายได้ 1 กิโลกรัมจะต้องใช้น้ำ 7,000-23,000 ลิตร ใช้ปุ๋ย ยาฆ่าแมลง หรือถ้าเป็นถุงผ้าแบบโพลีเอสเตอร์ ก็ต้องใช้ก๊าซธรรมชาติถึง 1.5 กิโลกรัม ต่อ 1 กิโลกรัม เกิดคาร์บอนฟุตพริ้นท์ (Carbon Footprint) ไม่ใช่น้อยๆ

ประเด็นหลักไม่ได้อยู่ที่คาร์บอนฯ ที่ปล่อย แต่อยู่ที่ “อายุการใช้งาน” เพราะหากเทียบแล้วแม้การผลิตถุงพลาสติกจะปล่อยคาร์บอนฯ น้อย มีต้นทุนทางสิ่งแวดล้อมน้อย (กว่า) แต่อายุการใช้งานจริงแสนสั้นเฉลี่ยเพียง 12 นาที ขณะที่ถุงผ้านำกลับมาใช้ได้ซ้ำแล้วซ้ำเล่า

แบบนี้ถ้าคิดจะใช้ถุงผ้าให้คุ้มค่ากับสิ่งที่เสียไป เราต้องใช้กี่ครั้งกันนะ เรื่องนี้มีงานวิจัยที่ตีพิมพ์ใน Environmental Science & Technology ระบุว่า 

  • ถุงกระดาษ ต้องใช้ซ้ำอย่างน้อย 3 ครั้ง
  • ถุงพลาสติกแบบหนา (Reusable bag) ต้องใช้ซ้ำอย่างน้อย 4 ครั้ง
  • ถุงสปันบอนด์ (Non-woven PP bag) ต้องใช้ซ้ำอย่างน้อย 11 ครั้ง
  • ถุงผ้า (Cotton) ต้องใช้ซ้ำอย่างน้อย 131 ครั้ง ถึงคุ้มกับที่เราทำเพื่อโลก

HOW (ทำอย่างไรล่ะทีนี้?)

แนวทางแห่งความยั่งยืนของเรื่องนี้ ภาพใหญ่ไม่ใช่การแจกถุงผ้า การบังคับซื้อถุงพลาสติก หรือผลิตถุงรักษ์โลก แต่แท้จริงแล้วมันคือการเปลี่ยนพฤติกรรมเราให้หันมา “ใช้ซ้ำ” (Reuse is The Best Solution) เพราะ “เรา” คือผู้กำหนดอนาคต (ไม่ใช่ถุง) 

แค่ผู้ขายลดให้ ผู้ใช้ลดรับ ทุกคนเลิกใช้ Single-Use แล้ว Reuse จริงจัง ความขลังของ “ถุง” ก็บังเกิด

ecoeyes-how-to-heal-the-planet-cloth-bag-want-to-use-it-but-forgot-it-in-the-car-SPACEBAR-Photo06.jpg

และเราเชื่อเสมอว่า “ถุงรักษ์โลกที่ดี…ไม่ควรมีแค่ในรถ!” แต่ต้องหยิบมาพกติดตัว พกใส่ในกระเป๋า 

มายืดอกพกถุง (ผ้า) และร่วมกันแก้ปัญหาโลกรวนสไตล์กวนๆ ใน “ฮาวทูกู้โลกรวน ฉบับพูดง่าย ทำยาก” คอนเทนต์ซีรีส์ที่จะกระตุกต่อมรักษ์โลกได้ใน SPACEBAR

เรื่องเด่นประจำสัปดาห์