ฮาวทูกู้โลกรวน ฉบับพูดง่าย ทำยาก - วิธีที่ 29: สังคม(คาร์บอน)ต่ำ…Net Zero Man!!

22 ก.พ. 2568 - 09:26

  • เราทุกคนเป็น “ผู้ก่อการร้ายทางสิ่งแวดล้อม” แบบไม่รู้ตัว เพราะทุกครั้งที่เราหายใจ เท่ากับเรากำลังก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO₂) งั้น...หยุดหายใจดีไหมนะ?

  • ใน 1 วัน เราปล่อย CO₂ ไปมากแค่ไหน? มาคำนวณ Carbon Footprint ของเรากันเถอะ

ecoeyes_how_to_heal_the_planet_personal_carbon_footprint_to_net_zero_SPACEBAR_Hero_cab5b0ec34.jpg

ฮาวทูกู้โลกรวน ฉบับพูดง่าย ทำยาก

วิธีที่  29: สังคม(คาร์บอน)ต่ำ…Net Zero Man!!

ค่าใช้จ่ายยังนั่งคิด แล้วคุณภาพชีวิตคิดตอนไหน ปล่อยให้สุดแล้วหยุดที่โลกแตกดีไหม?

แนะนำ : โชว์ความแมนให้โลกเห็นด้วยการเป็น Net Zero Man คำนวณ Carbon Footprint เปิดเรื่องจริงเพื่อกู้โลก

028_Low_Carbon_1334b5c449.jpg
ฮาวทูกู้โลกรวน ฉบับพูดง่าย ทำยาก - วิธีที่ 29: สังคม(คาร์บอน)ต่ำ…Net Zero Man!!

WHAT (เกิดอะไรขึ้นอ่ะ?)

เราทุกคนเป็น “ผู้ก่อการร้ายทางสิ่งแวดล้อม” แบบไม่รู้ตัว เพราะทุกครั้งที่เราหายใจ เท่ากับเรากำลังก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO₂) งั้น...หยุดหายใจดีไหมนะ?

ecoeyes_how_to_heal_the_planet_personal_carbon_footprint_to_net_zero_SPACEBAR_Photo_V01_4033a83a0d.jpg

เพราะอายุขัยยังไม่หมด เราจึงสร้างรอยเท้าคาร์บอน หรือเรียกให้อินเตอร์ขึ้นมาว่า “Carbon Footprint”  ซึ่งเป็นการวัดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เกิดจากกิจกรรมต่างๆ ของเราตลอดทั้งวัน ตั้งแต่ตอนที่เราตื่นขึ้นมาจนถึงตอนหลับไปเลยเชียว (ไม่ว่าจะนอนดีหรือไม่ดี รอยเท้าคาร์บอนก็ไม่เคยหยุดเดิน)

ข้อมูลเกี่ยวกับการปล่อย CO₂ จากการหายใจของคนเรามาจากกระบวนการทางชีวเคมีที่เรียกว่า Cellular Respiration ซึ่งเป็นกระบวนการที่ร่างกายใช้ในการเปลี่ยนแปลงสารอาหาร (เช่น กลูโคส) ให้กลายเป็นพลังงาน (ATP) และในกระบวนการนี้จะปล่อย CO₂ ออกมาด้วย โดยสามารถคำนวณได้จากการประเมินการหายใจเฉลี่ยและปริมาณ CO₂ ที่เกิดจากการเผาผลาญพลังงานในร่างกาย

ตามการศึกษาที่อ้างอิงในงานวิจัยและข้อมูลทางการแพทย์ ประมาณการการหายใจของคนเรา ว่าเราหายใจเฉลี่ย 16-20 ครั้งต่อนาที ซึ่งหมายความว่าใน 1 วัน (24 ชั่วโมง) จะหายใจประมาณ 23,000-28,800 ครั้ง

เมื่อการเผาผลาญพลังงานในร่างกายปล่อย CO₂ ประมาณ 0.5 กรัมต่อการหายใจ 1 ครั้ง ทำให้จำนวน CO₂ ที่ปล่อยในแต่ละวันอยู่ที่ประมาณ 1-1.2 กิโลกรัมต่อวัน

ลองคิดเล่นๆ เราปล่อย CO₂ ต่อเดือน 30-36 กิโลกรัมต่อเดือน คิดเป็น 365-438 กิโลกรัมต่อปี ถ้าคูณการมีชีวิตอยู่ของเราเข้าไป...บานตะไทเลยมั้ยละ! แบบนี้ต้องปลูกต้นไม้เพื่อชดเชยเยอะหน่อยล่ะ!!

WHY (ทำไมโลกร้อนล่ะ, เกี่ยวไร?)

ก็อย่างที่เกริ่นไปตอนต้นว่า ค่าใช้จ่ายยังนั่งคิด แล้วคุณภาพชีวิตคิดตอนไหน งั้นก็ปล่อยให้สุดแล้วหยุดที่โลกแตกดีไหม?

ความจริงแล้วลำพังเพียงเราแต่ละคนหายใจ ไม่ทำให้โลกแตกหรอก แต่พลังจากมวลมหาประชาชนที่ร่วมกันปลดปล่อยนั่นแหละที่ทำให้โอโซนห่อหุ้มโลกใบนี้มีรูโหว่ (เบ้อเร่อ) และทำให้ “เทอร์โมมิเตอร์” ของโลกพุ่งขึ้นจนเรียกว่าฮอตปรอทแตก

ecoeyes_how_to_heal_the_planet_personal_carbon_footprint_to_net_zero_SPACEBAR_Photo01_d40854a54a.jpg

ใน 1 วันของการใช้ชีวิต มวลมิตรปล่อยก๊าซไปเท่าไหร่บ้าง?

เดินทางไปทำงาน : ขับรถไปทำงานทั้งวัน? หรือจะเรียกว่า “ปล่อยไอเสียกันเป็นทีม” โดยการขับรถส่วนตัว? 2-5 กิโลกรัม CO₂

การกินล่ะ : มื้ออาหาร ข้าวขาหมู? กลางวัน สเต็กเนื้อ? ดูเหมือนจะกินเล็กน้อยแต่ปล่อยไปมาก 0.9-1.5 กิโลกรัม CO₂ ต่อมื้อ 

การใช้ไฟฟ้า : อากาศร้อนเราก็เปิดแอร์ ปล่อย 0.5-1.5 กิโลกรัม CO₂ ต่อชั่วโมง ไหนจะนั่งเล่นเกมทั้งวัน นอนดูซีรีส์อีกนิดหน่อย…ทำไมจะไม่ปล่อยเยอะ?

ข้อมูลจากคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Intergovernmental Panel on Climate Change-IPCC) ระบุว่า การปล่อยก๊าซ CO₂ ทั่วโลกในปี 2021 มีปริมาณมากกว่า 50,000 ล้านตัน CO₂ ซึ่งเป็นผลมาจากกิจกรรมต่างๆ ของมนุษย์ เช่น การเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิล (ถ่านหิน น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ) การผลิตไฟฟ้า การขนส่ง (รถยนต์ เครื่องบิน เรือ) อุตสาหกรรม (การผลิตเหล็กและซีเมนต์) การเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดิน การทำลายป่า การเกษตร และการขยายพื้นที่เมืองทำให้ต้นไม้ที่ดูดซับคาร์บอนถูกทำลาย

ข้อมูลเหล่านี้ช่วยให้เราเห็นถึงขนาดของปัญหาและความสำคัญของการดำเนินการเพื่อลดการปล่อย CO₂และก๊าซเรือนกระจกอื่นๆ เพื่อปกป้องสิ่งแวดล้อมและลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ...แล้วใช่ไหม?

HOW (ทำอย่างไรล่ะทีนี้?)

  • Support โลกใบนี้หน่อย ได้ไหมคะ?
  • Support โลกใบนี้หน่อย ได้ไหมคะ?
  • Support โลกใบนี้หน่อย ได้ไหมคะ?

โชว์ความแมนให้โลกเห็นด้วยการเป็น Net Zero Man คำนวณ Carbon Footprint เปิดเรื่องจริงเพื่อกู้โลก

ถ้าไม่อยากเห็นโลกร้อนเป็นเตาอบ…ก็ต้องทำอะไรสักอย่าง! ลองเป็น Net Zero Man ดูซิ ไม่จำเป็นต้องเป็นฮีโร่ใส่ชุดเหล็กไททาเนียม หรือมีเสื้อคลุม (เอาจริงๆ เสื้อคลุมก็ร้อนนะ!) แต่เราแค่เริ่มต้นจากพฤติกรรมเล็กๆ น้อยๆ ที่ช่วยลด Carbon Footprint ด้วยวิธีง่ายๆ ในชีวิตประจำวัน เช่น

ปรับพฤติกรรมการเดินทาง เลือกเดินทางด้วยจักรยาน หรือถ้าใจไหวเดินไปก็ได้ (ถ้าใกล้ๆ นะ) เลือกใช้ขนส่งสาธารณะแทนรถส่วนตัว หรือจะใช้วิธีกู้โลก ย่างหนอ...แลนหนอ (ขอให้ 2 ขาได้อ้าบ้าง) เพื่อเดินไปไหนมาไหนและนับเป็นการออกกำลังกายไปในตัว มีงานวิจัยบอกเดินวันละ 3,967 ก้าว ก็ช่วยเราช่วยโลกได้แล้ว

เลือกอาหารที่ปล่อยคาร์บอนน้อยกว่า ลอง เป็นสัตว์กินพืช (และ 'ตัวกินไก่') เลือกกินพืชผักแทนเนื้อสัตว์ช่วยลดการปล่อยคาร์บอน แต่ถ้าใครอยากกินเนื้อ ก็พยายามเลี่ยงการกินเนื้อที่ต้องใช้การขนส่งมากเกินไป…สเต๊กชิ้นเล็กๆ ก็ยังมีผลกับโลกนะ งั้นนานๆ กินทีก็พอ อ่อ...แล้วอย่าลืม กินคลีน! (อาหารสุขภาพ? ป่าว...ซัดให้เรียบ) เพื่อไม่สร้างก๊าซมีเทนด้วยนะ

ใช้พลังงานอย่างประหยัด ปิดไฟเวลาไม่ได้ใช้ เปิดแอร์แค่พอเหมาะ ไม่ต้องทำให้บ้านเป็น “อุณหภูมิอาร์กติก” เลือกใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีมาตรฐานประหยัดพลังงาน ก็ช่วยลดคาร์บอนที่เราปล่อยออกไปได้เยอะ และยังมีอีกสารพัดวิธีให้เลือกทำ (ดูได้จากในรูป)

ecoeyes_how_to_heal_the_planet_personal_carbon_footprint_to_net_zero_SPACEBAR_Photo02_ab4ca33f26.jpg

สุดท้ายคืออยากชวนทุกคนมาคำนวณการปล่อย Carbon Footprint รายบุคคล โดยใช้เครื่องมือออนไลน์ ลองค้นหาคำว่า Net Zero Man, Greener Bangkok, Carbon Footprint Calculator, Carbon Noteหรือ My Carbon Footprint แล้วบันทึกกิจกรรมเพื่อรู้ว่าแต่ละอย่างที่เราทำปล่อย CO₂ ไปเท่าไหร่ จากนั้นก็ทำตามคำแนะนำเพื่อพยายามลดการปล่อย! (บอกเลยว่าใครมีตัวช่วยเหล่านี้ เหมือนมีเจ้านายที่สั่งให้เรา “ทำดี” อย่างต่อเนื่อง)

ลองมาทำสนุกๆ กันไหม

เราลองบันทึกข้อมูลกิจกรรมที่ตัวเองจริงๆ ทำลงในเกม คำนวณ Carbon Footprint ใน Greener Bangkok

collage1_b494c11a2a.jpg
collage2_a56ce395a6.jpg

และผลที่ออกมาคือ เราปล่อยคาร์บอนเกินกว่าค่าเฉลี่ยนคนไทยไป 4.06 ตันต่อปี

ในฐานะสายเที่ยว ต้องเลี้ยวกลับมาเที่ยวใกล้บ้าน บินให้น้อย เดินทางด้วยพลังงานสะอาดให้มากขึ้น 

ลองทำดูซิ! แค่รู้สิ่งเหล่านี้ Net Zero Man ก็จะไม่เป็นแค่ตัวการ์ตูนในหนังอีกต่อไป… แต่เราจะกลายเป็นฮีโร่ที่จริงจังในการช่วยโลกให้รอดจากภาวะโลกเดือดไปด้วยกัน

เรื่องเด่นประจำสัปดาห์